นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนเมษายน 2558 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 54,058 คัน ลดลง 26.2% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 23,470 คัน ลดลง 24.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 30,588 คัน ลดลง 27.3% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 22,606 คัน ลดลง 34.3%
ประเด็นสำคัญ
1.) ตลาดรถยนต์เดือนเมษายน มีปริมาณการขาย 54,058 คัน ลดลง 26.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 24.7% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 27.3% เนื่องจากภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งสถาบันทางการเงินที่ยังคงเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ ทำให้สภาพคล่องในระบบลดลง ส่งผลกระทบถึงกำลังซื้อโดยรวมของผู้บริโภค
2.) ตลาดรถยนต์สะสม 4 เดือน มีปริมาณการขาย 251,845 คัน ลดลง 15.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 15.7% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 15.1% สืบเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลงต่อเนื่อง ทำให้ทั้งภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน ต่างระมัดระวังทั้งในเรื่องการลงทุน และการใช้จ่าย
3.) ตลาดรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม แนวโน้มทรงตัว จากเสถียรภาพทางการเมืองที่ดี รวมถึงการเร่งเบิกจ่ายเงินลงทุนและการดำเนินโครงการที่สำคัญของภาครัฐ ประกอบกับกิจกรรมส่งเสริมการขายและการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่เป็นปัจจัยบวกต่อตลาดรถยนต์ แต่ความกังวลต่อความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจโลก ยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องกับการส่งออกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศ ทำให้แนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือนพฤษภาคมยังอยู่ในสภาวะทรงตัว
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนเมษายน 2558
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 54,058 คัน ลดลง 26.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,246 คัน ลดลง 50.4% ส่วนแบ่งตลาด 24.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,672 คัน ลดลง 13.3% ส่วนแบ่งตลาด 21.6%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 8,603 คัน เพิ่มขึ้น 19.6% ส่วนแบ่งตลาด 15.9%
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 23,470 คัน ลดลง 24.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 6,975 คัน ลดลง 44.6% ส่วนแบ่งตลาด 29.7%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 6,111 คัน ลดลง 5.6% ส่วนแบ่งตลาด 26.0%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,819 คัน ลดลง 4.4% ส่วนแบ่งตลาด 12.0%
3. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 22,606 คัน ลดลง 34.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 10,614 คัน ลดลง 15.3% ส่วนแบ่งตลาด 47.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 5,505 คัน ลดลง 58.5% ส่วนแบ่งตลาด 24.4%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,681 คัน ลดลง 5.0% ส่วนแบ่งตลาด 11.9%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 2,395 คัน
อีซูซุ 1,060 คัน – โตโยต้า 582 คัน – มิตซูบิชิ 560 คัน – เชฟโรเลต 191 คัน – ฟอร์ด 2 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 20,211 คัน ลดลง 33.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 9,554 คัน ลดลง 12.3% ส่วนแบ่งตลาด 47.3% อันดับที่ 2 โตโยต้า 4,923 คัน ลดลง 58.0% ส่วนแบ่งตลาด 24.4%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,121 คัน ลดลง 5.2% ส่วนแบ่งตลาด 10.5%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 30,588 คัน ลดลง 27.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 11,672 คัน ลดลง 13.3% ส่วนแบ่งตลาด 38.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 6,271 คัน ลดลง 55.5% ส่วนแบ่งตลาด 20.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,681 คัน ลดลง 5.0% ส่วนแบ่งตลาด 8.8%
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…