กะทะล้อไฟเบอร์ โดย ลุงอ็อด


นับแต่ค่ายซีตรอง ใช้กระจกทำด้วยไฟเบอร์ และกะทะล้อทำด้วยเรซิ่น กับรถรุ่น เอสเอ็ม เมื่อปี 2515 โดยค่ายมิชลินเป็นผู้พัฒนาให้สำหรับการแข่งขันแรลลี่ ถัดมาค่ายญี่ปุ่น โดย เว็ด สปอร์ต Weds Sports ก็มีรถต้นแบบที่ใช้กะทะล้อทำจาก คาร์บอน ไฟเบอร์ แต่ไม่ได้ผลิตออกมาในเชิงพาณิชย์ ตามมาด้วยฟากออสเตรเลีย คาร์บอน รีโวลูชั่น Carbon Revolution พัฒนา ในชื่อรุ่นว่า ซีอาร์-9 CR-9 และ ซีเอฟ CF สำหรับรถรุ่น เชลบี้ และมีจำหน่ายราคาประมาณชุดละ 450,000 บาท จนถึงปัจจุบัน ค่ายบีเอ็มดับบลิว จะเป็นค่ายรถยนต์ที่ใช้กะทะล้อทำด้วยคาร์บอน ไฟเบอร์ และพลาสติคทนแรงดึงสูง ติดตั้งออกจากโรงงานเป็นเจ้าแรก ภายในสองปีข้างหน้า

บีเอ็มดับบลิว นำเสนอกะทะล้อที่ว่า ทั้งแบบคาร์บอน ไฟเบอร์ และพลาสติค Carbon-fibre-reinforced plastic กับแบบคาร์บอน ไฟเบอร์ พลาสติค ร่วมกับอลูมิเนียม โชว์ในงาน วันนวัตกรรม Innovation Days ของพนักงานบีเอ็มที่ มิวนิค โดยพัฒนาสำหรับรุ่นตระกูล ไอ i-branded แบบคาร์บอน ไฟเบอร์ กับพลาสติค มีนำ้หนักเบากว่ากะทะล้ออัลลอย 35 เปอร์เซนต์ เบากว่ากะทะเหล็กถึง 50 เปอร์เซนต์ แต่ถ้ารุ่นที่มีอลูมิเนียมร่วมด้วย จะเบากว่าประมาณ 25 เปอร์เซนต์ นับเป็นครั้งแรกที่สามารถลดนำ้หนักของกะทะล้อลงได้ แม้ว่าในการนำเสนอ จะยังไม่มีกำหนดการผลิตอย่างเป็นทางการ หรือการรับรองมาตรฐานของยุโรป แต่บทความในออโต้ เอ็กซ์เพรส แมกกาซีน ระบุว่าจะสามารถผลิตอย่างเป็นอุตสาหกรรมได้ภายในเวลาสองปี


อีกชิ้นส่วนที่มีความเป็นไปได้ ที่จะใช้วัตถุดิบจากคาร์บอน ไฟเบอร์ ในการผลิต คือ พวงมาลัย และเพลาขับ ซึ่งจะเป็นชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับรุ่น เอ็ม3 M3 และ เอ็ม4 M4

Facebook Comments
CarOnline Team

Recent Posts