โตโยต้าภูมิใจ
ที่ได้เติบโต
ร่วมกับสังคมไทย
(วุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์)
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่
เรื่องนี้ ผมเขียนเพื่อลงพิมพ์ในประชาชาติธุรกิจ แต่อาจจะไม่แพร่หลายไปถึงบางท่าน ที่เป็นนักเลงรถยนต์
ผมก็เลยคิดว่า เอามาลงรวมทั้งสองตอนไว้ ณ ที่นี้เลยจะดีกว่า
คือตอนแรก ผมเขียนเรื่องเกี่ยวกับ HHO หรือระบบเสริมเชื้อเพลิง ให้กินน้ำมันน้อยลง ที่กำลังเริ่มมีคนพูดกันมากในบ้านเรา
ผมรู้ดีว่า เป็นอุปกรณ์ที่ทางสหรัฐอเมริกาคิดค้นพัฒนากันต่อเนื่องมานาน แต่ยังถูกกีดกันทั้งจากรัฐ และจากสื่อ
ผมก็เขียนเล่าถึงวิธีการทำ และเรื่องที่เกี่ยวข้องมาตลอด จนถึงตอนนี้ ก็เริ่มเข้าถึงเรื่องการต้องแก้ไขระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมหัวฉีด เพื่อให้ประหยัดเชื้อเพลิงได้จริง ด้วยว่า ผมเองก็ศึกษาเรื่องไฮโดรเจนมาพอประมาณ
อยากแสดงความคิดเห็นผ่านอินเตอร์เน็ตบ้าง เท่านั้นแหละครับ
ไม่ใช่ว่า ผมไม่เชื่อว่า HHO สามารถช่วยลดอัตราสิ้นเปลืองได้จริง
ไม่ใช่ว่า ผมเห็นว่า คนไทยหลอกลวงกันเอง เพราะโดยแท้จริงแล้ว คนไทยไม่ได้หลอกหรอกครับ อุปกรณ์ตัวนี้ช่วยลดอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงลงได้จริง
เพียงแต่ไม่ใช่อุปกรณ์ที่ถือกำเนิดมาจากหัวคิดของคนไทยเท่านั้นเอง
เป็นอุปกรณ์ที่เกิดมานานแล้วด้วยซ้ำไป ในต่างประเทศ เราเพิ่งเอาเข้ามาใช้ แต่อาจจะคิดเอาเองว่า เมื่อประกอบขึ้นเอง ก็ถือเสียว่าทำเองเลยก็แล้วกัน อันเป็นความคิดที่ผมไม่เห็นด้วย ก็เท่านั้นเอง
ไฮโดรเจนนั้น เป็นสิ่งที่ผมศึกษามานานเหมือนกัน และรู้ดีว่า ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ที่แน่แน่ ก็ตั้งแต่เรียนหนังสือวิชาบำรุงรักษาอากาศยาน ที่รับรู้เลยว่า ไฮโดรเจนเหลว เป็นเชื้อเพลิงเครื่องยนต์จรวด และอีกไม่นานนี้ เมื่อน้ำมันขาดหายไปจากโลก ไฮโดรเจนก็จะมีบทบาทมากขึ้น ในการขนส่งทางอากาศ ที่โลกจะหันไปใช้เครื่องจรวดแทนเครื่องยนต์ไอพ่นหรือเจ็ท
คุณอาจจะถามตัวเองว่า
ถ้า HHO ดีจริง ทำไมบริษัทรถยนต์เขาไม่เอามาติดตั้งให้กับรถยนต์ เพราะราคาต้นทุนก็ถูกมาก ?
เขาไม่อยากขายรถยนต์ได้มากมากหรอกหรือ ถ้าเขาสามารถทำรถยนต์ให้ประหยัดเชื้อเพลิงได้ดีอย่างที่ HHO ช่วยได้ ?
ทำไม ไม่มีบทเรียนแบบนี้ ในสถานศึกษา ?
ทำไม สื่อมวลชนไม่ลงข่าวเรื่องนี้กันบ้างเลย ?
ก็นี่ไงละครับ สำหรับคำตอบคำถามสุดท้าย
และผมอยากจะบอกว่า ผู้สงสัยเหล่านั้น ไม่ได้โง่หรอกครับ แต่คนที่งี่เง่านะมีครับ
แล้วผมก็อยากจะบอกอีกด้วยว่า บริษัทผู้ผลิตรถยนต์นั้นยิ่งใหญ่ก็จริงอยู่ แต่ไม่ได้มีอิสระที่จะทำได้ทุกอย่าง
และสิ่งที่ผู้ผลิตรถยนต์ทุกบริษัทต้องทำ ก็คือทำตามนโยบายของรัฐ ไม่ใช่เฉพาะแต่ในประเทศไทย หากเป็นรัฐบาลของประเทศเขาเอง ในความต้องการที่ผมไม่รู้จะเรียกว่าอะไร นอกจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงไปโดยเปล่าประโยชน์
คุณลองมองดูรอบรอบตัว ในอดีตที่เพิ่งผ่านมาไม่ถึงเดือนนี้ก็ได้ครับ
ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นสูง แบบเกือบจะไร้เหตุผล และพอเราหันไปใช้แก๊สนานาประดามี รวมถึงความลึกลับของไฮโดรเจนเปิดออกสู่สายตาชาวโลกมากขึ้น ราคาน้ำมันดิบก็เริ่มลดลง แบบไม่มีเหตุผลอีกเช่นกัน
รายได้ของรัฐบาลไทย ส่วนมากมายส่วนหนึ่ง มาจากภาษีน้ำมันเชื้อเพลิง ใช่หรือไม่ ?
รัฐบาลปล่อยให้บริษัทรถยนต์โฆษณากันอย่างดุเดือดเลือดพล่าน ในรูปแบบใด หากไม่ใช่คำว่า Sport Utility ที่วันวันไม่เคยเห็น Sport วันวันรถยักษ์เหล่านี้ มีแต่เดินทางไปงานสังคม งานรัฐมนตรี และไปซื้อของตามศูนย์การค้า
หากไม่ใช่คำว่า ประสิทธิภาพ หรือ Performance ที่เราเอามาคิดกันเองว่า นั่นคือรถยนต์ที่ดี เท่ากับคำว่า สวยงาม เท่ากับคำต่อไปว่า ใหญ่และแข็งแรง มั่นคง อันหมายถึงคำว่า แสดงออก หรือ Show Off และตรงกับความหมาย แรงม้าหรือ Horsepower
คุณดูภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ซีครับ สำหรับแค่รถยนต์ในไทย ที่เราเป็นเพียงประเทศผู้ประกอบรถยนต์ ไม่ใช่ผู้ผลิตรถยนต์ คุณก็จะเห็นว่า ทุกโฆษณา แสดงถึงความเป็นรถยนต์สปอร์ต แม้แต่กระบะหนึ่งตันยังสปอร์ต
มีคันไหน โฆษณาแบบขายกิโลเมตรต่อลิตรบ้างไหม
มีนะครับ อีซูซุ กับโตโยต้า แต่ทำได้ไหม ในชีวิตใช้งานจริง ก็ทำไม่ได้
แต่ก็ยังดี ที่เป็นคนไทยทำโฆษณาชิ้นนี้ขึ้นมา ให้คนไทยได้รับรู้บางสิ่งบางอย่าง ที่รัฐปกปิด เก็บงำเอาไว้ในก้นบึ้งของสมอง
ทุกราย ต้องการให้คุณผลาญเชื้อเพลิง ให้เครื่องยนต์เร่าร้อน และเผาวาล์ว ลูกสูบ น้ำมันหล่อลื่น กับพร้อมที่จะให้อุปกรณ์ในรถของคุณอุดตัน ติดขัด เพราะเขาคิดเพียงว่า เขาจะขายรถยนต์ได้ดีมากขึ้น ซึ่งก็เป็นจริง แต่ผมว่า อีกไม่นานหรอกครับ
เพราะเป็นการมองสั้นสั้น ไม่ไกลพอของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ที่เอาตัวเอง เอาความต้องการของเขาเองมากำหนดชีวิตผู้คน ให้ต้องเดินไปตามทางที่เขาต้องการ อันเป็นการทำลายเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ในโลกใบนี้ ของลูกหลานของเขาเอง
ผู้ผลิตรถยนต์ รู้ดีอยู่แล้ว ว่ารถยนต์ที่เขาออกแบบผลิตขึ้นมานั้น ทำออกมาอย่างไร้คุณค่าขาดประสิทธิภาพอันควร
ดูเอาเองก็ได้ครับ กับอุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง อันเป็นสิ่งจำเป็นตามกฎหมาย ที่ร่วมกันคิด ร่วมกันออก ระหว่างรัฐ กับผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งเราเรียกกันว่า Catalytic Converter หม้อกรองไอเสีย หรือ CAT นั่นแหละครับ
จำเป็นไหม สำหรับผู้บริโภคที่ต้องเสียเงินเสียทองจ่ายไปกับค่ารถยนต์ และเปลี่ยนเมื่ออุดตัน
ในเมื่องานที่เจ้า Catalytic นี้ทำ ก็เพียงแค่เผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนเกิน ที่ควรจะเผาผลาญหมดก่อนภายในเครื่องยนต์ ที่เผาไม่หมดเพราะอะไร
ก็เพราะการออกแบบที่แสนจะไม่เข้าท่าของเครื่องยนต์เองนั่นนะซีเล่า
หากผมจะพูดว่า ระบบหัวฉีดเชื้อเพลิง ถูกออกแบบมาเพื่อลดประสิทธิภาพการเผาไหม้ของกระบอกสูบ ก็อาจจะได้ แต่ไม่ตรงนัก
เพราะแม้ระบบหัวฉีดเชื้อเพลิง จะจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับแต่ละกระบอกสูบอย่างมีสัดส่วน ดูตามเส้นกราฟแล้วก็จะนิ่ง ไม่วอกแวกไปมาเหมือนคาร์บิวเรเตอร์ก็จริงอยู่ หากแต่น้ำมันที่จ่ายให้กับกระบอกสูบ กลับมีมากเกินไป จนต้องเอาไปเผาไหม้อีกที ในหม้อกรองไอเสีย หรือ Catalytic Converter ใช่หรือไม่
คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานของระบบหัวฉีด ก็ล้วนแล้วแต่โปรแกรม ที่อาจจะเรียกได้ว่า ป้องกันการใช้อุปกรณ์ตลาดหลังการขายรถยนต์ไปแล้ว ในการช่วยลดอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง เพราะมีออกซิเจนเซนเซอร์ ที่คอยจับดูว่า มีออกซิเจนค้างอยู่ในไอเสียเท่าไร และเพิ่มการจ่ายเชื้อเพลิงให้ทันทีที่ออกซิเจนมีเหลือมากเกินกว่าโปรแกรมจะถูกตั้งไว้
หากคุณสงสัยว่า บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่ใหญ่ทำอย่างนั้นทำไม ก็ทำเพราะเขารู้ดีว่า น้ำมันเชื้อเพลิงที่หลงเหลือจากการเผาไหม้ จะเป็นตัวทำให้เครื่องยนต์ค่อยค่อยทรุดโทรมลงไป หลังจากหมดเวลารับประกันคุณภาพแล้ว คุณจะเชื่อหรือเปล่า
ในสหรัฐอเมริกา เขาเรียกคุณสมบัตินี้ว่า Detroit Fever ครับ
และเชื่อกันว่า ปัญหาการจำกัดระยะทาง เพื่อคงอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงให้สูงอยู่นี้ ยังคงเติบโตเรื่อยขึ้นมาทุกปี ด้วยว่าบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รู้ดีว่า สามารถขายแรงม้าได้ มากกว่าขายระยะกิโลเมตรต่อลิตรหรือไมล์ต่อแกลลอน
แคทาลิติก คอนเวิร์ทเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ซ่อนความไม่ได้เรื่อง ในการเผาไหม้ของกระบอกสูบเอาไว้อย่างแนบเนียน
และที่เราไม่สามารถจะได้ระยะทางต่อจำนวนเชื้อเพลิงสูงอย่างที่เราพึงใจ พอใจ ก็เพียงเพราะรถของเราถูกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมเอาไว้ ไม่ให้ให้ความประหยัดอย่างที่เราควรจะได้รับนั่นเอง
ทุกครั้ง หรือทุกเมื่อ ที่คุณทำอะไรกับรถยนต์ ให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อยลง ได้ระยะทางเพิ่มขึ้นต่อหน่วยของเชื้อเพลิง คอมพิวเตอร์จะจับได้ไล่ทันในไม่ช้า และปรับให้อัตราสิ้นเปลืองกลับไปเป็นสิ้นเปลืองอย่างเดิม
เรื่องนี้ ต่อให้คนของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์เอง ก็ยังต้องยอมรับ
มาสด้า เซลส์ ปร…
มูลนิธิกลุ่มอีซ…
“มหกรรมยานยนต์ …