ค่ายเฟอร์รารี่ จัดการประกวดการออกแบบรถซูเปอร์คาร์ ในชื่อ เฟอร์รารี่ ท้อป ดีไซน์ สคูล เชลเลนจ์ Ferrari Top Design School Challenge ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน โดยส่งระเบียบการไปยังโรงเรียนการอกบบด้านยานยนต์ต่างๆ เพื่อต้องการดูแนวโน้มว่า ผู้คนจะคิดอย่างไรเมื่อคิดถึงบรรดารถแรง ในยุค พ.ศ. 2583 และมีโรงเรียนด้านการออกแบบทั่วโลก 50 แห่ง ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด โดยในรอบแรกนี้จะคัดจากผลงานที่ส่งเข้ามา ให้เหลือเพียง 4 ผลงานเท่านั้น
ในรอบแรก คณะกรรมการคัดเลือกเหลือ 8 ผลงาน และตัดสินให้เหลือ 4 ผลงาน โดยผลการตัดสิน 4 โรงเรียน ได้แก่ คอลเลจ ออฟ ครีเอทีฟ สตัดดี้, ดีทรอยต์ College for Creative Studies in Detroit ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ที่ต้องการเรียนด้านการออกแบบยานยนต์ เพราะมาตรฐานของโรงเรียนที่มีอยู่สูง, มหาวิทยาลัย ฮองกิ๊ก, เกาหลี Hongik University in Korea ที่ได้ชื่อว่าดีที่สุดใน เอเชีย-แปซิฟิค และเป็นโรงเรียนที่ส่งผลงานเข้าร่วมมากที่สุด และเคยคว้าตำแหน่ง เฟอร์รารี่ เวิลด์ ดีไซน์ คอนเทสต์ ปี 2554 มาแล้ว, โฮชสคูล, เยอรมัน Hochschule Pforzheim in Germany ซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในยุโรป และ ไอเอสดี-รูบิก้า, ฝรั่งเศส ISD-Rubika in France ที่ได้ชื่อว่าสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบได้ยอดเยี่ยมที่สุด และทั้ง 4 โรงเรียน ได้รับเชิญให้เตรียมผลงานการออกแบบ 3 ชิ้น ภายในระยะเวลา 1 ปี เพื่อการพิจารณาของคณะกรรมการ ซึ่งเท่ากับผลงาน 2 ชิ้น
งานออกแบบที่ได้ มีทั้งรถยนต์ที่สามารถผลิตได้ในความเป็นจริง และผลงานที่แทบจะเรียกว่าหลุดโลกไปเลย แต่ก็สามารถกลับมาลอกเลียนแบบได้อีกในช่วงศตวรรษต่อมา อย่างยานยนต์ในภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ในอดีต ที่มีรถยนต์ในปัจจุบัน ลอกเลียนมาเช่นกัน รวมทั้งการเลือกใช้สีที่มีทั้ง ดำ, เงิน หรือ ขาว และส่วนใหญ่แล้ว จะมาในรูปของรถยนต์สีแดง
เฟอร์รารี่ เชิญชวนให้บุคคลทั่วไปเข้าไปให้คะแนนคัดเลือกบรรดาผลงานทั้ง 12 ชิ้น ในหน้า Facebook ของเฟอร์รารี่ ซึ่งผู้ชนะจะได้รับรางวัล พรีมิโอ สเปเชียล Premio Speciale ส่วนผลการตัดสินโดยคณะกรรมการ หรือ แกรน พรีมิโอ Gran Premio จะประกอบด้วยนักแข่งฟอร์มูล่า 1 เซบาสเตียน เว็ทเทล, นักออกแบบรถยนต์ เปาโล พินินฟาริน่า หรือผู้ชมชอบดนตรี เจย์ เคย์ และ นิค เมสัน จากวงพิ้งค์ฟลอยด์ และผู้ทรงคุณวุฒิของเฟอร์รารี่ โดยจะประกาศผลผู้ชนะเลิศในวันที่ 15 มกราคม 2559
มาลองดูกันว่า หน้าตาของ เฟอร์รารี่ในยุคสมัย 2583 จะเป็นอย่างไร
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…