การซื้อขายครั้งนี้ ทำให้ค่ายโฟล์คสวาเก้น เป็นเจ้าของผู้ผลิตชุดแบตเตอรี่ประเทศจีน โดยตรง ซึ่งทำให้สามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ออกจำหน่ายในประเทศจีน ได้ 1.5 ล้านคัน ภายในปี 2568 ซึ่งรวมถึง ไฮบริด-ไฟฟ้า ด้วย
โฟล์ค เป็นผู้ผลิตจากต่างชาติ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศจีน วางแผนงานที่จะซื้อหุ้น เก้าซวน Guoxuan จากตลาดหลักทรัพย์ เซินเจิ้น Shenzhen 20% คิดเป็นมูลค่าจากตลาดหลักทรัพย์ราว 560 ล้านเหรียญ ราว 16,800 ล้านบาท
การซื้อขายได้ตกลงกันในรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว แต่ยังคอยประกาศข้อบังคับจากตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะทำให้ราคาซื้อขาย ปรับเปลี่ยนได้ ตามลักษณะของตลาดจริง และใช้ระยะเวลาในการเข้าเป็นผู้ถือหุ้น ที่สั้นที่สุด
เมื่อการซื้อขายแล้วเสร็จ จะทำให้กลุ่มโฟล์คสวาเก้น กลายเป็นผุ้ถือหุ้นใหญ่ รายที่ 2 มูลค่า 20% รองจาก ซูไห่ เก้าซวน เทรดดิ้ง Zhuhai Guoxuan Trading ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ภายใต้ผู้ก่อตั้ง เก้าซวน ลี เซ็น Li Zhen ซึ่งถือหุ้นอยู่ 25%
เก้าซวน เป็นบริษัทผู้ป้อนวัตถุดิบสำหรับการผลิตชุดแบตเตอรี่ เบื้องหลัง ซีเอทีแอล และ บีวายดี มีสำนักงานอยู่ใน เฮไฟ Hefei ซึ่งค่ายโฟล์ค ร่วมเป็นหุ้นส่วนกับ เจเอซี มอเตอร์ JAC Motor ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
เป้าหมายการผลิตตามข้อบังคับของ รัฐบาลจีน ทำให้ค่ายโฟล์ค ต้องสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า มูลค่า 2.5 พันล้านเหรียญ ร่วมกับพันธมิตร เอสเอไอซี SAIC มอเตอร์ ด้วยกำลังการผลิตปีละ 300,000 คัน ขณะเดียวกัน ก็ร่วมมือกับ เอฟเอดับบลิว กรุ๊พ FAW Group มีโรงงานอีกแห่งหนึ่ง ทางตะวันตกเฉียงใต้ ด้วยเช่นกัน
ขณะเดียวกัน โฟล์คสวาเก้น ก็มีผู้ป้อนวัตถุดิบรายสำคัญ อย่าง ซีเอทีแอล CATL แต่กระนั้น การเข้าถือหุ้นในผู้ผลิตชุดแบตเตอรี่รายอื่น ก็จะทำให้สามารถมีพลังต่อรองราคา ชุดแบตเตอรี่ ได้มากขึ้น
คู่ปรับของ โฟล์ค อย่าง เทสล่า ซึ่งเริ่มต้นสายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า จากโรงงาน กิกะแฟคตอรี่ เมื่อต้นเดือน วางแผนการผลิต ปีละ 250,000 คัน ยิ่งทำให้ค่ายโฟล์คสวาเก้น ต้องก้าวเดินในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า อย่างระมัดระวังเต็มที่
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…
บริษัท มิตซูบิช…