เสียงคำรามของเครื่องยนต์ทรงพลังที่กระหึ่มดัง กลางตัวเมืองที่รายล้อมด้วยตึกระฟ้า เคยเป็นที่เสียงที่คนน้อยใหญ่หันมองด้วยความสนใจเมื่อหลายปีก่อน แต่ปัจจุบันถูกมองด้วยหางตาว่าเป็นเสียงแห่งความน่ารำคาญ ไร้ความรับผิดชอบและมลภาวะ
ปรากฏการณ์นี้เริ่มเกิดขึ้นตามเมืองต่าง ๆ ที่กำลังจะผันตัวเองจากเมืองที่เติบโตรุดหน้าด้วยการเผาเชื้อเพลิง เป็นนครและความเขียวขจีและไร้มลภาวะ
เมื่อทัศนคติของคนเริ่มเปลี่ยนไปสู่ความใส่ใจในสิ่งแวดล้อม แน่นอนที่สุดว่าสวนทางกับการใช้เชื้อเพลิงด้วยการจุดระเบิดและทิ้งคราบคาร์บอนไว้
คำถามคือเราสามารถเปลี่ยนมาใช่เป็นรถไฟฟ้าและเลิกใช้ระบบสันดาปภายในได้รวดเร็วเช่นนั้นเลยหรือ
คำตอบคือคงจะไม่
แม้ว่าความสิ้นเปลืองของรถยนต์ใช้น้ำมันที่ใช้พลังงานจากน้ำมันออกมาใช้เพียง 20% จากพลังงานที่มีทั้งหมด โดยสูญเสียไปกับความร้อน ความเสียดทานของเครื่องยนต์และระบบขับเคลื่อนต่าง ๆ แต่อุตสาหกรรมรถยนต์นั้นถึงพัฒนาอย่างซับซ้อนและผูกพันธ์กับเศรษฐกิจโลกอย่างแยกออกได้ยาก
ชิ้นส่วนต่าง ๆ กว่า 30,000 ชิ้นในรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน พึ่งพาห่วงโซ่การผลิตจากประเทศเล็กใหญ่ทั่วโลกกว่าจะมาประกอบเป็นรถยนต์ที่ใช้มันหนึ่งคัน
สำหรับรถไฟฟ้านั้นสามารถใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยสูงถึง 96% ของพลังงานที่ได้รับมาและพึ่งพาชิ้นส่วนการผลิดเพียง 2,000 กว่าชิ้น
โดยทั้งนี้ ชิ้นส่วนต่างที่ของเครื่องยนต์สันดาปภายในที่มากมายและฟุ่มเฟือยเมื่อเปรียบเทียบกับรถใช้ไฟฟ้า
การเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้านั้นเป็นไปได้เร็วแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการจัดการปัญหาจากการตัดสายการผลิตของชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น เมือง A อาจมีอุตสาหกรรมหลักคือทำครัช และเมือง B คือทำเกียร์ หากเปลี่ยนมาผลิตรถไฟฟ้าทั้งหมด จะต้องทำอย่างไรการการตกงานของผู้คนที่ทำงานอยู่ในเมือง A และ B
เรากำลังพูดถึงชิ้นส่วนจำเป็นกว่า 20,000 กว่าชิ้นจะกลายเป็นชิ้นสิ้นไม่จำเป็น
หากจะว่าไปแล้ว รถใช้พลังงานไฟฟ้านั้นไม่ใช่เรื่องใหม่และเกิดขึ้นก่อนรถที่ใช้น้ำมันเสียอีก แต่ปัญหาที่ทำให้รถไฟฟ้าไม่เป็นที่นิยมเพราะการเก็บสะสมพลังงาน วิวัฒนาการของแบตเตอรี่ในอดีตมีน้ำหนักสูงและขนาดใหญ่มากและความจุน้อย ต่างกับพลังงานและระยะทางที่ได้ต่อน้ำมันหนึ่งถัง ตรงนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้รถไฟฟ้าในอดีตไม่ไปไหน
รถรางและรถประจำทางในหลายประเทศที่ใช้ไฟฟ้าก็ทำให้เรามองเห็นอดีตว่าคนรุ่นก่อนใช้การโยงสายไฟด้านบนให้รถรางและรถประจำทางได้รับพลังงานตามเส้นทางการบริการด้วยข้อจำกัดทางแบตเตอรี่
ในช่วงปี ค.ศ. 1890 ยอดขายรถไฟฟ้ามากกว่ารถยนต์ธรรมดากว่ากว่าสิบเท่า ในขณะนั้นยังมีรถใช้พลังงานไอน้ำเป็นอีกส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์อีกด้วย โดนรถไฟฟ้าขณะนั้นสามารถทำความเร็วสูงสุดที่ 22.5 กม.ต่อชั่วโมง
นอกเหนือจากคำถามที่ต้องตอบเกี่ยวกับชิ้นส่วนต่าง ๆแล้ว อีกสิ่งหนึ่งก็พัฒนาการของรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่อยู่ในจุดเต็มอิ่มและอยู่ตัว การพัฒนาแบตเตอรี่ยังถูกพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ตรงนี้เป็นสิ่งดี แต่ก็ทำให้การปรับตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ต้องเป็นไปอย่างฉับไว
ต้องพึ่งกันทั้งภาครัฐและเอกชนในการก้าวกระโดดครั้งนี้
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…