Brand: MITSUBISHI Model: Galant
Year: 1995 Miles: 0-5000
From: tanongsak homjun
no : ultima
แรงดันเรื่องน้ำยา แอร์ครับ
ควรเติมกี่ปอนด์ดีครับ เพราะไปให้ที่ร้านเติมให้134a เค้าไม่ได้บอกมาว่า
low pressure and hight pressure เท่าไหร่ แล้วต้องใช้เกจ วัดตอนติดเครื่องหรือดับครับ
ถ้าติดเครื่องต้องใช้รอบเครื่องเท่าไหรในการวัด พอเติมมาแล้วมันก็เย็นดีครับแต่มีผลคือ
1.เวลาคอมแอร์ต่อจะฉุดกำลังเครื่องยนต์มาก(ตอนรถวิ่งแล้ว)
2.เกียร์ออโตเปลี่ยนเกียร์ช้าลงเพราะต้องรอให้รอบเครื่องถึงก่อนหรือไม่ก็ต้องเหยียบคับเร่งเพิ่มเพื่อให้เกียร์เปลี่ยน
3.จะกดเอาออกเองก็กลัวว่าจะเอาออกเกินเดียวไม่เย็นอีก(เติมตั้ง300บาท)
4.วิ่งที่ความเร็ว100กม.พอคอมแอร์ตัดความเร็วจะพุ่งเป็น130โดยที่เหยียบคันเร่งเท่าเดิม
ช่วยชี้แนะด้วยครับ
-อ้อถ้าไฟรั่วที่ปลายปลั๊กหัวเทียนแบบว่าพอถอดปลั๊กออกแล้วเอามาเฉียดๆฝาเครื่องแล้วเกิดประกายไฟ
ออกมาถือว่าปกติไหมครับแล้วเอาเทปพันสายไฟมาพันจะกันได้ไหมครับ
-อาการรอรอบที่ช่วง 2500-3000 รอบมันเกิดจากสาเหตุใดได้บ่างครับ คือมันจะทำให้เกียร์ออโตเปลี่ยนช้าลงเหมือนกับน้ำมันเกียร์
มายังไม่พอ ตอนแรกใช้ dex2 แล้วเปลี่ยนมาเป็น dex3 หา dex2 ยากครับร้านก็บอกแต่ว่า dex 3 ดีกว่าว่างั้น
misu ultima 95 16v auto
การอ่านค่าแรงดันในระบบปรับอากาศ ขึ้นอยู่กับหลายอย่าง เช่น ใน Service Manual ที่จะระบุไว้ชัดเจนว่า ต้องขึ้นอยู่กับ Humidity และอุณหภูมิบรรยากาศ แค่ระดับอุณหภูมิบรรยากาศ ไม่รวมความชื้นหรือฮิวมิด คุณก็คงเห็นแล้วว่า ผมจะเอาพื้นที่ที่ไหนมาบอกคุณได้ครบ เพราะในนี้ ยังใส่รูปไม่ได้
เอาเป็นว่า โดยมาก คนไทย ช่างไทย ไม่ได้สนใจจะวัดอุณหภูมิบรรยากาศเวลาทำแอร์ แค่นี้ คุณก็คงเห็นด้วยแล้วละนะครับ ว่าหากถามผม ซึ่งผมจะต้องตอบตามหลักวิชา แล้วทีนี้ ผมจะตอบคุณอย่างไร ให้คุณเอาไปใช้ได้
ดังนั้น ผมจึงต้องตอบตามแบบช่างไทยไทย คือไม่สนใจว่า อุณหภูมิบรรยากาศ และความชื้นในบรรยากาศเป็นอย่างไร เท่าไร เอาไว้ก่อน อย่าเอาไปเปรียบเทียบกับตำราเล่มไหนเด็ดขาด
ช่างไทย จะวัดแรงดันที่ความเร็วรอบเครื่อง 2000 โดยประมาณ และจะเปิดแอร์ให้พัดลมทำงานเต็มที่ ส่วนอุณหภูมินั้น เอาแค่คอมเพรสเซอร์ทำงานก็พอถมไปแล้ว ไม่ต้องเร่งมาก เพราะไม่ได้ผลดีผลเสียอะไรตามมาหรอก เมื่อทำอย่างนี้แล้ว ก็วัดดูว่าด้านโลว์ไซด์ ควรจะมีแรงดันอยู่ในแถบสีเขียว หรือฟ้า ตามมาตรวัด ซึ่งก็จะเป็น 28-31 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ส่วนด้านไฮไซด์ เรามักถือเอาค่าที่ 70 องศาฟาเรนไฮด์เป็นหลัก แรงดันที่อ่านได้จึงอยู่แถว 150-250 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว
ซึ่ง หากจะวัดกันที่อุณหภูมิบรรยากาศสัก 80 ก็จะต้องให้ได้แรงดันด้านโลว์ไซด์เป็น 28-31 และไฮไซด์เป็น 180-275
ผมก็ไม่แน่ใจ ว่าร้านที่คุณเอารถไปทำแอร์นั้น เขาใช้มาตรฐานอะไร แต่รับรองได้ว่า เขาไม่ได้ใช้อย่างผมแน่นอน เพียงแต่ผลออกมาคล้ายกัน เพราะเขาเรียนรู้มาอย่างนั้น ก็จะวัดค่าเท่านั้น ตลอดไป
การชี้แนะ สำหรับปัญหาของคุณ ก็ชี้แนะให้เอารถกลับไปที่ร้านแอร์แห่งนั้น แล้วบอกเขาถึงปัญหา ให้เขาวัดอีกที แล้วอาจจะเอาออกหรือใส่เพิ่มเข้าไป ก็สุดแล้วแต่เขาจะเห็นสมควร หรือใช้มาตรฐานอะไรทำ ไม่แนะนำให้ทำเองครับ
หากไม่สะดวกใจ ก็ลองไปที่ราชันต์แอร์ บางนาตราดขาเข้า กิโลเมตรที่ 7 ไม่มีเบอร์โทร ไม่ต้องขอ แต่หาได้จาก 1133 ครับ
ไฟจากสายหัวเทียน เป็นไฟแรงสูงกว่า 28,000 โวลต์ โดยปกติ ก็กระโดดได้เสมออยู่แล้ว จะไปทำอย่างนั้นทำไม และจะต้องพันเทปทำไม ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ เท่าที่ครูท่านสอนผมมา ท่านก็ไม่ได้สอนให้พันเทป และไม่สอนให้เที่ยวได้ถอดสายหัวเทียน เอาไปแหย่ใกล้ใกล้เครื่องยนต์ เพราะหากเป็นเครื่องยนต์ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ก็อาจจะพังไปเลยได้เหมือนกัน ครูเลยไม่ให้ผมทำเล่น หากทำ ครูก็อาจจะหักมือ หรือตีมือเอาเจ็บเจ็บ ซึ่งผมไม่ชอบครับ เลยไม่ทำ
น้ำมันเกียร์ ของรถคุณต้องเติมน้ำมันของมิตซูบิชิ ใช้และเติมของมิตซูบิชิ ที่เทียบเท่ากับ Dexron II ไม่ใช่ III ที่จะให้ผลอย่างที่คุณพบ หากใช้ต่อไปก็ต้องพบอาการนี้เรื่อยไป และต่อไปเมื่อเปลี่ยนไปใช้ II ก็จะยังพบอาการเช่นเดียวกัน เนื่องจากเกียร์เสียนิสัยไปแล้ว
ช่างที่แนะนำให้คุณใช้ III แทน II แล้วบอกว่าดีนั้น รับรองได้ว่า เขาไม่ได้ใช้รถยนต์เกียร์อัตโนมัติอย่างคุณหรอกครับ แต่เขาขายน้ำมันเกียร์อัตโนมัติแบบ III เขาเลยแนะนำให้คุณใช้ แล้วบอกว่าดีสุดแสนวิเศษ
การหาน้ำมันเกียร์นั้น ไม่ยากเย็นอะไรเลยครับ เพียงแต่ติดต่อเข้าไปที่มิตซูบิชิ มอเตอร์ สำนักงานใหญ่ เขาก็มีขายแล้ว แต่ศูนย์บริการที่คุณไปเปลี่ยน หรือร้านทั่วไป ไม่อยากสั่งของจากฝ่ายอะไหล่ อยากสั่งซื้อเองภายนอก ที่ราคาถูกกว่า แล้วมาขายแพงเท่ากัน ก็เท่านั้นเอง-ธเนศร์
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…
บริษัท มิตซูบิช…