ฟอร์ด เลียนแบบพฤติกรรมของตุ๊กแก เพื่อตอบโจทย์การประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ จากวิถีธรรมชาติ
LOOKING TO THE GECKO FOR ANSWERS; FORD TO SEEK SOLUTIONS BY MIMICKING NATURE
ทีมวิจัยของฟอร์ดกำลังศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการยึดเกาะของ ตีนตุ๊กแก เพื่อนำมาใช้ในการผลิตชิ้นส่วนที่ติดตั้งภายในรถยนต์ ปัจจุบันฟอร์ดได้พยายามหาวิธีที่จะใช้ทดแทนกาวเพื่อติดตั้งอุปกรณ์ที่ทำจาก โฟมหรือพลาสติกและโลหะ โดยที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้อีก ดังนั้น ตีนตุ๊กแก จึงจุดประกายให้กับนักวิจัยของ ฟอร์ด ว่า ทำอย่างไรถึงจะทำให้ชิ้นส่วนเหล่านั้น ติดกันได้หนึบเหมือน ตีนตุ๊กแก เวลาเกาะอยู่บนเพดาน พื้นฐานของสัตว์ประเภทนี้สามารถเกาะอยู่บนพื้นผิวต่างๆโดยไม่ต้องใช้กาวหรือการบีบอัดต่างๆ และยังสามารถแกะออกได้อยากง่ายดายโดยไม่มีร่อยรอยทิ้งไว้ โดยตุ๊กแกที่โตเต็มวัยจะมีน้ำหนักประมาณ 2.5 ออนซ์ จะสามารถแบกรับน้ำหนักได้ถึง 293 ปอนด์ และการวิจัยในครั้งนี้จะสามารถแก้ปัญหารวมทั้งทำให้ ฟอร์ด ประหยัดต้นทุน รวมถึงรักษาสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น เพราะนั่นคือการใช้ โฟมและพลาสติกน้อยลง โดยในการวิจัยครั้งนี้ ฟอร์ด ใช้นักวิจัยและนักออกแบบรวมกันถึง 200 คนทำงานร่วมกัน ทางผู้บริหารของ ฟอร์ด กล่าวว่าหากโครงการดังกล่าวสำเร็จ นั่นการสร้างประวัติศาสตร์ร่วมกันของทุกคนในโครงการเลยทีเดียว จริงๆแล้วโครงการเลียนแบบพฤติกรรมของสัตว์แบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ซะทีเดียว เนื่องจากรถไฟ ชิงกันเซน ของญี่ปุ่น ก็เกิดขึ้นจากการเลียนแบบ นกกระเต็น (Kingfisher) หรือ การพัฒนาเพิ่มศักยภาพของเข็มฉีดยา ก็มาจากการพื้นฐานของการศึกษา ยุง
นอกจากนี้ ฟอร์ด ยังเป็นค่ายรถยนต์เพียงค่ายเดียวที่ใช้วัสดุที่ทำจาก ไฟเบอร์คุณภาพสูงซึ่งผลิตจากวัสดุรีไซเคิล เช่น ขวดน้ำพลาสติก เพื่อนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ในรถของ ฟอร์ด และนั่นก็คือกลยุทธ์ล่าสุดของ ฟอร์ด ใช้วัสดุที่สามารถใช้ซ้ำ, นำกลับมาผลิตใช้ได้ใหม่และใช้ทรัพยากรต่างๆให้น้อยลง เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
ที่มา : ขอบคุณ https://media.ford.com/content/fordmedia/fna/us/en/news/2015/10/20/ford-to-seek-solutions-by-mimicking-nature.html
อีซูซุส่งเครื่อ…