นิสสัน เริ่มผลิต จู๊ค ในอังกฤษ

ค่ายนิสสัน เริ่มสายการผลิต จู๊ค เจเนอเรชั่นที่ 2 ในโรงงาน ซุนเดอร์แลนด์ Sunderland ประเทศอังกฤษ หลังแนะนำเจเนอเรชั่นแรก มาตั้งแต่ปี 2553 หลังการพัฒนาสายการผลิตมูลค่า 100 ล้านปอนด์ ราว 4,000 ล้านบาท เพื่อจำหน่ายในตลาดยุโรปเท่านั้น

แม้ว่าในอีกหลายตลาดในต่างประเทศ ค่ายนิสสัน มีการปรับเปลี่ยนรุ่นรถที่ออกจำหน่าย เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งค่ายนิสสัน เอง ก็มีการปรับปรุงการบริหารงานภายใน และเพิ่งจะแต่งตั้ง ซีอีโอ คนใหม่ เมื่อเร็วๆ มานี้เอง

ในปี 2560 ยอดจำหน่ายของ จู๊ค ในสหรัฐลดลงเหลือ 10,157 คัน จากปีก่อนหน้าที่จำหน่ายได้ 19,577 คัน ลดลง 48.11% ขณะที่รุ่นปรับโฉม ยังคงมียอดจำหน่ายในตลาดยุโรป ด้วยดี โดยในปี 2561 ขายได้ถึง 95,000 คัน อันทำให้ต้องรีบพัฒนารถในเจเนอเรชั่นที่ 2 สำหรับตลาดยุโรป โดยเฉพาะ รวมทั้งเริ่มการประกอบในอังกฤษ แม้ว่า ประเทศอังกฤษ จะยังมีปัญหาการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป ซึ่งจะถึงกำหนดเส้นตายในวันที่ 31 ตุลาคม นี้

นิสสัน ใช้วิศวกรใน ศูนย์ค้นคว้าและพัฒนา ของยุโรป ที่เมือง แพดดิงตั้น Paddington ลอนดอน ออกแบบพัฒนารถในเจเนอเรชั่นที่ 2 นี้ โดย 70% ของรถจากสายการผลิต จะป้อนตลาดยุโรป และส่วนที่เหลือ จะเป็นประเทศใกล้เคียง

นับแต่ปี 2553 จนถึง 2561 จู๊ค ออกจำหน่ายในตลาดอย่าง สหรัฐ, แคนาดา, ยุโรป, ญี่ปปุ่น, อินโดนีเชีย, ชิลี และ ศรีลังกา โดยใช้ฐานนการผลิต 2 แห่ง โรงงาน ซุนเดอร์แลนด์ สำหรับตลาดยุโรป และโรงงานในญี่ปุ่น สำหรับตลาดที่เหลือ ในรูปแบบของครอสโอเวอร์ ออลวีลไดร๊ฟ

นอกเหนือจากการปรับปรุงสายการผลิต ในโรงงานซุนเดอร์แลนด์ เพื่อให้สามารถประกออบรถยนต์ที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มขึ้นแล้ว นิสสัน ยังได้จัดการฝึกสอนพนักงาน ให้มีความชำนาญในการประกอบรถยนต์ ด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพิ่มหุ่นยนต์รุ่นใหม่ 27 ชุด ที่สามารถตัด ขึ้นรูป เหล็กแรงดึงสูง ให้ได้ตามการออกแบบของวิศวกรโดยเฉพาะ รวมทั้งปรับปรุงแผนกสี ที่สามารถพ่นสีทูโทน ได้ถึง 15 เฉดสีที่แตกต่างกัน เพื่อให้ลูกค้าเลือกใช้ได้ตามความต้องการ

จู๊ค รุ่นใหม่ มาด้วยเครื่องยนต์เบนซิน 3 สูบ 1.0 ลิตร เทอร์โบ ดีไอจี-ที DIG-T ให้กำลัง 117 แรงม้า ด้วยพื้นฐานโครงสร้างของกลุ่มในเครือ เรโนลต์-นิสสัน-มิตซูบิชิ ซีเอ็มเอฟ-บี CMF-B platform

Facebook Comments
ลุงอ๊อด

Recent Posts