ผมเติบโตมากับรถยนต์และการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย
ถนนที่เคยเป็นลูกรังวิ่งสวน ผ่านทุ่งนา ไม่กี่ปีผ่านไป เปลี่ยนไปเป็นถนนห้าทางวิ่ง คับคั่งไปด้วยธุรกิจต่าง ๆ รายรอบ
ในช่วงชีวิตเดียวกับการเปลี่ยนแปลง หลังจากจบการศึกษาที่สหรัฐอเมริกา คุณพ่อผม ธเนศร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา มาเยี่ยมตอนผมใช้ชีวิตทำงานทางไอทีช่วงหนึ่งในมลรัฐแคลิฟอเนีย
อเมริกามันอิ่มตัวแล้วลูก เป็นอย่างไรเมื่อตอนที่พ่อมาเรียน ส่วนใหญ่แล้วก็อยู่เหมือนเดิมไม่ค่อยหลง ไม่เหมือนกรุงเทพฯ คุณพ่อกล่าวในฐานะเป็นศิษฐ์เก่าอเมริกาเช่นกัน
ราคาสินค้านั่นแหละที่เปลี่ยนไป แต่ถนนหนทางอะไร ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก คุณพ่อย้ำ
คุณพ่อผมศึกษาด้านวิศวกรรมการบินอยู่ที่รัฐฟลอริด้า ณ เมืองเดโทนา บิช แน่นอนที่สุดว่าสมัยนั้น คุณพ่อน่าจะเลือกเดโทนา บิช เพราะความผูกพันธ์ที่มีกับรถยนต์
เมืองเดโทนา บิช เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก โดยเป็นที่ตั้งของสนามแข่ง NASCAR ที่โด่งดัง ชายหาดของเมืองมีทรายที่แน่นและอนุญาติให้นำรถลงไปวิ่งได้
ผมได้ใช้เวลาในช่วงปีใหม่ขับรถจากนิวยอร์คไปฟลอริด้า ผมค้างอยู่เมืองเดโทนา บิชสองคืน ได้ดูบรรยากาศเมืองที่คุณพ่อเคยใช้ชีวิตช่วงหนึ่งอยู่ ผมได้พาลูกชายและลูกสาวเข้าไปเยี่ยมชมสนามแข่งรถ NASCAR ทำให้อดจินตนาการไม่ได้ว่าช่วงนั้นคุณพ่อนั่งอยู่ตรงไหนและมีความรู้สึกอย่างไร
เท่าที่ได้ทราบจากญาติสนิทและเพื่อนคุณพ่อว่าเวลาส่วนใหญ่นอกจากเรียนหนังสือก็จะใช้ไปกับการอยู่ในสนามแข่ง ส่วนไหนจะมากหรือน้อยกว่า ตอนท่านมีชีวิต ผมก็ไม่คิดจะถาม เพราะดูท่านจะมีความสุขกับการได้เล่า และให้เราได้เดากันเองว่าท่านชอบอยู่ที่ไหนมากกว่ากัน
ความชอบในยานยนต์และการที่อยากจะเล่าความเป็นไปในการใช้ชีวิตในช่วงนั้นให้กับคุณย่าผมทราบ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ท่านเขียนเล่าเรื่องต่าง ๆ อย่างละเอียดเข้าใจง่าย ให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ในช่วงนักเรียนของท่าน
คุณพ่อใช้ทักษะจากความคิดถึงคุณย่าในเมืองไทย เขียนหนังสือเกี่ยวกับรถยนต์หลังกลับอยู่บ้านเกิด
ช่วงผมวัยรุ่น ท่านจะพาผมขับรถไปทั่วประเทศไทย แทบทุกจังหวัดเห็นจะได้ จากเชียงรายกลับมากรุงเทพฯ พอมาถึงก็จะมีบทความหนึ่งวันกับพันกิโล ออกมาตามหนังสือหรือวารสารที่ท่านเขียนในช่วงเวลานั้น ๆ
การขับรถให้คุณพ่อ เป็นสิ่งที่มีค่าที่หาอะไรมาแทนไม่ได้ การเรียนรู้ในการเบรค การเข้าโค้งกาะเลาะลัดตัดขุนเขาต่าง ๆ อย่างนุ่มนวล หรือแม้แต่การทำความเข้าใจในฟิสิกล์ของรถแต่ละคันก็ถูกถ่ายทอดออกมาจากการขับรถให้คุณพ่อนั่งในแต่ละครั้ง
โดนดุบ้าง โดนติบ้าง ตามภาษาที่ผมกำลังเรียนรู้กับคนที่ใช้ชีวิตและลมหายใจเข้าออกกับรถยนต์มาทั้งชีวิต
ส่วนคุณธัญญาลักษณ์ หรืออาลอง ภรรยาของท่านก็จะถูกสอนเรื่องการหาที่จอดรถให้ถูกใจคนนั่ง จอดใกล้แต่ไม่ได้ร่มเงาไม้ก็อาจจะไม่เป็นที่ถูกใจ หรือจอดไกลแต่ร่มบางครั้งท่านก็ขี้เกียจเดิน ออกจะเอาใจลำบากพอสมควรแต่ก็เต็มไปด้วยอารมณ์ขำหลังจากการจอด
เครดิตภาพ https://www.kaidee.com/product-354338138
รถรุ่นแรก ๆ ที่เราทดสอบ ไม่มี ABS ไม่มีเกียรอัตโนมัติ ไม่มีถุงลมนิรภัย เครื่องยนต์หัวฉีดจะถยอยเข้ามาในยุคหลัง ๆ รถยนต์ในท้องถนนไทยส่วนใหญ่ยังเป็นระบบคาบูเรเตอร์ ตั้งจานจ่ายไฟกันเอง บางรุ่นที่นำมาทดสอบไม่มีพวงมาลัยเพาเวอร์เสียด้วยซ้ำ ก็ได้กล้ามกันไปทั้งพ่อและลูกถ้าต้องยูเทรินกันบ่อย ๆ
เฉกเช่นเดียวกับท้องถนนในสมัยนั้น ทางกลับรถยกระดับยังไม่มี ข้ามทางหลวงใหญ่ ๆ ยังใช้การเข้าขวาเพื่อรถกลับรถเสียมาก
อย่างไรก็ดี ผมได้เห็นการหยุดนิ่งของสหรัฐอเมริกาและการกวดไล่ตามของไทยอย่างไม่หยุด ระหว่างการไล่กวด ก็ไล่แก้กันไปตามวีถีพัฒนาแบบเรา ๆ
เครดิตภาพ: https://www.thailand-business-news.com/
การทดสอบรถกับคุณพ่อนั้น จะไม่มีการทดสอบความเร็วสูงสุด ความเร็วเฉลี่ยในการขับทดสอบจะอยู่ที่ 120 km ต่อชั่วโมง จะมีแตะ 140 km บ้างในบางทีกันง่วง แต่ก็จะกลับมาอยู่ที่ 110-120 โดยตลอด
ความเร็วสูงสุดคือการสูญเสียสูงสุด ใช้น้ำมันสูงสุด ใช้เบรคสูงสุด ใช้กำลังเครื่องสูงสุด และที่สุดอาจเป็นการสูญเสียสูงสุดคือชีวิตผู้ทดสอบและเพื่อนร่วมทาง
สำหรับที่ใช้ในท้องถนนทั่ว ๆ ขับไปทำงาน รับส่งลูกหลาน หรือเที่ยวทางไกลบ้างในบางครั้ง ไม่มีความจำเป็นใด ๆ เลยที่ต้องใช้หรือเสนอให้ทราบถึงความเร็วสูงสุด ออกจะเป็นค่านิยมที่ผิดด้วยซ้ำ
ปัญหาของอุบัติเหตุบนท้องถนนไทยนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะคนไทยไร้วินัยเป็นจุดใหญ่ หากจะเป็นเพราะเราไม่มีการกวดขัน จับกุมผู้ทำผิดวินัยอย่างเคร่งครัด
คนไทยที่ต่างตำหนิกันว่าไร้วินัยในการขับรถ แต่เมื่อมาใช้ชีวิตในอเมริกาก็ต่างขับรถ ถูกกฏ ถูกวินัย มองเข็มไมล์ว่าความเร็วไม่เกินกำหนดอยู่ตลอด คุณพ่อผมให้ความคิดเห็นตรงนี้ว่าเป็นเพราะคนมีวินัยส่วนใหญ่จะกลืนคนส่วนน้อยที่ไร้วินัยให้ทำตามวินัย
แต่ในความคิดผมคิดว่าส่วนใหญ่ทีเดียวน่าจะเป็นผู้คุมกฏหมายที่เข้มและค่าปรับที่แรง อีกส่วนหนึ่งก็ทำกันจนเป็นวัฒนธรรม ทำตามกันมาเช่นหยุดรถให้คนข้าม สลับการให้ทางซ้ายคัน ขวาคันเมื่อต้องเข้าร่วมทาง
แต่หลายครั้งผมอดที่จะโทษไปที่ระบบมากกว่าจะโทษที่ตัวบุคคล
ยอดขายรถในประเทศไทยก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ อาจจะมีชะงัดชลอตัวอยู่บ้างก็ตามภาวะเศรษฐกิจ แต่แนวโน้มก็ยังเพิ่มขึ้น การลงทุนในการสร้างถนนหนทางก็เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี ผมเชื่อว่าสิ่งที่ควรเพิ่มตามความเจริญของประเทศอื่นการพัฒนาทักษะในการใช้รถของประชาชน เพื่อไม่ให้การมีรถมากทำให้เกิดอุบัติเหตุคนบาดเจ็บล้มตายมากขึ้นตาม
ถ้าคุณพ่อผมได้มีโอกาสกลับมาเห็น อยากได้ยินท่านพูดว่า การใช้รถใช้ถนนของคนไทยนี่เปลี่ยนไปมาก ปลอดภัยขึ้น เห็นแก่ส่วนรวมมากขึ้น คิดไกลขึ้น
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…