จากแถลงการณ์ของโตโยต้า แจ้งว่า ระบบข้อมูลใหมนี้ จะทดลองใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง ในสมาร์ทซิตี้ หรือ วูเว่น ซิตี้ Woven City ซึ่งโตโยต้า มีแผนการสร้างเมืองขึ้นใหม่ ในประเทศญี่ปุ่น โดยเกี่ยวข้องกับระบบการเชื่อมต่อของยานพาหนะ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะต้องสร้างไปพร้อมกับการสร้างเมืองใหม่
เพื่อแสดงความจริงใจความร่วมมือกันครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะซื้อหุ้นของแต่ละฝ่ายมูลค่า 200 พันล้านเยน ราว 58 พันล้านบาท ผ่านการซื้อคืนหุ้น treasury shares ในเดือนเมษายน ซึ่งมีมูลค่าราว 2.07% ของมูลค่าใน เอ็นทีที และของโตโยต้า ราว 0.9%
โตโยต้า ประกาศการก่อสร้างเมืองใหม่ ในชื่อ วูเว่น ซิตี้ บนพื้นที่ราว 442 ไร่ บริเวณเชิงเขาภูเขาไฟฟูจิ เพื่อการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผ่านการใช้ชีวิตในสถานที่จริง ของบุคคลจริง โดยโตโยต้า ระบุว่า จะมีผู้คนราว 2,000 คน ทั้งพนักงานและครอบครัว, ผู้สูงอายุ, ร้านค้าปลีก, นักวิทยาศาสตร์ที่แวะมาเยี่ยมเยือน และหุ้นส่วนด้านอุตสาหกรรม มาพักอาศัยเมื่อการก่อสร้างเมืองแล้วเสร็จ
วูเว่น ซิตี้ จะเริ่มการก่อสร้างในปี 2564 และสามารถเปิดดำเนินการด้านธุรกิจได้ภายใน 5 ปี ในส่วนของ เอ็นทีที ได้เริ่มความร่วมมือกับเมืองใหญ่ๆ อย่าง ลอส แอนเจลิส, โยโกฮาม่า และ ซัปโปโร เพื่อรวบรวมข้อมูล แยกย่อย และบริหารจัดการให้เป็นข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อนำมาใช้ในเมืองใหม่นี้
ในอนาคต บริษัททั้งสอง จะร่วมกันพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า สมาร์ทซิตี้ แพลทฟอร์ม Smart City Platform ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีใหม่นี้ ในเมือง วูเว่น แห่งใหม่ เป็นครั้งแรก และพื้นที่ในแถบสำนักงานใหญ่ของ เอ็นทีที ในกรุงโตเกียว
ขณะที่ โตโยต้า จะมุ่งพัฒนาวิธีการที่จะพัฒนาระบบการเดินทางด้วยยานยนต์ชนิดใหม่ โดยการใช้ระบบการเชื่อมต่อด้วยโทรคมนาคม โดย เอ็นทีที คาดว่าจะสามารถส่งต่อระบบเชื่อมต่อการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ความเร็วสูง เพื่อการใช้งานแก่ โตโยต้า หลังจากที่ เอ็นทีที โมไบล์ เซอร์วิส เริ่มการใช้งานระบบโทรคมนาคม 5จี 5G ในกรุงโตเกียว ภายในเดือนนี้
อีซูซุส่งเครื่อ…