สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานข่าวว่า กลุ่มพันธมิตร เรโนลต์-นิสสัน-มิตซูบิชิ ร่วมลงเงิน 200 ล้านเหรียญ ราว 6,000 ล้านบาท เพื่อเสาะหานักพัฒนาเทคโนโลยี ที่มีแววในการพัฒนารถยนต์สำหรับยุคใหม่ เข้าเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
ซีอีโอ คาร์ลอส โกสน์ Carlos Ghosn ให้สัมภาษณ์ในงาน ซีอีเอส ที่ ลาสเวกัส ว่า เงินลงทุนดังกล่าวมาจาก เรโนลต์ และ นิสสัน เจ้าละ 40% และอีก 20% จากมิตซูบิชิ เพื่อช่วยในการพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันกับยุคสมัย และอาจก้าวล้ำค่ายรถยนต์คู่แข่งอื่นๆ ให้ได้
อุตสาหกรรมรถยนต์ เริ่มต้นจากการที่มีผู้ใช้รถยนต์เป็นเจ้าของ และก้าวมาถึงการให้บริการการจ่ายค่าบริการในการใช้านแต่ละครั้ง pay-per-use services อย่างเช่น อูเบอร์ เช่นเดียวกับระบบการแลกเปลี่ยนกันใช้งาน หรือ car-sharing ซึ่งควบคู่ขนานไปกับการเปลี่ยนถ่ายรถยนต์พลังงานเชื้อเพลิง ไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า และยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง
ค่ายรถยนต์หลายค่ายต่างพากันกังวลกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี บางค่ายก็ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นใหม่ ดังนั้น เพื่อช่วยในการเร่งขั้นตอนการทำงาน หลายค่ายต่างก็พากันค้นหาวิธีการใหม่ๆ ก้าวล่วงไปถึงการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ ด้วยเงินลงทุนของตนเอง
ค่ายรถยนต์อื่นๆ ต่างก็ใช้วิธีการเช่นเดียวกันนี้ โดย บีเอ็มดับเบิลยู ลงทุนในกองทุน ไอเวนเจอร์ iVentures fund ด้วยเงินก้อนใหญ่ 600 ล้านเหรียญ ราว 18,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเครือข่ายระบบแลกเปลี่ยนการใช้งาน
เช่นเดียวกับ เจเนอรัล มอเตอร์ ที่ลงทุน 240 ล้านเหรียญ ราว 7,200 ล้านบาท กลุ่มพีเอสเอ เฟอโยต์ 100 ล้านยูโร ราว 4,000 ล้านบาท ในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ลักษณะเดียวกัน
ในการร่วมลงทนุครั้งนี้ เครือ เรโนลต์-นิสสัน-มิตซูบิชิ ต้องการให้ผลงานที่ได้ เป็นผลงานของทั้งกลุ่ม ไม่แต่เฉพาะยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งเท่านั้น โดยแต่ละค่ายที่ได้ลงทุนพัฒนาไปก่อนหน้านี้ จะนำเงินลงทุนนั้น กลับมารวมอยู่ในเงินลงทุนก้อนใหม่ รวมทั้งผลงานที่ได้ริเริ่มพัฒนาไปแล้วด้วยเช่นกัน
บริษัท โตโยต้า …