การตรวจปรับตั้งวาล์ว
เป็นข้อหนึ่งในหนังสือคู่การใช้รถ จะบอกเป็นระยะทางหรือเดือน ใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวi i= ตรวจสอบแก้ไขหรือเปลี่ยนถ้าจำเป็น ระยะทางรถแต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่นไม่เท่ากัน ทั้งระยะห่างก็ไม่เท่ากัน อีกทั้งจะต้องตั้งขณะเครื่องร้อนหรือเครื่องเย็น
การบำรุงรักษาจึงจำเป็นจะต้องยึดถือตามคำแนะนำในหนังสือคู่มือประจำรถ การตั้งวาล์วส่วนมากช่างจะเป็นคนทำ แล้วถ้าไมใช่ช่างจะทำได้หรือไม่ ก็อยู่ที่ผู้ที่จะทำนั้นเคยทำอะไรเกี่ยวกับเครื่องยนต์มาบ้าง ถ้าเคยทำขัน น็อต สกรู เป็นใจสู้มุ่งมั่นที่จะทำรถตัวเองก็พอได้ แต่ปัญหาการตั้งวาล์วคือต้องรู้จังหวะที่วาล์วจะปิดสนิททั้งวาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย เป็นจังหวะระเบิดของเครื่องยนต์ในสูบที่เราจะตั้งวาล์ว
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าสูบที่เราจะตั้งอยู่ในจังหวะระเบิด พื้นฐานในเครื่องยนต์4สูบ ถ้าเราจะตั้งสูบ1ที่สูบ1อยู่ในจังหวะระเบิด เราต้องดูจังหวะวาล์วสูบ 4 เริ่มจากดูวาล์วไอเสียหมุนเครื่องดูวาล์วไอเสียเริ่มปิดหมุนต่อไปจนปิดดูวาล์วไอดีเริ่มเปิด ตรงจุดนี้เป็นการสิ้นสุดของจังหวะคายของสูบ4 เพื่อความแน่นอนจึงต้องหมุนเครื่องเดินหน้าถอยหลังดูให้แน่ ถ้าเป็นมือใหม่
ถ้าหมุนเครื่องถอยหลัง วาล์วไอเสียจะเปิด หมุนเดินหน้า ถอยหลัง ดู วาล์วไอดี กับวาล์วไอเสีย จะปิดจะเปิดให้อยู่กลางๆ จังหวะนี้จะเรียกว่า วาล์วโอเวอร์แลป (valve overlap) องศาวาล์วซ้อนเหลื่อม เป็นองศาของเพลาข้อเหวี่ยงเริ่มตั้งแต่วาล์วไอเสียปิดถึงวาล์วไอดีเปิด เมื่อตั้งสูบ1เรียบร้อยสูบต่อไป ก็ตั้งสูบ3 ก็ต้องดูจังหวะวาล์วสูบ2 และตั้งไปตามลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์
จุดประสงค์ในการตั้งวาล์วให้มีระยะห่าง มีไว้เพื่อป้องกันเมื่อเครื่องยนต์ร้อนโลหะจะขยายตัว ชุดวาล์วก็ได้รับความร้อนเช่นเดียวกัน เมื่อมีการขยายตัวถ้าไม่มีช่องว่างก็จะทำให้วาล์วปิดไม่สนิท กำลังอัดก็จะรั่ว กำลังอัดจะได้ไม่เป็นไปตามจุดประสงค์ เมื่อจุดระเบิดไฟจะแลบผ่านปากวาล์วบ่าวาล์วทำเกิดความเสียหาย จึงจำเป็นจะต้องมีระยะห่าง ระยะห่างไม่ได้มีจุดประสงค์การตั้งวาล์ว
ก่อนการตั้งวาล์วควรจะรู้จุดประสงค์ในการที่ต้องตั้งวาล์ว การตั้งวาล์วคือให้มีระยะห่างระหว่างวาล์วกับสิ่งที่มากดวาล์ว (valve cleance) ระยะตั้งวาล์ว คือช่องว่างระหว่างปลายก้านวาล์วกับกระเดื่องกดวาล์ว หรือช่องว่างระหว่างลูกเบี้ยวกับถ้วยกดวาล์ว
การตั้งวาล์วจะต้องตั้งในจังหวะ อัดและสุด คือลูกสูบขึ้นสูงสุด ลูกเบี้ยวจะอยู่ตรงข้ามกับปลายแคม ระยะห่างต้องมีเพื่อการชดเชยการขยายตัวของโลหะ ในชุดทำงานของระบบวาล์วเมื่อเกิดความร้อน
จึงมีข้อกำหนดของผู้ผลิตเครื่องยนต์ จะเป็นผู้กำหนดว่าจะต้องตั้งวาล์วในขณะเครื่องยนต์ร้อนแล้วจะต้องให้เครื่องร้อนขนาดไหน ก็ร้อนที่มือจับเครื่องไม่ได้ก็แล้วกัน หรือ เครื่องยนต์เย็น และ ผู้ผลิตจะกำหนดระยะห่าง ระยะห่างวัดโดย แผ่นบางๆที่เรียกว่า ฟิลเลอร์ (feeler gauge) ฟิลเลอร์ ในสมัยก่อนมีแบบเดียวใช้ตั้งวาล์ว ตั้งทองขาว ตั้งหัวเทียน วัดระยะห่างของปากแหวน และอีกหลายๆอย่าง ที่ต้องมีระยะห่าง
แต่ในปัจจุบันนี้ มีฟิลเลอร์อยู่สองแบบ แบบดั้งเดิมเรียกว่า ฟิลเลอร์นิ้ว และที่มีมาใหม่แต่ก็หลายสิบปีแล้ว ที่มาใหม่ เรียกว่า ฟิลเลอร์ มิลลิเมตร ที่เรียกง่ายๆว่าฟิลเลอร์มิล แล้วมันต่างกันอย่างไรก็มันคนละมาตรา ฟิลเลอร์นิ้วก็มาจากนิ้ว ฟิลเลอร์มิลมาจากเซ็นติเมตร1เซ็นติเมตร=10 มิลลิเมตร ฟิลเลอร์มิลก็คือ 1 มิลลิเมตรแบ่งออกเป็นแผ่นบางๆได้ 100 แผ่น แต่ละแผ่นมันบางมากๆจึงเอาแผ่นบางๆนี้มารวมกันเป็นแผ่นเดียวหลักๆ มี10แผ่นมารวมกันเป็น1แผ่น แผ่นนี้จะเรียกว่า 10 ฟิลเลอร์ 20แผ่นรวมกันเป็น1แผ่น แผ่นนี้จะเรียกว่า20ฟิลเลอร์
นี่เป็นเพียงตัวอย่าง ฟิลเลอร์นิ้ว มาจาก 1 นิ้ว แบ่งเป็นแผ่นบางๆได้1.000 แผ่น ก็เช่นเดียวกับฟิลเลอร์มิลที่เอาแผ่นบางๆมารวมกันมีความหนาอยู่หลายขนาดความหนา อย่างเช่น 8 ฟิลเลอร์ ก็คือการเอาแผ่นบางๆ 8 แผ่นใน 1.000 แผ่น
ถ้าในคู่มือกำหนดให้ตั้งวาล์ว 0.20 มม แต่เรามีฟิลเลอร์นิ้ว จะเอาฟิลเลอร์นิ้วแทนฟิลเลอร์ มมได้อย่างไร ก็โดยการเทียบ 2 ฟิลเลอร์นิ้ว=5ฟิลเลอร์ มม ถ้าคู่มือกำหนดให้ตั้งวาล์ว0.20 มม ถ้าจะใช้ฟิลเลอร์นิ้วก็ต้อง 8ฟิลเลอร์นิ้ว
ในสมัยก่อนเมื่อเปลี่ยนลูกสูบให้โตขึ้น ก็จะเริ่มต้นที่โอเวอร์ไซส์10 ถ้าคว้านกระบอกสูบไม่หมดรอยสึก ก็ต้องเพิ่มโอเวอร์ไซส์ เป็น 20 แต่ในสมัยนี้ ใช้ มม โอเวร์ไซส์ จะเปลี่ยนไปจะเป็น 0.25 มม และต่อไปก็ 0.50 มม
การตั้งวาล์ว ก็คงจะพอสมควรแล้วต่อด้วยที่มาของฟิลเลอร์ นิ้ว และ ฟิลเลอร์ มม แถมด้วยโอเวอร์ไซส์ลูกสูบ ท่านที่รู้อยู่แล้วคงไม่ได้ประโยชน์ ท่านที่ไม่รู้ก็คงจะได้พอจะรู้เพื่อช่วยเหลือตัวเองได้พอสมควร
จะเริ่มตั้งวาล์วที่สูบไหนก่อน ถ้าไม่ให้สับสนควรจะเริ่มตั้งสูบที่หนึ่งก่อน แล้วจะดูว่าจะตั้งสูบหนึ่งได้หรือยังต้องดูที่ไหน ถ้าเป็นรถรุ่นที่มีจานจ่ายมีหัวนกกระจอก เปิดฝาจานจ่าย หมุนเครื่องให้หัวนกกระจอกชี้ไปที่หลักสายไฟสูบที่หนึ่ง เมื่อตั้งสูบที่หนึ่งเสร็จก็หมุนเครื่องให้หัวชี้สูบต่อไปตามลำดับ
ถ้าเป็นรุ่นที่ไม่มีจานจ่ายก็ต้องดูจังหวะวาล์วเป็น โดยธรรมชาติเครื่องยนต์ 4 สูบ ลูกสูบจะขึ้นลงพร้อมกัน 2 สูบ สูบ 1 ขึ้นลงพร้อมกับสูบ 4 ส่วนสูบ 3 ขึ้นลงพร้อมสูบ 2 การตั้งจะตั้งในจังหวะอัดสุด ลูกสูบขึ้นสูงสุดและวาล์วไอดี วาล์วเสีย ปิดสนิท
เมื่อจะตั้งวาล์วที่สูบ 1 ก็ต้องดูจังหวะการทำงานของสูบ4 เมื่อลูกสูบขึ้นพร้อมกัน สูบ1 ขึ้นในจังหวะอัด สูบ4 จะอยู่ในจังหวะคาย วาล์วไอเสียเปิด เมื่อลูกสูบขึ้นสุดวาล์วไอเสียปิด วาล์วไอดีเริ่มจะเปิด จะดูในจังหวะนี้ คือถ้าหมุนเครื่องเดินหน้า วาล์วอื่นใดเลยที่มาเกี่ยวข้องเลย
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…