ซีอีโอ โอเปิล มิเชล โลเชลเลอร์ Michael Lohscheller ให้สัมภาษณ์สื่อหนังสือพิมพ์ของ เยอรมัน โดยระบุว่า จะใช้ทั้งรถยนต์ที่ประกอบจากโรงงาน คาลูก้า Kaluga ทางตอนใต้ของกรุงมอสโคว์ และรถยนต์สั่งนำเข้า ในการทำตลาดครั้งใหม่นี้
ซีอีโอ โลเชลเลอร์ ชี้แจงว่า จะใช้รถยนต์รุ่นใหม่ ที่ใช้โครงสร้างพื้นฐานของกลุ่ม พีเอสเอ ในการทำตลาด จะไม่ใช้รถรุ่นเดิมที่ใช้โครงสร้างพื้นฐานของ เจเนอรัล มอเตอร์ อย่าง แอสตร้า และ มอคค่า
โฆษกของกลุ่ม พีเอสเอ ระบุในแถลงการณ์ว่า “การทำตลาดโดยใช้รถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศรัสเซีย จะเป็นเป้าหมายสำคัญในการทำธุรกิจครั้งใหม่นี้ เรากำลังพิจารณารถรุ่นใหม่ๆ เพื่อการผลิตในโรงงาน คาลูก้า ด้วยยี่ห้อ โอเปิล”
โรงงานคาลูก้า มีกำลังการผลิต ปีละ 125,000 คัน โดย โอเปิล ถือหุ้น 70% และ 30% ถือโดย มิตซูบิชิ และในปี 2561 ที่ผ่านมา ทำการผลิตรถยนต์เปอโยต์, ซีตรอง และ มิตซูบิชิ เพียงแค่ 38,108 คัน เท่านั้นเอง
จีเอ็ม ถอนตัวออกจากตลาดรัสเซีย เมื่อปลายปี 2558 อันเนื่องมาจากสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน และค่าเงินรูเบิ้ล ตกลงอย่างมาก แต่ปัจจุบัน เริ่มกลับมาอยู่ตัว โดยในปีนี้ สมาคมธุรกิจยุโรป Association of European Businesses ประเมินว่า ยอดขายรถยนต์จะเพิ่มขึ้น 3.6% เป็น 1.87 ล้านคัน
ซีอีโอ โลเชลเลอร์ กล่าวว่า ยังคงมีรถยนต์โอเปิล วิ่งอยู่บนท้องถนนในรัสเซียอีกเกือบล้านคัน และชื่อของ โอเปิล ยังคงอยู่ในใจของผู้บริโภครัสเซีย โดยกลุ่ม พีเอสเอ เองก็เพิ่งประสบความสำเร็จจากการเข้าสู่ตลาด ยูเครน อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี 2561 หลังจากแนะนำรถยนต์โอเปิล อีกครั้งหนึ่ง
กลุ่มพีเอสเอ ลงทุนในสายการผลิตรถเพื่อการพาณิชย์ ขนาดเบา และรถแวน ในโรงงาน คาลูก้า และสามารถสร้างผลกำไรได้เป็นอย่างดี “เราจะยังคงลงทุนในการผลิตรถเพื่อการพาณิชย์ ขนาดเบา ในภูมิภาคแห่งนี้ และจะสามารถทำกำไรให้ได้เป็นเลขสองหลักในปี 2564 เมื่อเทียบกับปี 2561” เขากล่าว
กลุ่ม พีเอสเอ ซื้อยี่ห้อ โอเปิล และ วอล์กฮอลล์ จาก เจเนอรัล มอเตอร์ เมื่อปี 2560 และเตรียมการจะเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกา ด้วยรถยนต์ยี่ห้อเปอโยต์ และ ซีตรอง ในประเทศอินเดีย