ขณะเดียวกัน มลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดย คณะกรรมการพลังงานแคลิฟอร์เนีย California Energy Commission กำลังพิจารณาที่จะจัดหาทุนเพื่อช่วยเหลือโตโยต้า และเชลล์ ในการก่อสร้างสถานีบริการเชื้อเพลิงไฮดรอเจน เพิ่มเติมเช่นกัน
สำหรับค่ายน้ำมันเชลล์แล้ว การมีพลังงานเชื้อเพลิงต่างชนิด นอกเหนือจากพลังงานจากฟอสซิล นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะแวดวงอุตสาหกรรมที่อาศัยพลังงานจากฟอสซิล ต่างรู้ดีว่าพลังงานกำลังร่อยหรอลง จำเป็นต้องหาพลังงานชนิดอื่นขึ้นมาทดแทน โดยที่ได้ลงนามในความร่วมมือกันในหลายค่าย ทั้งค่ายเชื้อเพลิง เชลล์, โททาล, ลินเด้ Linde, แอร์ ลิควิด Liquide ร่วมมือกับค่ายรถยนต์หลายค่าย ซึ่งรวมทั้งโตโยต้าเช่นกัน ร่วมกันพัฒนาจัดตั้งเป็นองค์กรเพื่อวิจัยและพัฒนาพลังงานไฮดรอเจน
ขณะที่ค่ายพลังงานเชื้อเพลิงก็ให้ความสนใจพลังงานจากไฮดรอเจน ค่ายรถยนต์เอง ต่างก็พัฒนารถยนต์ที่ใช้พลังงานจากแหล่งต่างๆ แม้ว่าจะเป็นในลักษณะของคู่ต่อสู้กัน แต่ก็ยังสนใจที่จะพัฒนาพลังงานไฮดรอเจน ที่ได้ระยะทางการเดินทางที่มากกว่า แต่ติดขัดที่สถานีบริการเชื้อเพลิงไฮดรอเจน ที่ยังมีจำนวนน้อย ไม่สามารถรองรับผู้ใช้งานจำนวนมากได้ ทำให้ต้องมีความร่วมมือกันเกิดขึ้น
เชลล์ และ โตโยต้า ร่วมลงทุน 11.4 ล้านเหรียญ ราว 342 ล้านบาท เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ให้บริการเติมเชื้อเพลิงไฮดรอเจน ในสถานีบริการเชื้อเพลิง 7 แห่ง ขณะเดียวกัน คณะกรรมการพลังงานแคลิฟอร์เนีย กำลังพิจารณาที่จะจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมอีก 16.4 ล้านเหรียญ ราว 492 ล้านบาท เพื่อช่วยสนับสนุนให้มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สามารถติดตั้งสถานีบริการเชื้อเพลิงไฮดรอเจน ให้ทั่วมลรัฐ จำนวน 100 แห่ง ให้ได้ภายในปี 2567 จากเดิมที่มีอยู่เพียง 25 แห่ง เท่านั้น
อีซูซุส่งเครื่อ…