ฮอนด้า มอเตอร์ เรียกรถเข้ารับการตรวจสอบราว 63,200 คัน เพื่อตรวจสอบปัญหาของถุงลมนิรภัย ฝั่งคนขับ ที่ผลิตโดย ทากาต้า คอร์ป Takata Corp ซึ่งเป็นปัญหาล่าสุดด้านถุงลมนิรภัยของอุตสาหกรรมยานยนต์ กระทบกระเทือนรถมากกว่า 16 ล้านคันทั่วโลก หลากยี่ห้อ
ฮอนด้า ประกาศการเรียกรถรุ่น ซีอาร์-วี, ซีวิค, บริโอ และ อะเมซ รุ่นปี 2012-2015 ส่วนใหญ่ในประเทศจีน และประเทศอาเซียน เข้ารับการตรวจสอบ นอกจากนั้นยังมีหลายประเทศในยุโรป, ลาตินอเมริกา และ อัฟริกา ยกเว้นในอเมริกาเหนือ แม้ว่าจะยังไม่มีรายงานความเสียหาย หรืออาการบาดเจ็บเกิดขึ้นจากปัญหาดังกล่าว
สาเหตุของปัญหา ถุงลมนิรภัย ทากาต้า ด้านผู้ขับขี่ ติดตั้งตัวจุดระเบิดถุงลมซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ผิดพลาด กรณีหากถุงลมพองตัวออก ถุงลมอาจพองตัวด้วยแรงกระแทกมากเกินความจำเป็น และอาจทำให้คนท้องเกิดอาการบาดเจ็บได้ และก่อนหน้านั้น เจเนอรัล มอเตอร์ ก็เรียกรถเข้ารับการตรวจสอบ เชโรเลต ครูซ ราว 33,000 คัน ในอเมริกาเหนือ ด้วยสาเหตุเดียวกัน ทำให้ ฮอนด้า เริ่มการตรวจสอบรถของตนเอง
กรณีของ จีเอ็ม รถครูซ เกิดอุบัติเหตุในเดือนตุลาคม ปีก่อน และทำให้หญิงสาวในรัฐจอร์เจีย ได้รับบาดเจ็บที่ดวงตาข้างหนึ่ง และยังเป็นคดีความอยู่ในปัจจุบัน
ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 ค่ายรถยนต์หลายค่าย ทั้ง ฮอนด้า, โตโยต้า และ บีเอ็มดับบลิว ได้เรียกรถเข้ารับการตรวจสอบราว 12.3 ล้านคัน ทั่วโลก ด้วยปัญหาของถุงลมนิรภัย ทั้งด้านผู้ขับขี่และผู้โดยสาร อาจพองตัวด้วยแรงกระแทกเกินความจำเป็น เนื่องจากตัวจุดระเบิด ซึ่งทำปฏิกริยาทางเคมี เกิดการเผาไหม้ สร้างแรงอัดอากาศให้ถุงลมนิรภัยพองออก ตัวจุดระเบิดบางชุด ผลิตด้วยแรงอัดที่น้อยเกินควร บางชุดก็มีฝุ่นผงปนเปก่อนการบรรจุ และบางกรณี ก็สร้างแรงอัดมากเกินควร
จากกรณีนี้ ยานยนต์ราว 3.5 ล้านคันทั่วโลก คือเป้าหมายในการเรียกเข้าตรวจสอบ โดยเฉพาะบางพื้นที่ในอเมริกา ที่มีความชื้นสูง เช่นในฟลอริดา และ เปอร์โต ริโก้
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…
บริษัท มิตซูบิช…