กลายเป็นเรื่องที่ต้องมานั่งถกเถียงกันระกว่างนักการตลาดค่ายรถยนต์ และวิศวกรผู้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีการขับขี่ยานยนต์ ที่สามารถจับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องอาศัยผู้ขับขี่ อย่างน้อยก็มีวิศวกรจาก มหาวิทยาลัยดุ๊ค Duke University ที่ทำงานอยู่กับเทคโนโลยีขับเคลื่อนด้วยตัวเองอยู่นี้ ระบุออกมาว่า ยังต้องใช้เวลาอีกนาน ในการเผยแพร่เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดนี้ ออกสู่สาธารณชนทั่วไป
ศาสตราจารย์ มิสซี่ คัมมันส์ Professor Missy Cummings มีประสบการณ์ในการขับเครื่องบินขับไล่มานานนับ 10 ปี ปัจจุบัน เป็นหัวหน้าในการศึกษาปฏิกริยาของคนเดินถนนต่อยานยนต์ไร้คนขับ ที่ก็ทำงานมานานนับ 10 ปี เช่นกัน ให้สัมภาษณ์ ออโตโมทีฟ นิวส์ Automotive News ว่า สักวันหนึ่ง อุตสาหกรรมยานยนต์ก็ต้องก้าวเข้าสู่ยุคยานยนต์ไร้คนขับแน่นอน เหลืออยู่เพียงว่า อย่างไร เร็วขนาดไหน ที่จะไปถึงจุดนั้น
ความยิ่งใหญ่มหาศาลของเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับ มีอยู่ในหลายระดับ อยู่ที่ว่าผู้ผลิตต้องการใช้การตลาดระดับไหน ที่จะทำให้เทคโนโลยีเหล่านี้ กลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้บริโภค ที่สามารถจับต้องได้ เมื่อต้องการขายผลิตภัณฑ์ของตน แต่ในพื้นฐานโดยรวมของเทคโนโลยีนี้ นับเป็นเเรื่องที่ละเอียดอ่อน และหลากหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง แม้ว่าศาสตราจารย์คัมมินส์ จะบอกว่าต้องการเข้าสู่ยุคยานยนต์ไร้คนขับ ที่สามารถขับเคลื่อนไปบนถนนที่มีการเตรียมการพร้อมแล้ว แต่ก็ยังไม่มีรายงานการทดลองหรือข้อมูลจากแหล่งใด ว่าเทคโนโลยีใหม่นี้ จะพร้อมสำหรับการใช้งาน
เทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับนี้ ถึงอย่างไรก็ยังต้องการผู้ขับขี่นั่งอยู่ในตำแหน่งการขับขี่ เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถยึดคืนควบคุมการขับขี่ เอามาจากระบบเทคโนโลยีการขับขี่ภายในรถ เมื่อมีความจำเป็น แต่จากการพิจารณาคยวามก้าวหน้าของอุตสาหกรรมนี้ กลับพบว่า การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ไม่เคยคิดว่าจะต้องมีผู้ขับขี่นั่งอยู่ในตำแหน่ง พัฒนาให้ยานยนต์สามารถขับเคลื่อนด้วยตนเอง ด้วยการปฏิสัมพันธ์หรือสื่อสารกับระบบที่อยู่บนถนน หรืออยู่ภายนอกตัวรถ เพื่อพิจารณาสั่งการ แต่หากมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร สั่งการให้เราหยุดรถ เทคโนโลยีนี้ ก็จะยังไม่เข้าใจคำสั่งจากเจ้าพนักงานอยู่ดี เว้นแต่จะมีผู้ขับขี่เข้าควบคุมการขับขี่ก่อน
ศาสตราจารย์คัมมินส์ ระบุว่า มีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจ ทั้งระหว่างยานยนต์ และมนุษย์ เพื่อให้ลึกซึ้งถึงการทำงานของเทคโนโลยี จะมีความเข้าใจการส่ังงานของมนุษย์ได้ในระดับไหน อย่างเช่นผู็ขับขี่ต้องการยึดคืนพวงมาลัยมาจากเทคโนโลยีขับเคลื่อนของรถ เพื่อควบคุมด้วยตนเอง ก็ไม่ได้รวดเร็วเหมือนอย่างที่ กูเกิ้ล ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งนั่นอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย ทั้งยังไม่นับรวมสภาพถนนที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ป้ายจราจรที่ผิดเพี้ยนออกไป หรือการขับขี่ด้วยรถพวงมาลัยซ้าย หรือรถพวงมาลัยขวา ซึ่งยังต้องการพัฒนากันอีกนาน
บริษัท โตโยต้า …