อะนาก็อก พัฒนาซอฟท์แวร์ โดยใช้เซ็นเซอร์ที่ติดตั้งบนสมาร์ทโฟน และใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ AI ประเมินว่าการเคลื่อนไหวลำดบัต่อไปของผู้ใช้สมาร์ทโฟน จะทำอะไร
จากข้อมูลที่เก็บจากสมาร์ทโฟน นี้ เพื่อทำความเข้าใจว่า ผู้ใช้มือถือ กำลังทำอะไร และอยู่ในสถานการณ์อะไร ในสถานที่ที่ใช้งานโทรศัพท์อยู่ ซึ่งหมายความว่า จะสามารถเตรียมการให้บริการหลากหลายอย่างไรบ้าง เพื่อให้ประทับใจผู้ใช้โทรศัพท์นี้
อะนาก็อก จดลิขสิทธิ์ เทคโนโลยีนี้ไว้ พร้อมทั้งสามารถใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์กับโทรศัพท์มือถือ หรือวัตถุอื่น ที่ผู้ใช้สวมใส่บนร่างกาย โดยไม่จำเป็นต้องมีเซิฟเวอร์สนับสนุนแต่อย่างใด
“เราต้องการให้การบริการด้านดิจิตัล ที่ไม่จำกัดอยู่เพียงลูกค้าของเราเท่านั้น แต่เพื่อให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทุกคน เราต้องการปรับปรุงจุดอ่อนในด้านดิจิตัล ในการใช้การสื่อสารของผู้คน เพื่อช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น” ซาบีน ชูเนิร์ต Sabine Scheunert รองประธานด้านดิจิตัล ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ กล่าว
“ด้วยการลงทุนใน อะนาก็อก จะทำให้เราไปถึงสิ้งที่ต้องการได้เร็วที่สุด ซึ่งเป็นแนวทางของ เดมเลอร์ เอจี อยู่แล้ว ที่จะสนับสนุนบริษัทที่เพิ่งเกิดใหม่ และช่วยประคับประคองให้เติบโตขึ้นไปในอนาคต”
อะนาก็อก ก่อต้ังเมื่อปี 2553 และในปี 2560 ก็ได้รับการสนับสนุนจาก เมอร์เซเดส-เบนซ์ ในโครงการ เดอะบริดจ์ The Bridge ที่ช่วยด้านเงินทุนกับบริษัทที่เกิดใหม่ และมีการพัฒนาในแนวทางที่ เบนซ์ ต้องการ
โดยแอพพลิเคชั่นแรก ที่ อะนาก็อก พัฒนาและเข้าสู่ตลาดเยอรมันตั้งแต่เดือนกันยายน 2560 ในแอพพลิเคชั่นที่ชื่อ อีคิว เรดี้ แอพ. EQ Ready App. โดยจะทำงานเพื่อแสดงให้ผู้ใช้เห็นเป็นการส่วนตัวว่า ถึงเวลาที่จะต้องใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถไฮบริด หรือยัง
แอพพลิเคชั่นแรกนี้ จะบันทึกการเดินทางของผู้ใช้ตามจริง และเปรียบเทียบข้อมูลหลากหลายเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์ไฮบริด และแอพพลิเคชั่น นี้ จะให้คำแนะนำได้ว่า ผู้ใช้สมควรใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์ไฮบริด ทั้ง สมาร์ท หรือ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เพื่อให้ตรงกับการใช้งานจริงของผู้ใช้
บริษัท โตโยต้า …
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…
บริษัท มิตซูบิช…