เพื่อขับเคลื่อนความสุขสู่สังคมไทย บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ริเริ่มโครงการสาทรโมเดล ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) ที่มีวัตถุประสงค์ในการบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด บริหารจัดการโดย กรุงเทพมหานคร กระทรวงคมนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ในฐานะตัวแทนองค์กรซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของ สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน(WBCSD).
ในโอกาสดังกล่าว มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี (Toyota Mobility Foundation) ได้สนับสนุนเงิน รวมจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 110 ล้านบาท ให้กับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งบริหารจัดการโครงการสาทรโมเดล เพื่อลงมือเริ่มทดลองมาตรการแก้ปัญหาจราจรบริเวณถนนสาทร รวมทั้ง เพื่อนำไปพัฒนาแผนแม่บทที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
โครงการสาทรโมเดล มีวัตถุประสงค์ในการสร้างแผนแม่บท ที่พัฒนาขึ้นจากมาตรการแก้ปัญหาจราจรบริเวณถนนสาทร ได้แก่ มาตรการควบคุมปริมาณการใช้ถนน และมาตรการจัดการความคล่องตัวด้านจราจร ซึ่งอาศัยการลงมือปฏิบัติไป พร้อมกับการขยายตัวของระบบขนส่งมวลชนตามแผนแม่บทของกรุงเทพมหานคร โครงการสาทรโมเดลถือเป็นโครงการที่ต่างจากโครงการอื่น ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาด้านจราจร อันเป็นหนึ่งในโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) มาตรการทดลองแก้ปัญหาจราจรบริเวณถนนสาทรประกอบด้วย โครงการรถโรงเรียน (School Bus) มาตรการจอดแล้วจร (Park & Ride) มาตรการการเหลื่อมเวลาทำงาน (Flexible Working Time) และมาตรการควบคุมจัดการจราจร (Traffic Flow Management) สำหรับมาตรการควบคุมจัดการจราจรได้รวมถึงการลดปัญหาความหนาแน่นของจราจรในบริเวณถนนที่มีลักษณะเป็นคอขวด และการบริหารจัดการสัญญาณไฟจราจรผ่านระบบเครื่องมือควบคุมสัญญาณไฟจราจร ที่พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มบริษัท โตโยต้า
ทั้งนี้ สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD) มอบหมายให้ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ร่วมกับบริษัทสมาชิกอีก 6 บริษัท ได้แก่ ฮอนด้า นิสสัน ฟอร์ด เชลล์ ฟูจิตสึ และ บริดจสโตน ในการแก้ปัญหาการจราจรบนถนนสาทร โดยเริ่มต้นทดลองตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา ด้วยการประยุกต์ใช้ 4 มาตรการหลักที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาที่ โตโยต้า ซิตี้ ประเทศญี่ปุ่น
มร.เคียวอิจิ ทานาดะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า “ ทางโครงการฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี (Toyota Mobility Foundation) ได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาจราจร และสนับสนุนเงินทุนทั้งสิ้นประมาณ 110 ล้านบาท ให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย นำไปใช้วางแผน และเขียนโครงการพัฒนาโครงการสาทรโมเดล โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เมษายน 2558 – ธันวาคม 2559 เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนสาทรให้ประสบผลสำเร็จ
สุดท้ายนี้ ทางโครงการฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า สาทรโมเดล จะเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาการจราจร และเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนการแก้ปัญหาการจราจรในพื้นที่อื่นๆต่อไป” มร.ทานาดะ กล่าวในที่สุด
สาทร โมเดล – สาทรนำร่อง จราจรคล่องตัว…
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…