รถยนต์ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง มีวิ่งอยู่บนถนนหลวงของโลกแล้วนะครับ
อย่างไรก็ตาม ระบบต่างต่างก็ยังอยู่ในขั้นตอนของพัฒนาการ อาทิ การขนส่ง การเก็บกัก และการควบคุมไฮโดรเจนในการใช้งานประจำวัน ทดลองและทดสอบกันอยู่ โดยเชลล์ ไฮโดรเจน มีส่วนร่วมอยู่ในปฏิบัติการอันน่าสนใจยิ่งนี้ด้วย
ผมเชื่อว่า พัฒนาการด้านพลังงานใหม่ และระบบเก่าอันเป็นเชื้อเพลิงแบบ”น้ำมัน”หรือ Hydrocarbon นี้ จะเดินคู่กันไปบนเส้นทางการใช้งานรถยนต์ หรือยานพาหนะของโลกต่อไปอีกสองสามทศวรรษ โดยตลอดเวลานั้น ไฮโดรคาร์บอนจะถูกทดแทนในอัตราก้าวหน้า ด้วยพัฒนาการด้านพลังงานใหม่ต่อไป
การให้กำเนิดไฮโดรเจนเพื่อใช้งานกับ Fuel Cell นั้น มาได้สองทางเท่าที่ทราบอยู่ในระยะนี้
อย่างแรก เริ่มจากน้ำที่เราได้มาจากฝน จากแหล่งน้ำต่างต่าง เอาที่สะอาดหน่อยนะครับ ไม่ใช่น้ำเน่าหรอกน่า แล้วเอามาแยกด้วยกระแสไฟฟ้า ออกมาเป็นออกซิเจน กับอีกทางหนึ่งคือ ไฮโดรเจน เข้าไปเก็บกักไว้ในถังเก็บไฮโดรเจน ก่อนจะออกไปสู่รถยนต์ หรือถังเก็บแบบถังเชื้อเพลิงนี่แหละครับ เข้าไปป้อนให้กับ Fuel Cell เพื่อรวมตัวกับออกซิเจนอีกครั้ง จะได้ไฟฟ้าออกมาเพื่อป้อนให้กับมอเตอร์ หรือระบบไฟฟ้าใดใดที่ต้องการ ในขณะที่ไอเสียจาก Fuel Cell ก็จะเป็นน้ำหยดออกมาเท่านั้น
อย่างต่อมา หรืออย่างที่เสริมเข้ากับการหาไฮโดรเจนจากน้ำ ก็คือเอาน้ำมันเชื้อเพลิงนี่แหละครับ มาเข้าเครื่องแปลง หรือ Fuel Processor ก็จะได้คาบอนไดออกไซด์ออกมาส่วนหนึ่ง และไฮโดรเจนที่จะเก็บเข้าถังเก็บกัก ก่อนส่งให้กับผู้ใช้ต่อไปอีกส่วนหนึ่ง
คาร์บอนไดออกไซด์ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เพราะจะได้รับการสังเคราะห์จากธรรมชาติ กลับเป็นออกซิเจนต่อไปได้ง่าย ถือว่าเป็นไอเสียที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมครับ
ไฮโดรเจนนั้น ผ่านหลักในการนำมาใช้งานได้อย่างประหยัดแล้วนะครับ
Fuel Cell ที่ใช้ไฮโดรเจนควบแน่นเป็นเชื้อเพลิง ก็เริ่มที่จะใช้งานในการเป็นพลังงานให้กับยานพาหนะยนถนนของสหรัฐอเมริกา แคนาดา ไอส์แลนด์ และยุโรป กับญี่ปุ่น ในขั้นทดลองแล้ว และการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแบบธรรมดามาเปลี่ยนเป็นไฮโดรเจน เพื่อใช้เป็นพลังงานให้กับ Fuel Cell เพื่อเป็นพลังงานให้กับอุปกรณ์รถยนต์ หรือขับเคลื่อนรถยนต์เลยทีเดียว ก็มีกันแล้ว และใช้ได้ พิสูจน์แล้วนะครับ
กฎ ระเบียบ ในการใช้งานไฮโดรเจน เพื่อความปลอดภัย มุ่งวัตถุประสงค์ให้ใช้งานไฮโดรเจนของโลกอย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย ก็อยู่ในระดับล้ำหน้าไปแล้ว ในหลายประเทศ
ประเทศไทยเอง ยังไม่มีกฎกติกาใด นอกจากการขนย้าย ที่น่าจะไม่ทันสมัยเพียงพอ
ควรหรือยังครับ ที่จะเริ่มหันมามองพลังงานใหม่ของโลก และเครื่องยนต์ใหม่ของโลก เช่น Fuel Cell นี้กันบ้าง เพื่อเตรียมตัวไว้ ในฐานะผู้ผลิตหรือผู้ประกอบรถยนต์รายใหญ่รายหนึ่งของโลกกันได้แล้ว
หากไม่มีข้อมูล ผมเสนอว่า รัฐบาลควรจะติดต่อบริษัทเชลล์ ประเทศไทย จำกัด และบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เพื่อขอข้อมูล และรายละเอียดต่างต่าง ของ Fuel Cell กับไฮโดรเจน เอามาเริ่มศึกษาหาทางเตรียมกฎระเบียบต่างต่างเอาไว้ให้ทันการ อย่าให้ประเทศอันเป็นเพื่อนบ้านเราเองอื่นล้ำหน้าไปก่อน
ผมมั่นใจว่า บริษัททั้งสองที่เอ่ยนามมา จะต้องให้ความร่วมมืออย่างกระตือรือร้น
ไม่เหมือนของผม ที่ต้องเสาะหาข้อมูลด้วยตัวเอง พึ่งใครก็ยังไม่ได้ แม้ผู้บริหารของโตโยต้าท่านหนึ่งจะบอกกับผมว่า ยินดีให้ข้อมูล โดยให้ติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ของโตโยต้า พอติดต่อไป ก็ไม่ได้อะไรกลับมาในเรื่อง Fuel Cell สักเรื่อง ไม่มีใครรู้เรื่อง ว่าอย่างนั้นเถิด เห็นจะต้องหาช่องทางติดต่อใหม่ละครับ
ส่วนกับเชลล์นั้น วันนี้มีนัดกัน คือวันที่ผมส่งต้นฉบับนี้ อันเป็นวันที่ 6 สิงหาคม แต่ก็กลับเป็นการนัดพบกับผู้บริหารของเชลล์ ออโต้เซิร์ฟ ไปเสียอีก ไม่ใช่กับผู้บริหารของเชลล์แห่งประเทศไทยอย่างที่เข้าใจ ก็ขออภัยไว้ตรงนี้ก่อนนะครับ สำหรับเชลล์แห่งประเทศไทย ที่ผมเข้าใจผิดตั้งแต่แรก
กลับมาถึงเรื่องของไฮโดรเจนกันต่อไปครับ
ปัจจุบัน ความคืบหน้าในพัฒนาการของไฮโดรเจนเพื่อ Fuel Cell เดินหน้าไปมาก นอกจากที่กล่าวมาแล้วนั้น ก็ยังมีข่าวจากเชลล์ ว่าร่วมมือกับคู่ค้า ในการหาทางให้การใช้ไฮโดรเจนอย่างประหยัดมากขึ้นอีก เช่น :-
การออกแบบถังเก็บที่มีน้ำหนักเท่ากับถังเก็บเชื้อเพลิงของรถยนต์ คือหนักประมาณ 100 กิโลกรัม ที่จะสามารถปล่อยไฮโดรเจนน้ำหนัก 5 กิโลกรัมเพื่อให้กำลังกับรถยนต์ได้เป็นระยะทางขับขี่ 800 กิโลเมตร
การการเติมไฮโดรเจน เชลล์จะต้องพัฒนาให้สามารถทำการเติมไฮโดรเจนให้กับรถยนต์ได้จำนวน 5 กิโลกรัม ในเวลาไม่เกิน 2 นาที
เพิ่มเติมสถานีบริการไฮโดรเจนให้มากขึ้น พร้อมรับกับการบริการให้กับผู้ใช้รถยนต์ที่ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงร่วมมือกับคู่ค้า ในการพัฒนา Fuel Cell ให้เหมาะกับเทคโนโลยีของการขนส่ง โดยเร็ว
หนึ่งในความต้องการของการทำงานแบบที่เชลล์บอกไว้นี่ โลกก็ได้เห็นสถานีบริการไฮโดรเจน แห่งแรกของเชลล์ เปิดบริการขึ้นแล้วครับ
เป็นสถานีบริการ หรือจะเรียกว่า ปั๊มไฮโดรเจนก็คงได้ เพราะเราก็เรียกสถานีบริการเชื้อเพลิงแบบน้ำมันเชื้อเพลิงว่า ปั๊มน้ำมันอยู่แล้วนี่นา
ปั๊มไฮโดรเจนของเชลล์ แห่งแรกของโลก เกิดขึ้นโดยเชลล์ ไฮโดรเจน อันเป็นเครือข่ายธุรกิจของRoyal Dutch หรือ Shell Group เปิดอยู่ที่ Reykjavik ประเทศ Iceland
วันที่เปิดนั้น เปิดโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไอส์แลนด์ อันเป็นท่านแรกที่นำรถยนต์ Fuel Cell เข้าไปรับการเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ที่มีเด็กปั๊มชื่อ Jeroen van der Veer ประธานของบริษัท Royal Dutch Petroleum Company ร่วมอยู่ด้วย ข่าวไม่ได้บอกนะครับ ว่าท่านประธานทำหน้าที่เติมไฮโดรเจนให้ท่านรัฐมนตรีหรือไม่ ผมเดาเอาว่า คงยืนยิ้มแป้นอยู่ข้างรถนั่นแหละ ไม่ถึงกับจับหัวจ่ายมาใส่ท่อเติมหรอก
ปั๊มไฮโดรเจนแห่งแรกของโลก ของเชลล์นี้ ตั้งอยู่ติดกับปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงของเชลล์เองใน Vesturlandsvgur ที่ผมไม่สามารถจะอ่านออกเสียง หรือเขียนเป็นไทยให้ท่านได้แน่นอน ด้วยว่าผมไม่รู้ภาษาของเขาน่ะครับ
ปั๊มนี้จะทำหน้าที่คอยเติมเชื้อเพลิงให้กับรถยนต์โดยสาร Fuel Cell ของ ไดม์เลอร์ไครสเลอร์ ที่มีอยู่สามคัน ที่จะใช้บรรทุกผู้โดยสารบนถนน Reykjavik โดย Straeto Bs อันเป็นบริษัทรถโดยสารท้องถิ่น
ส่วนรถยนต์ส่วนตัวใช้ไฮโดรเจนนั้น จะมีต่อไปในอนาคต และจะเข้ามาใช้ปั๊มนี้เพื่อเติมไฮโดรเจนได้ เพราะทางการไอส์แลนด์ได้ออกใบอนุญาตให้ปั๊มนี้สามารถปฏิบัติการบริการได้ในแบบธุรกิจแล้ว
ประเทศไทยเอง ยังไม่มีกฎกติกาใด นอกจากการขนย้าย ที่น่าจะไม่ทันสมัยเพียงพอ
ควรหรือยังครับ ที่จะเริ่มหันมามองพลังงานใหม่ของโลก และเครื่องยนต์ใหม่ของโลก เช่น Fuel Cell นี้กันบ้าง เพื่อเตรียมตัวไว้ ในฐานะผู้ผลิตหรือผู้ประกอบรถยนต์รายใหญ่รายหนึ่งของโลกกันได้แล้ว
หากไม่มีข้อมูล ผมเสนอว่า รัฐบาลควรจะติดต่อบริษัทเชลล์ ประเทศไทย จำกัด และบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เพื่อขอข้อมูล และรายละเอียดต่างต่าง ของ Fuel Cell กับไฮโดรเจน เอามาเริ่มศึกษาหาทางเตรียมกฎระเบียบต่างต่างเอาไว้ให้ทันการ อย่าให้ประเทศอันเป็นเพื่อนบ้านเราเองอื่นล้ำหน้าไปก่อน
ผมมั่นใจว่า บริษัททั้งสองที่เอ่ยนามมา จะต้องให้ความร่วมมืออย่างกระตือรือร้น
ไม่เหมือนของผม ที่ต้องเสาะหาข้อมูลด้วยตัวเอง พึ่งใครก็ยังไม่ได้ แม้ผู้บริหารของโตโยต้าท่านหนึ่งจะบอกกับผมว่า ยินดีให้ข้อมูล โดยให้ติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ของโตโยต้า พอติดต่อไป ก็ไม่ได้อะไรกลับมาในเรื่อง Fuel Cell สักเรื่อง ไม่มีใครรู้เรื่อง ว่าอย่างนั้นเถิด เห็นจะต้องหาช่องทางติดต่อใหม่ละครับ
ส่วนกับเชลล์นั้น วันนี้มีนัดกัน คือวันที่ผมส่งต้นฉบับนี้ อันเป็นวันที่ 6 สิงหาคม แต่ก็กลับเป็นการนัดพบกับผู้บริหารของเชลล์ ออโต้เซิร์ฟ ไปเสียอีก ไม่ใช่กับผู้บริหารของเชลล์แห่งประเทศไทยอย่างที่เข้าใจ ก็ขออภัยไว้ตรงนี้ก่อนนะครับ สำหรับเชลล์แห่งประเทศไทย ที่ผมเข้าใจผิดตั้งแต่แรก
การให้กำเนิดไฮโดรเจนเพื่อใช้งานกับ Fuel Cell นั้น มาได้สองทางเท่าที่ทราบอยู่ในระยะนี้
อย่างแรก เริ่มจากน้ำที่เราได้มาจากฝน จากแหล่งน้ำต่างต่าง เอาที่สะอาดหน่อยนะครับ ไม่ใช่น้ำเน่าหรอกน่า แล้วเอามาแยกด้วยกระแสไฟฟ้า ออกมาเป็นออกซิเจน กับอีกทางหนึ่งคือ ไฮโดรเจน เข้าไปเก็บกักไว้ในถังเก็บไฮโดรเจน ก่อนจะออกไปสู่รถยนต์ หรือถังเก็บแบบถังเชื้อเพลิงนี่แหละครับ เข้าไปป้อนให้กับ Fuel Cell เพื่อรวมตัวกับออกซิเจนอีกครั้ง จะได้ไฟฟ้าออกมาเพื่อป้อนให้กับมอเตอร์ หรือระบบไฟฟ้าใดใดที่ต้องการ ในขณะที่ไอเสียจาก Fuel Cell ก็จะเป็นน้ำหยดออกมาเท่านั้น
อย่างต่อมา หรืออย่างที่เสริมเข้ากับการหาไฮโดรเจนจากน้ำ ก็คือเอาน้ำมันเชื้อเพลิงนี่แหละครับ มาเข้าเครื่องแปลง หรือ Fuel Processor ก็จะได้คาบอนไดออกไซด์ออกมาส่วนหนึ่ง และไฮโดรเจนที่จะเก็บเข้าถังเก็บกัก ก่อนส่งให้กับผู้ใช้ต่อไปอีกส่วนหนึ่ง
คาร์บอนไดออกไซด์ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เพราะจะได้รับการสังเคราะห์จากธรรมชาติ กลับเป็นออกซิเจนต่อไปได้ง่าย ถือว่าเป็นไอเสียที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมครับ
ไฮโดรเจนนั้น ผ่านหลักในการนำมาใช้งานได้อย่างประหยัดแล้วนะครับ
Fuel Cell ที่ใช้ไฮโดรเจนควบแน่นเป็นเชื้อเพลิง ก็เริ่มที่จะใช้งานในการเป็นพลังงานให้กับยานพาหนะยนถนนของสหรัฐอเมริกา แคนาดา ไอส์แลนด์ และยุโรป กับญี่ปุ่น ในขั้นทดลองแล้ว และการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแบบธรรมดามาเปลี่ยนเป็นไฮโดรเจน เพื่อใช้เป็นพลังงานให้กับ Fuel Cell เพื่อเป็นพลังงานให้กับอุปกรณ์รถยนต์ หรือขับเคลื่อนรถยนต์เลยทีเดียว ก็มีกันแล้ว และใช้ได้ พิสูจน์แล้วนะครับ
กฎ ระเบียบ ในการใช้งานไฮโดรเจน เพื่อความปลอดภัย มุ่งวัตถุประสงค์ให้ใช้งานไฮโดรเจนของโลกอย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย ก็อยู่ในระดับล้ำหน้าไปแล้ว ในหลายประเทศ
— ธเนศร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา —
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…