หลังจากเปรียบเทียบรุ่นรถต่างๆ ของทั้งคู่แล้ว จะพบว่า มากกว่า 2 ใน 3 ของรุ่นรถทั้งสองค่ายแล้ว จะสามารถใช้โครงสร้างพื้นฐานเดียวกันได้
ปริมาณการผลิตรวมของทั้งสองค่าย ตกราวปีละ 2.6 ล้านคัน สามารถใช้โครงสร้างพื้นฐานรุ่นใหม่ ของกลุ่ม พีเอสเอ ที่เพิ่งจะพัฒนาในชื่อ อีเอ็มพี1 EMP1 ที่สามารถพัฒนาเป็นรถซิตี้คาร์ บี-เซ็กเม้นท์ หรือ ซีดาน ซี-เซ็กเม้นท์ รวมทั้งครอสโอเวอร์ ขนาดกลาง ได้
ส่วนอีก 2 ล้านคัน ก็จะสามารถใช้โครงสร้างรุ่น อีเอ็มพี2 สำหรับรถในรุ่น ซี, ดี-เซ็กเม้นท์ และครอสโอเวอร์ ระดับใหญ่ได้ ซึ่งนับเป็นประมาณรถราว 5.6 ถึง 8.7 ล้านคัน ที่ทั้งสองค่าย จำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน
ส่วนกลุ่ม เฟียต ที่ใช้โครงสร้างรุ่นเดิม จิออร์จิโอ Giorgio platform ในการผลิต จี๊ป แกรนด์ เชโรกี ก็จะยังสามารถใช้ต่อไปได้ รวมทั้งประเภท ตัวถังวางบนแชสซีส์ อย่าง ระกระบะ แรม จี๊ป แรงเลอร์ หรือ เกลดิเอเตอร์ ก้เช่นกัน
สำหรับรถขนาดใหญ่ อาทิ ไครส์เลอร์ โวเยเจอร์ แปซิฟิก้า และ จี๊ป เชโรกี ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วน ดอดจ์ อย่างรุ่น ดูแรนโก ก็ยังคงใช้โครงสร้างจาก เมอร์เซเดส ได้ต่อไป
แม้ว่าโครงสร้างพื้นฐานของกลุ่มเฟียต ไคร์สเลอร์ จะออกแบบมาเพื่อให้รองรับเครื่องยนต์ได้หลากหลายรุ่น แต่เมื่อเทียบกันแล้ว โครงสร้างของกลุ่มพีเอสเอ จะมีความทันสมัยมากกว่า และเชื่อกันว่า รถยนต์ จากกลุ่ม เฟียต ที่จะใช้โครงสร้างพื้นฐานจากกลุ่ม พีเอสเอ น่าจะออกสู่ตลาดได้ในอีกราว 18 เดือน เริ่มด้วยยี่ห้อ อัลฟ่า โรมิโอ เป็นรุ่นแรก
อีซูซุส่งเครื่อ…