ทีมเยาวชนจากประเทศไทย พิชิต 3 รางวัลชนะเลิศ และกวาดรางวัลมากที่สุดจากการแข่งขันเชลล์อีโค-มาราธอน เอเชีย โดยปีนี้มีทีมนักเรียนนักศึกษากว่า 120 ทีม จาก 17 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งตะวันออกกลางและออสเตรเลียเข้าร่วมการแข่งขัน ณ สนามลูเนต้า พาร์ค ใจกลางกรุงมะนิลา
ความโดดเด่นของการแข่งขันในปีนี้ นอกจากจะมีประเทศที่เข้ามาแข่งขันหน้าใหม่เป็นปีแรก นั่นคือ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ โอมาน และ ซาอุดิอาระเบีย ทีมที่ชนะในปีนี้ได้สร้างสถิติใหม่ในการแข่งขันด้วยระยะทางที่ไปได้ไกลขึ้นถึง 5 ทีม โดยในปีนี้มีการเลือกใช้เชื้อเพลิงที่แตกต่างกันถึง 7 ประเภทด้วยกัน แต่ละทีมสามารถส่งรถประหยัดพลังงานเข้าร่วมการแข่งขันได้ 2 ประเภทได้แก่ ประเภท Prototype รถต้นแบบในอนาคตสร้างสรรค์โดยอาศัยหลักการพลศาสตร์และการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ และประเภท Urban Concept การออกแบบยานยนต์ที่ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมีรูปลักษณ์คล้ายกับรถยนต์ในปัจจุบัน รถทั้งสองประเภทสามารถเลือกเชื้อเพลิงได้ตามต้องการ
ผลการแข่งขันจะวัดว่า แต่ละทีมได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ในการออกแบบรถที่ประหยัดน้ำมันสูงสุดในสภาพแวดล้อมจริง โดยตัดสินกันที่รถของทีมที่วิ่งได้ระยะทางไกลที่สุดด้วยน้ำมันเพียงหนึ่งลิตร หรือเทียบเท่าการใช้พลังงานไฟฟ้าหนึ่งกิโลวัตต์ หรือ ไฮโดรเจนหนึ่งลูกบาศก์เมตรและทีมที่ชนะในปีนี้ได้สร้างสถิติใหม่ในการแข่งขันด้วยระยะทางที่ไปได้ไกลขึ้นถึง 5 ทีม
ทีมเยาวชนไทยกวาด 3 รางวัลชนะเลิศ พร้อมสร้างสถิติใหม่
ทีม NSTRU Eco-Racing จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช สามารถสร้างสถิติใหม่ประเภทรถยนต์ต้นแบบแห่งอนาคต ซึ่งใช้เชื้อเพลิงแบตเตอรี่ ด้วยระยะทาง 451 กิโลเมตร/กิโลวัตต์-ชั่วโมง ทีม ATE 1 จากโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ ช่างกล ขส.ทบ. ชนะเลิศประเภทรถต้นแบบแห่งอนาคต ซึ่งใช้เชื้อเพลิงเบนซิน ด้วยระยะทาง 1490 กิโลเมตร/ลิตร ขณะที่ทีมVIRGIN จากวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร คว้ารางวัลชนะเลิศในปีนี้ ประเภทรถต้นแบบแห่งอนาคต ใช้เชื้อเพลิงเอทานอล สามารถทำสถิติวิ่งได้ในระยะทางไกลที่สุดในการแข่งขัน 1,572 กิโลเมตร/ลิตร ถือเป็นสถิติสูงสุดในการแข่งขันของปีนี้ และเทียบเท่ากับระยะทางจากกรุงมะนิลาไปยังกรุงโฮจิมินท์ ซิตี้
“ทีมของเราต้องการท้าทายตัวเองด้วยประเภทของเครื่องยนต์ เราตัดสินใจที่จะสร้างรถใหม่ด้วยวัสดุคาร์บอน ไฟเบอร์ ซึ่งทำให้รถมีน้ำหนักเบา” นายประมวล รอนยุทธ์ อาจารย์ที่ปรึกษาของทีมสกลนคร กล่าว “เราภูมิใจเป็นอย่างมากในผลการแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชียเป็นเวทีการแข่งขันนานาชาติที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่สนใจสร้างรถประหยัดพลังงานได้เข้ามาแข่งขันพร้อมทั้งได้เรียนรู้จากทีมของประเทศอื่นๆ อีกด้วย”
นอกจากนี้ อีก 3 ทีมของประเทศไทย ยังคว้ารางวัลรองชนะเลิศในรถยนต์ประเภทต้นแบบแห่งอนาคต ใช้เชื้อเพลิงดีเซล ได้แก่ทีมปัญจะ จากวิทยาลัยเทคโนโลยีช่างฝีมือปัญจวิทยา ด้วยระยะทาง 530.7 กิโลเมตร/ลิตร ทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เชื้อเพลิงเอทานอล ด้วยระยะทาง 458.8 กิโลเมตร/ลิตร ทีมวิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์ ใช้เชื้อเพลิงประเภทแบตเตอรี่ไฟฟ้า ด้วยระยะทาง 368.7 กิโลเมตรต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง และทีมวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองได้ที่สองประเภทรถที่คล้ายกับรถปัจจุบันจากเชื้อเพลิงประเภทเบนซิน ด้วยสถิติ 76.9 กิโลเมตร/ลิตร
มร. นอแมน คอช ผู้อำนวยการด้านเทคนิค เชลล์ อีโค-มาราธอน กล่าวว่า “ผมมีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่เห็นจำนวนทีมและจำนวนประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันกันมากขึ้นในปีนี้ เป็นที่น่าประทับใจว่า มีผู้เริ่มการแข่งขันใหม่จากประเทศ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ โอมาน และ ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งสามารถลงแข่งในสนามและทำสถิติได้ดี ผมยินดีต้อนรับทีมใหม่ๆ ที่จะเข้าร่วมการแข่งขันอีกในปีหน้า”
5 ทีม สามารถสร้างสถิติใหม่ในการแข่งขัน ได้แก่ญี่ปุ่น อินโดนีเชีย เวียตนาม มาเลย์เชีย และประเทศไทย
ทีม Hyogo Prefectural Tajima Technical Institute จากญี่ป่น ซึ่งใช้เชื้อเพลิงดีเซล ลงแข่งขันในประเภทรถต้นแบบในอนาคต Prototype สามารถทำสถิติใหม่วิ่งได้ระยะทาง 1,245 กิโลเมตร/ลิตร ซึ่งวิ่งได้ไกลมากเป็น 2 เท่าของผู้ชนะในประเภทเดียวกันของปีที่แล้ว รวมถึงทีม Institut Teknologi Sepuluh Nopember จากอินโดนีเซีย ซึ่งใช้เชื้อเพลิงดีเซล สามารถทำสถิติวิ่งได้ระยะทาง 153 กิโลเมตร/ลิตร ในประเภทรถยนต์มีรูปลักษณ์คล้ายรถที่ใช้ในปัจจุบัน
อีก 3 ทีมทีสามารถทำสถิติใหม่ในการแข่งขันด้วยระยะทางที่วิ่งได้ไกลขึ้น ได้แก่ ทีม Gold Energy of Lac Hong University, จากเวียดนามซึ่งชนะการแข่งขันในประเภทรถยนต์มีรูปลักษณ์คล้ายรถที่ใช้ในปัจจุบัน ใช้เชื้อเพลิงเอทานอล ในระยะทาง 164 กิโลเมตร/ลิตร ขณะที่ ทีม Team NSTRU Eco-Racing จากมหาวิทยาลัยราภัฏนครศรีธรรมราช ประเภทรถยนต์ต้นแบบแห่งอนาคต ซึ่งใช้เชื้อเพลิงแบตเตอรี่ ด้วยระยะทาง 451 กิโลเมตร/กิโลวัตต์-ชั่วโมง และทีม จากมหาวิทยาลัย Universiti Teknologi Mara (UiTM) Shah Alam ประเทศมาเลเซีย สามารถทำสถิติใหม่ดีขึ้นจากสถิติเดิมที่เคยทำไว้เมื่อปีที่แล้ว ในประเภทรถยนต์ต้นแบบแห่งอนาคต ซึ่งใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ด้วยระยะทาง315 กิโลเมตร/ลูกบาศก์เมตร
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…