โตโยต้าเมืองสีเขียว พาผู้ชนะจากกิจกรรม “ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา” ปีที่ 12 ไปญี่ปุ่น

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย พาคณะครู เยาวชน และตัวแทนชุมชน ที่มีผลงานดีเด่นจากการทำกิจกรรมรณรงค์ลดภาวะ โลกร้อน ภายใต้กิจกรรม “ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา” ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 ต่อยอดองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
ณ ประเทศญี่ปุ่น ในระหว่าง วันที่ 25 พฤษภาคม – 31 พฤษภาคม 2560

จากการดำเนินธุรกิจของโตโยต้าในประเทศไทยมาเป็นเวลา 55 ปี โตโยต้ามีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนความสุขสู่สังคมไทย ด้วยการเป็นองค์กรที่ดี มีจิตสำนึกรับผิดชอบและร่วมพัฒนาสังคมไทย โดยหนึ่งในความมุ่งมั่นและตั้งใจของโตโยต้า คือการดำเนินงานเพื่ออนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมแก่สังคมไทยผ่านกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการ “โตโยต้าเมืองสีเขียว” เพื่อก่อให้เกิดการบูรณาการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนครอบคลุมทั่วประเทศ

กิจกรรม “ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา” ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้โครงการโตโยต้าเมืองสีเขียว ที่ได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 12 ปี จากความร่วมมือระหว่าง บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม โดยเปิดโอกาสให้ตัวแทนโรงเรียนและเทศบาลจากทั่วประเทศ จัดทำแผนงานส่งเข้าประกวด เพื่อช่วยสนับสนุนการลดภาวะโลกร้อนภายในชุมชนของตน โดยมีแนวทางในการทำกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมใน 5 ด้าน ดังนี้

• การลดใช้ไฟฟ้า
• การลดขยะ
• การเดินทางอย่างยั่งยืน
• การเพิ่มพื้นที่สีเขียว
• การอนุรักษ์น้ำ

ภายหลังจากการเปิดตัว 20 โรงเรียน และ 20 ชุมชน ผู้เข้าแข่งขันกิจกรรมลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา ปีที่ 12
เมื่อเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา ผู้เข้าแข่งขันได้เข้าร่วมการสัมมนา ศึกษาดูงาน รวมถึงการเข้าค่าย และได้นำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่ของตนอย่างต่อเนื่อง

โดยผลของการประกวดกิจกรรม “ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา” ปีที่ 12 มีดังนี้

ประเภทโรงเรียน
ถ้วยพระราชทาน รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้แก่

• ถ้วยพระราชทาน รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้แก่ โรงเรียนกันตังพิทยากร อ.กันตัง จ.ตรัง
จากการดำเนินกิจกรรม “โครงการกันตังพิทยากร ลดเมืองร้อนด้วยมือเรา”
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้แก่ โรงเรียนวชิรวิทย์ เชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
จากการดำเนินกิจกรรม “โครงการวชิรวิทย์ ร่วมใจประหยัดพลังงาน”
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ได้แก่ โรงเรียนศรีโคตรบูรณ์ อ.เมือง จ.นครพนม
จากการดำเนินกิจกรรม “โครงการลดเมืองร้อน ด้วยมือเราชาวศรีโคตรบูรณ์”

 

ประเภทชุมชน
• ถ้วยพระราชทาน รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้แก่ ชุมชนบ้านม่อนแก้ว เทศบาลตำบลบ้านสาง
อ.เมือง จ.พะเยา
จากการดำเนินกิจกรรม “โครงการชุมชนบ้านม่อนแก้วร่วมใจ ลดโลกร้อนด้วยวิถีพอเพียง
เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน”
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้แก่ ชุมชนบ้านดอนแยง เทศบาลตำบลหงาว อ.เถิง จ.เชียงราย
จากการดำเนินกิจกรรม “โครงการลดขยะ ลดเมืองร้อนอย่างยั่งยืนที่ดอนแยง”
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ได้แก่ ชุมชนบ้านดงมะปินหวาน เทศบาลตำบลศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง
จ.ลำพูน
จากการดำเนินกิจกรรม “โครงการดงมะปินหวานกินอยู่รู้ค่า เพิ่มป่าในบ้าน ให้ลูกหลานอยู่เย็น
เป็นสุข”
สำหรับกิจกรรมดูงานและอบรมด้านสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้ มุ่งเน้นในการเพิ่มองค์ความรู้และความเข้าใจในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม ณ ประเทศญี่ปุ่น โดยคณะครู เยาวชน และตัวแทนจากชุมชน ผู้ชนะเลิศ ได้มีโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายพร้อมทั้งเปิดประสบการณ์ด้านแนวคิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการ

อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามสถานที่ต่างๆ ได้แก่
1. ฟอเรสท์ ออฟ โตโยต้า (Forest of Toyota)
วัตถุประสงค์การเข้าเยี่ยมชม :
เพื่อเป็นการเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตในการอยู่ร่วมกับ ธรรมชาติ และป่าอย่างสมดุล
ผ่านการเรียนรู้กิจกรรมต่างๆ ภายในพื้นที่ป่าของโตโยต้า ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ การเรียนรู้ด้าน
ป่าไม้ (Forestry Zone) การอนุรักษ์ (Conservation Zone) และการนำมาใช้ประโยชน์ (utilization zone)

 

2. โตโยต้า ไคคัง (Toyota Kaikan)
วัตถุประสงค์การเข้าเยี่ยมชม :
เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานของผู้ชนะกิจกรรม ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา ปีที่ 12 แก่ตัวแทนจาก บริษัท
โตโยต้า มอเตอร์ คอร์เปอเรชั่น ประเทศที่ญี่ปุ่น และร่วมชมนิทรรศการที่แสดงถึงนวัตกรรมในด้านต่างๆ ของโตโยต้า โดยเฉพาะวิวัฒนาการของรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3. ชุมชนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมโตโยต้า (Toyota Ecoful Town)
วัตถุประสงค์การเข้าเยี่ยมชม :
ศึกษาการจำลองรูปแบบการใช้ชีวิตแห่งอนาคตที่นำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระหว่าง คน รถและบ้าน เช่น ระบบขนส่งในเขตเมือง (Hamo Project) ที่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างสมดุลของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและระบบขนส่งสาธารณะ โดยเพิ่มการเข้าถึงระบบขนส่งอันจะช่วยลดจำนวนการใช้รถยนต์ส่วนตัว ทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ลดลงและช่วยลดปัญหารถติด และบ้านอัจฉริยะ (Toyota Smart House) ที่กักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์มาแปรสภาพเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ในบ้าน โดยมีระบบควบคุมการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ควบคุมการใช้ไฟฟ้าในจุดที่ไม่จำเป็นและจัดลำดับความสำคัญในการใช้ไฟฟ้าก่อน-หลัง เพื่อก่อให้เกิดการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ


4. สถาบันสิ่งแวดล้อมโตโยต้าชิราคาวา-โก (Toyota Shirakawa-go Eco Institiute)
วัตถุประสงค์การเข้าเยี่ยมชม :
เพื่อเป็นการเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล ผ่านการเรียนรู้กิจกรรมต่างๆ อาทิ การดูแลรักษาป่า การทดลองผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแรงดันน้ำ ผ่านการจำลองเครื่องยนต์ของรถยนต์พลังงานเซลล์เชื้อเพลิง ที่เป็นต้นแบบการผลิตรถมิไร (Mirai) และการเดิน
สำรวจป่าในตอนกลางคืน เพื่อตระหนักถึงการใช้ชีวิตเหมือนสัตว์ป่าที่ปราศจากแสงไฟในตอนกลางคืน

โตโยต้าคาดหวังว่าการจัดกิจกรรมทัศนศึกษาในครั้งนี้ จะเป็นการเปิดประสบการณ์ให้คณะฯ ได้ศึกษางานด้านสิ่งแวดล้อมจากต่างประเทศและนำความรู้ที่ได้รับในครั้งนี้มาต่อยอดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนของตน เพื่อที่จะกลายเป็นต้นแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชนและโรงเรียนอื่นๆ อันจะก่อให้เกิดเป็นเครือข่ายเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนทั่วประเทศ อันจะถือเป็นการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็น “เมืองสีเขียว” อย่างแท้จริง

Facebook Comments
Thunyaluk Seniwongs

Recent Posts