รายงานข่าวจากกรุงโตเกียว ระบุว่า บรรดาผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลก ต่างพากันพิจารณาการเก็บรักษาสต็อคชิ้นส่วนอะไหล่ ที่ใช้ในการประกอบ อันเนื่องจากวิกฤตโรคระบาดร้ายแรง โควิด-19 และความขาดแคลนชิป ที่ใช้ในการประกอบ
โตโยต้า มอเตอร์ ก็เป็นบริษัทที่ต้องการเพิ่มปริมาณสต็อคชิป ขณะที่หลายค่ายต่างก็จัดหาผู้ป้อนวัสดุที่ใช้ในการผลิตเพิ่มมากขึ้น
ขณะเดียวกัน สหรัฐอเมริกา ก็ตัดปริมาณการส่งออกเซมิคอนดัคเตอร์ ไปยังประเทศจีน โดยเฉพาะ หัวเว่ย เทคโนโลยี Huawei Technologies ทำให้ความขาดแคลนกระทบกับนโยบายระดับนานาชาติ เพราะผู้ผลิตยานยนต์ ก็พยายามที่จะหาผู้ผลิตขิ้นส่วน จากบริษัทต่างๆ ทั่วโลก เพราะการขาดแคลนชิ้นส่วนที่ใช้ในการประกอบ จะทำให้ไม่สามารถส่งรถออกสู่ตลาดได้
ค่ายโตโยต้า เริ่มการบอกเล่าให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วน ว่าต้องการจะเพิ่มระดับสต็อค จากเดิม 3 เดือน เป็น 5 เดือน เพราะมีการตรวจสอบด้วยระบบ จัสต์อินไทม์ just-in-time ว่าชิ้นส่วนใดจะสามารถส่งมอบได้ เมื่อมีความจำเป็น และมีการปรับระบบไปเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ที่ผ่านมา ให้มีการสต็อคเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะประเทศญี่ปุ่น ต้องประสบปัญหาของแผ่นดินไหว และซึนามิ เป็นประจำ จึงปรับปรุงสต็อคชิ้นส่วนทั้งระบบ
ขณะที่ ค่ายนิสสัน ก็อยู่ระหว่างการพิจารณาเพิ่มจำนวนสต็อคชิ้นส่วน จากเดือนเดียว ไปเป็นมากกว่า 3 เดือน ขณะที่ ซูซูกิ มอเตอร์ ก็ร้องขอผู้ผลิตชิ้นส่วน ให้เก็บรักษาสต็อคมากกว่าปกติ
บรรดาผู้ผลิตต่างๆ ก็อยู่ระหว่างการเซ็นสัญญาระยะยาว กับผู้ผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ หรือสั่งชิ้นส่วนชนิดเดียวกัน แต่สั่งจากผู้ผลิตมากกว่า 1 บริษัท
จำนวนของการใช้งาน เซมิคอนดัคเตอร์ ในรถยนต์หนึ่งคัน เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก หลังจากมีการใช้งานในระบบดิจิตัล โดยผู้ผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ ได้ขยายงานมาแล้วกว่า 3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับใน 20 ปีที่ผ่านมา โดยสถาบันวิจัยในอังกฤษ ประเมินว่า ภายในปี 2573 เมื่อมีการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น คาดหมายว่าจะมีการใช้ชิปในรถยนต์เพิ่มมากขึ้นอีก 30% ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีความต้องการใช้ชิป เช่นกัน จะยิ่งทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ ประสบปัญหาเพิ่มมากขึ้น เพราะสินค้าในอุตสาหกรรมอื่นๆ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ ต่างล้วนใช้ชิป ในการทำงาน ซึ่งจะทำให้ความต้องการเพิ่มมากขึ้น
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…