หลังจากงานเปิดตัว FordFocus TDCi PowerShift เมื่อปลายปีที่แล้ว ในงานฟอร์ดได้นำรถมาโชว์ให้ทดลองนั่งเท่านั้นโดยมีมิกโก เฮอร์โวเนน นักขับมืออาชีฟมาเป็นผู้ขับให้
จนกระทั่งบ่ายวันที่ 9 กุมภาพันธ์ หลังจากงานเปิดตัว FordRenger อาลองโทรมาถามว่าวันที่ 16-17 นี้ว่างมั้ยจะให้ไปขับ FordFocus ตัวใหม่ ตกปากรับคำทันทีแบบไม่ต้องคิดว่า “ไปครับ” โดยที่ตัวผมยังไม่รู้เลยว่าต้องไปที่ไหน หลังจากนั้นก็เงียบหายไป
เสาร์ต่อมาก่อนเข้ารายการที่ผมจัดเป็นประจำทางคลื่น AM. 1269 เวลา 16.00 – 17.00 น. อาลองโทรมาถามว่ารู้กำหนดการทุกอย่างรึยัง ผมก็ตอบอย่างเต็มปากเต็มคำว่า “ไม่ทราบเลยครับ” ปลายสายพูดสวนกลับว่า “แล้วทำไมไม่โทรมาถาม”
ผมก็ตอบว่ากะว่าจะเข้าไปเอาในวันงานล้างตู้เย็นของอาหมูที่บ้านสวนสยามในบ่ายวันอาทิตย์นั้นทีเดียวเลย อาลองเลยบอกว่าเดี๋ยวจะส่งข้อมูลไปให้ทางอีเมล์ก่อนแล้วกัน ก็เลยได้ทราบว่าจะได้มีโอกาสขับไปเที่ยวไกลถึง อ.ด่านซ้าย จ,เลย ทีเดียว แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าแล้วจะตื่นไหวมั้ยเนี่ย เล่นนัดกันซะเช้าตั้งแต่ 7 โมงครึ่งแน่ะ ว่าแล้วเราจะไปยังไงดีนะ ที่จอดรถก็ไม่มี แล้วจะเอาไปไว้ไหนละเนี่ย เซ็งจัง !!! คิดไม่ตกเลย เก็บไว้คิดเป็นการบ้านดีกว่า …
หลังจากจัดรายการเสร็จก็ไม่มีเวลาให้คิดมาก เพราะต้องรีบกลับมาทำงานวิจัยที่ค้างอยู่จนหลับคาโต๊ะกันเลยทีเดียว เช้าวันอาทิตย์ ฮิฮิ ก็ยังไม่ตื่น กว่าจะตื่นอีกทีก็ตอนบ่ายแก่ๆ ตายแล้วต้องรีบแล้วสิเรา เดี๋ยวจะไปไม่ทันงานเลี้ยงล้างตู้เย็นที่บ้านอาหมูซะแล้ว โอ๊ะ โอ ไปทันเวลาพอดีเลย ไปถึงก็พร้อมร่วมงานพอดี เม้าท์กันเพลินไปหน่อย โทรศัพท์ดังตั้งหลายรอบ เอ๊ะ! ใครเอ่ย ว้าเห็นชื่อแล้วก็ไม่อยากรับเลย (555 คนที่คุณก็รู้ว่าใคร)
งานเข้าแล้วสิกว่าจะได้เวลากลับกันก็เลยเที่ยงคืนไปแล้ว กระเป๋าก็ยังไม่ได้จัด ทำไงดี ง่วงด้วย หลับก่อนดีกว่า เช้าค่อยตาลีตาเหลือกมาก็ยังทัน
เช้าวันสำคัญก็มาถึงจนได้ ตื่นเต้นมากจนนอนไม่หลับ ตื่นซะเช้าเชียวเรา ค่อยๆอาบน้ำเก็บเสื้อผ้าก็ยังมีเวลาอีกเหลือเฟือ นั่งรถเมล์สาย 92 ไปยังที่นัดหมาย เอ๊ะว่าแต่ค่ารถเมล์เดี๋ยวนี้เท่าไหร่แล้วนะ … 8 บาท … ไม่ได้นั่งตั้งนาน อุ๊ยไม่ใช่ นั่งเหมือนกัน แต่นั่งรถเมล์ฟรีของรัฐบาลนะ ก็ต้องช่วยชาติประหยัดไว้ก่อนไง สุดท้ายก็ถึงยังที่หมายแต่สบายกระเป๋าผิดกัน หลังจากใช้เวลาเพียงครึ่งชั่วโมงจากบางกะปิไปถึงยังที่หมาย ณ ปั๊มปตท. ร.1 รอ. ริมถนนวิภาวดีรังสิต ก่อนเวลานัดซะอีก เมื่อเดินไปถึงยังจุดนัดก็พบกับรถ FordFocus จอดเรียงรายกันอยู่ 5 คัน
หลังจากรับประทานอาหารเช้าและรอผู้ร่วมชะตากรรมมากันครบทีมทางทีมงานของฟอร์ดก็ได้มีการทำProduct Brief
โดยคุณเกษม มาไกรเลิศ (Brand and Product Strategy Manager) ได้มากล่าวถึงรายละเอียดในการจัดงานทดลองขับในครั้งนี้ครับหลังจากนั่งฟังรายละเอียดดังกล่าวมาแล้วก็ได้มาถึงเส้นทางที่เราจะต้องไปกันในครั้งนี้เสียทีสรุปว่าเราจะต้องเดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 หรือพหลโยธิน เลี่ยงเมืองสระบุรี โดยแวะพักจุดแรกที่ ปตท.พุแคแล้วใช้ทางหลวงหมายเลข21วิ่งยาวไปจนถึงอ.ศรีเทพแวะเติมน้ำมันและวัดอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปั๊ม ปตท.ศรีเทพแล้วเดินทางต่อเพื่อไปแวะทานอาหารเที่ยงที่ร้านไก่ย่างบัวตองซึ่งอยู่เลยแยกวิเชียรบุรีไปแล้วเดินทางต่อมุ่งหน้าสู่เพชรบูรณ์เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงชนบท2215ที่แยกบุ่งน้ำเต้าเข้าไปที่สนามบินเพชรบูรณ์เพื่อทำการทดสอบรถในรูปแบบควอเตอร์ไมล์ เปรียบเทียบระหว่างเกียร์ธรรมดากับเกียร์อัตโนมัติ
เสร็จแล้วออกเดินทางต่อย้อนกลับทางเดิมไปที่ทางหลวง 21 ขึ้นไปทางหล่มสักแล้วเลี้ยวขวาเข้าบายพาสหล่มสัก มุ่งหน้าไปตามทางหลวง 203 ไปเลี้ยวซ้ายอีกทีที่แยกโป่งชีเข้าทางหลวงหมายเลข 2014 ไปถึง อ.ด่านซ้าย วิ่งผ่านอำเภอไปตามทางหลวงชนบท 2013 ประมาณ 2 กม. กว่าๆ สังเกตป้ายทางซ้ายมือ “ภูนาคำ รีสอร์ท” ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของเราในวันนี้
ผมได้รถหมายเลข1พร้อมกุญแจก่อนจะขึ้นรถผมจะเปิดฝากระโปรงหน้ารถเพื่อตรวจเช็คความเรียบร้อยแต่ปัญหาก็เกิดขึ้นจนได้คือหาที่เปิดไม่เจอครับก้มดูมุดดูในต่ำแห่นงที่ควรจะอยู่แต่ก็ไม่มีสุดท้ายถึงรู้ว่าต้องใช้กุญแจไขที่ด้านหน้าเลยโดยบิดไปทางซ้ายทีขวาทีถึงจะเปิดได้ครับ
ผมได้รถหมายเลข1พร้อมกุญแจก่อนจะขึ้นรถผมจะเปิดฝากระโปรงหน้ารถเพื่อตรวจเช็คความเรียบร้อยแต่ปัญหาก็เกิดขึ้นจนได้คือหาที่เปิดไม่เจอครับก้มดูมุดดูในต่ำแห่นงที่ควรจะอยู่แต่ก็ไม่มีสุดท้ายถึงรู้ว่าต้องใช้กุญแจไขที่ด้านหน้าเลยโดยบิดไปทางซ้ายทีขวาทีถึงจะเปิดได้ครับ
เมื่อขึ้นไปบนรถประจำตำแหน่งที่นั่งคนขับปรับต่ำแหน่งให้เข้าที่เข้าทางพร้อมคาดเข็มขัดนิรภัยปรับกระจกมองหลังและปรับกระจกมองข้างทั้งสองฝั่งซึ่งเป็นระบบไฟฟ้าเรียบร้อยแล้วก็ถามถึงผู้โดยสารอีก3คนซึ่งเป็นนักข่าวชายวัยกลางคนจากข่าวสดและสองสาวหุ่นดีจากประชาชาติและผู้จัดการรายสัปดาห์ว่าพร้อมรึยังเมื่อทุกคนนั่งประจำที่พร้อมคาดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่งแล้วก็เริ่มออกเดินทางกันเลย
ออกจากปั๊มปตท.ขึ้นสู่โทลเวย์ผ่านการจราจรที่ค่อนข้างหนาแน่น Ford Focus สามารถแทรกเข้าสู่การจราจรได้อย่างสบายๆ สิ่งแรกที่ได้สัมผัสนั่นคือ ระบบกันสะเทือนของรถนั้นถือว่าอยู่ในระดับที่ใช้ได้ โดยการจับการสั่นของขาบริเวณน่องรู้สึกถึงการสั่นเพียงเล็กน้อยส่วนเบาะนั่งที่สามารถจับอาการสั่นของช่องท้องนั้นก็มีไม่มากแสดงว่าเบาะนั้นซับแรงได้เป็นอย่างดีในเรื่องของอัตราเร่งนั้นต้องบอกว่าเครื่อง 2.0 ลิตร TCDI นั้นกดเป็นมาส่วนของความเร็วปลายนั้นบอกได้เพียงว่าเกือบมิดไมล์ อัตราเร่งจาก 0-100 ใช้เวลาเพียง 9.6 วินาที
ระบบส่งกำลังเกียร์อัตโนมัติ พาวเวอร์ชิฟท์ 6 สปีดแบบดูอัลคลัตซ์ (คลัตซ์คู่) นั้นตอบสนองได้เป็นอย่างดี การเปลี่ยนเกียร์ก็เป็นไปได้อย่างนิ่มนวล หากไม่สังเกตก็แทบจะไม่รู้สึกว่ามีการเปลี่ยนเกียร์ไปแล้วโดยสามารถเปลี่ยนเกียร์โดยใช้เวลาเพียง 0.02 วินาที
การควบคุมบังคับเลี้ยวเป็นไปอย่างสะดวกสบาย น้ำหนักพวงมาลัยนั้นให้ความรู้สึกพอดี ไม่เบาและไม่หนักเกินไปด้วยการติดตั้งพวงมาลัยพาวเวอร์แบบ Electric-hydraulic power-assisted steering หรือ EHPAS
ที่นี้เรามาดูรายละเอียดของเครื่องยนต์กันก่อนเครื่องยนต์ดูราทอร์ค เทอร์โบ ดีเซล คอมมอนเรล 2.0 ลิตร 4สูบแถวเรียง DOHC 16 V 1997ccผสานกับเกียร์อัตโนมัติ พาวเวอร์ชิฟท์ 6-สปีด แบบดูอัลคลัตช์ (คลัตช์คู่) ทำให้ฟอร์ด โฟกัสใหม่แตกต่างจากคู่แข่ง คือ เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางรุ่นแรกที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวซึ่งให้สมรรถนะสูง ในรอบเครื่องยนต์ต่ำ และให้อัตราการเร่งที่ดีเยี่ยม
เครื่องยนต์ดูราทอร์ค เทอร์โบ ดีเซล คอมมอนเรล 2.0 ลิตร ของฟอร์ดมาพร้อมเทคโนโลยีหัวฉีดคอมมอนเรล ให้แรงบิดสูง ประหยัดน้ำมัน ขณะเร่งเครื่องเต็มที่เครื่องยนต์สามารถให้อัตราเร่งที่ด้วยแรงบิดสูงสุด 320 นิวตันเมตร และขึ้นสูงไปได้ถึงระดับ 340 นิวตันเมตร ภายในเวลา 8 วินาที ในขณะเร่งแซง ซึ่งสูงกว่าแรงบิดสูงสุดถึง 20 นิวตันเมตร
ให้กำลัง 100 กิโลวัตต์ ที่สำคัญคือ เมื่อขับขี่ในเมืองเครื่องยนต์ดูราทอร์คให้แรงบิดสูงที่รอบเครื่องต่ำจึงประหยัดเชื้อเพลิงได้ดีเยี่ยมเขียนมาถึงตรงนี้ทำให้นึกถึงเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นคือปัญหาของปั้มแรงดันคอมมอนเรลของกระบะดีเซลในบ้านเรานั้นคือตัว SCV วาล์วแต่คงไม่เป็นปัญหากับรถคันนี้เพราะใช้ระบบของBosch
ขับยาวไปจนถึงเวลาเที่ยงๆแวะเติมน้ำมันก่อนไปแวะกินข้าวกันที่ร้านไก่ย่างบัวตองสามารถถอยจอดได้อย่างสบายด้วยระบบเซ็นเซอร์ช่วยการถอยจอดหลังจากเติมพลังกันเรียบร้อยแล้วก็มุ่งหน้าสู่สนามบินเพชรบูรณ์ โดยทาง Ford นั้นได้ให้ทดลองเปรียบเทียบว่า เกียร์ธรรมดากับเกียร์อัตโนมัติอะไรขับได้เร็วกว่ากัน
ซึ่งการทดสอบในครั้งนี้จะใช้วิธีโดยขับแบบควอเตอร์ไมล์พร้อมกันในแบบวิ่งคู่ขนานกันแล้วสลับรถกันเมื่อสุดทางแล้วเพื่อเปลี่ยนรถกันขับอีกรอบซึ่งจะทำให้ได้ขับเกียร์ออโต้และเกียร์ธรรมดาโดยคันสีน้ำเงินเป็นเกีย์อัตโนมัติส่วนสีเงินเป็นเกียร์ธรรมดา
ผลออกมาว่าเกียร์อัตโนมัติทำเวลาได้ดีกว่าเกียร์ธรรมดาอยู่พอสมควรที่เรามาความเป็นมาของเกียร์อัตโนมัติตัวนี้ว่ามีความเป็นมาและทำงานอย่างไร
ระบบเกียร์อัตโนมัติ พาวเวอร์ชิฟท์ ได้รับการพัฒนาโดยGetrag Ford Transmissions GmbH ก่อตั้งขึ้นจากการร่วมทุนระหว่าง Getrag และฟอร์ดฝ่ายละ 50 เปอร์เซ็นต์
นวัตกรรมเกียร์อัตโนมัติ พาวเวอร์ชิฟท์ 6 สปีด แบบดูอัลคลัตช์ (คลัตคู่) ให้การตอบสนองดีเยี่ยมโดยที่คลัตช์แบบเปียกทั้ง 2 ชุดทำงานประสานกันโดยชุดแรกทำงานคู่กับเกียร์ 1, 3 , 5 และเกียร์ถอยหลังส่วนชุดที่สองทำงานคู่กับเกียร์2 4 และ 6
เมื่อต้องการเปลี่ยนเกียร์ระบบสมองกลจะเข้าเกียร์ถัดไปไว้ล่วงหน้าในขณะที่รถกำลังเคลื่อนที่ซึ่งคลัตช์ทั้งสองชุดจะสลับกันทำงานอย่างต่อเนื่องทำให้ไม่สูญเสียแรงบิดจากเครื่องยนต์ในช่วงเปลี่ยนเกียร์เหมือนเกียร์อัตโนมัติทั่วไปที่ใช้ทอร์คคอนเวอร์ทเตอร์
ผู้ขับขี่จะรู้สึกได้ถึงอัตราเร่งที่ต่อเนื่องและราบรื่นกว่าระบบเกียร์อัตโนมัติทั่วไปอย่างชัดเจน
โครงแบบทางเทคนิคเบื้องต้นของระบบเกียร์ พาวเวอร์ชิฟท์ 6-สปีด แบบดูอัลคลัตช์ (คลัตช์คู่) ของฟอร์ด ยังมีข้อดีกว่าระบบเกียร์อัตโนมัติทั่วๆไปโดยไม่จำเป็นต้องใช้ระบบที่ซับซ้อนอื่น ๆ อย่าง torque converter, planetary gear set, คลัตช์เปียกหลาย ๆ ตัว และผ้าคลัตช์หลายชิ้น ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของเกียร์ลดลงอย่างมากเนื่องจากความเฉื่อยที่เพิ่มขึ้นและผลสืบเนื่องจากการต้านแรงบิด
ผลลัพธ์ที่ได้จากการปรับปรุงระบบเกียร์ส่งกำลังแบบ พาวเวอร์ชิฟท์ ของฟอร์ด ให้ความสะดวกสบายในรูปแบบของเกียร์อัตโนมัติ แต่ให้สมรรถนะที่เหมือนขับขี่ด้วยเกียร์ธรรมดา
ระบบ พาวเวอร์ชิฟท์ ยังช่วยให้เปลี่ยนเกียร์ได้เร็วเหมือนรถสปอร์ตแต่ยังคงความนิ่มนวลทุกครั้งที่เปลี่ยนเกียร์ความพิเศษที่เพิ่มขึ้นของระบบเกียร์พาเวอร์ชิฟท์ คือ การให้แรงบิดที่สูงขึ้น เข้าคู่กับสุดยอดสมรรถนะของเครื่องยนต์ดูราทอร์ค ดีเซลเทอร์โบ 2.0 ลิตรได้อย่างลงตัว
ในการติดตั้งระบบเกียร์อัตโนมัติ พาวเวอร์ชิฟท์ ในฟอร์ด โฟกัสใหม่ทั้งสองรุ่น ฟอร์ดได้ให้ความสำคัญกับ การใช้แรงบิดมหาศาลให้เป็นประโยชน์สูงสุด โดยเครื่องยนต์ดูราทอร์คความจุ 2.0 ลิตรให้แรงบิดสูงถึง 320 นิวตันเมตร (และอาจมากถึง 340 นิวตันเมตรเมื่อเร่งแซง ในโหมด “Overboost”)
นอกจากนี้ ยังได้ปรับตั้งการเปลี่ยนเกียร์ใหม่ให้สามารถเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ลงต่ำได้อย่างเหมาะสม เช่น จากเกียร์ 5 ลงมาเป็นเกียร์ 4 และจากเกียร์ 4 กลับมายังเกียร์ 3 ในช่วงเวลาที่ผู้ขับขี่ต้องการอัตราเร่ง
การตั้งค่าระบบส่งกำลังนี้ ช่วยเอื้อประโยชน์ให้กับเจ้าของรถจากรอบเครื่องต่ำลงทำให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้น และเพิ่มความสะดวกสบายในการขับฟอร์ด โฟกัสที่ติดตั้งระบบเกียร์อัตโนมัติ พาวเวอร์ชิฟท์ ขับขี่สะดวกและใช้ง่ายไม่แตกต่างกับระบบเกียร์อัตโนมัติแบบเดิมแท่นเกียร์อัตโนมัติที่คอนโซลกลางยังคงรูปแบบเดิมโดยมีสัญลักษณ์ P, R, N และ D ตามปกติ
ในขณะที่คันเกียร์อยู่ในตำแหน่ง D (Drive) ผู้ขับขี่ก็ยังสามารถโยกคันเกียร์ไปทางขวาเพื่อเปลี่ยนเกียร์เองเหมือนระบบเกียร์ธรรมดา ในขณะที่ใช้ระบบเกียร์อัตโนมัติ ผู้ขับจะสัมผัสได้ถึงความสะดวกสบายไม่ต่างไปจากการขับขี่ด้วยเกียร์อัตโนมัติแบบเดิมโดยเฉพาะการตอบสนองเร็วทันใจแม้ในช่วงออกตัวและการใช้ความเร็วต่ำเมื่อขับท่ามกลางการจราจรที่ติดขัดการปรับตั้งระบบส่งกำลัง พาวเวอร์ชิฟท์ ดังกล่าวมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ฟอร์ด โฟกัสประหยัดน้ำมันมากยิ่งขึ้น
ส่วนฟังก์ชั่น “neutral idle control” ยังช่วยลดแรงบิดเมื่อรถอยู่กับที่ คือเมื่อผู้ขับขี่เหยียบเบรกขณะที่เข้าเกียร์ D ไว้
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…