นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนสิงหาคม 2557 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 68,835 คัน ลดลง 31.4% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 29,990 คัน ลดลง 41.2% รถเพื่อการพาณิชย์ 38,845 คัน ลดลง 21.2% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 31,832 คัน ลดลง 21.4%
ประเด็นสำคัญ
1.) ตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคม มีปริมาณการขาย 68,835 คัน ลดลง 31.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 41.2% และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 21.2% เป็นผลจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่องมานานส่งผลให้หนี้ในภาคครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง และตลาดที่กำลังปรับตัวสู่สมดุลหลังสิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรก
2.) ตลาดรถยนต์สะสม 8 เดือน มีปริมาณการขาย 579,273 คัน ลดลง 38.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 46.0% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 31.3% อัตราการเติบโตของยอดขายสะสมส่งสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ทางการเมืองและภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ยังคงต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ และความเชื่อมั่นจากภาคเอกชน
3.) ตลาดรถยนต์ในเดือน กันยายน แนวโน้มทรงตัว ถึงแม้ว่าตลาดจะมีการปรับลดลงต่อเนื่องจากผลกระทบในช่วงที่ผ่านมา แต่การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีในช่วงต้นเดือนกันยายน และจากการที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติการอนุมัติผ่านร่างงบประมาณภาครัฐปี 2558 เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาให้ทันการเบิกจ่ายภายในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ คาดว่าจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคมีทิศทางดีขึ้น และเป็นปัจจัยบวกที่กระตุ้นให้ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้นตามลำดับ
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนสิงหาคม 2557
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 68,835 คัน ลดลง 31.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 25,027 คัน ลดลง 19.9% ส่วนแบ่งตลาด 36.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,394 คัน ลดลง 13.2% ส่วนแบ่งตลาด 18.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 8,777 คัน ลดลง 44.3% ส่วนแบ่งตลาด 12.8%
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 29,990 คัน ลดลง 41.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 11,844 คัน ลดลง 13.6% ส่วนแบ่งตลาด 39.5%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 8,393 คัน ลดลง 42.2% ส่วนแบ่งตลาด 28.0%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,085 คัน ลดลง 63.8% ส่วนแบ่งตลาด 7.0%
3. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 31,832 คัน ลดลง 21.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,322 คัน ลดลง 22.9% ส่วนแบ่งตลาด 38.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,219 คัน ลดลง 8.5% ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,470 คัน ลดลง 6.1% ส่วนแบ่งตลาด 10.9%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 3,680 คัน
อีซูซุ 1,349 คัน – โตโยต้า 1,530 คัน – มิตซูบิชิ 479 คัน – เชฟโรเลต 301 คัน – ฟอร์ด 21 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 28,152 คัน ลดลง 23.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 10,792 คัน ลดลง 22.3% ส่วนแบ่งตลาด 38.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,870 คัน ลดลง 19.3% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,991 คัน เพิ่มขึ้น 10.4% ส่วนแบ่งตลาด 10.6%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 38,845 คัน ลดลง 21.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,183 คัน ลดลง 24.8% ส่วนแบ่งตลาด 33.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,394 คัน ลดลง 13.2% ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,470 คัน ลดลง 6.1% ส่วนแบ่งตลาด 8.9%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – สิงหาคม 2557
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 579,273 คัน ลดลง 38.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 214,064 คัน ลดลง 29.3% ส่วนแบ่งตลาด 37.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 108,084 คัน ลดลง 27.7% ส่วนแบ่งตลาด 18.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 64,598 คัน ลดลง 60.4% ส่วนแบ่งตลาด 11.2%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 243,387 คัน ลดลง 46.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 99,542 คัน ลดลง 21.7% ส่วนแบ่งตลาด 40.9%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 58,458 คัน ลดลง 60.2% ส่วนแบ่งตลาด 24.0%
อันดับที่ 3 นิสสัน 21,505 คัน ลดลง 60.0% ส่วนแบ่งตลาด 8.8%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 276,755 คัน ลดลง 32.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 107,859 คัน ลดลง 33.6% ส่วนแบ่งตลาด 39.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 99,930 คัน ลดลง 24.4% ส่วนแบ่งตลาด 36.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 24,905 คัน ลดลง 38.2% ส่วนแบ่งตลาด 9.0%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 33,296 คัน
อีซูซุ 13,967 คัน – โตโยต้า 13,076 คัน – มิตซูบิชิ 4,196 คัน – เชฟโรเลต 1,926 คัน – ฟอร์ด 131 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 243,459 คัน ลดลง 34.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 94,783 คัน ลดลง 33.3% ส่วนแบ่งตลาด 38.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 85,963 คัน ลดลง 34.3% ส่วนแบ่งตลาด 35.3%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 20,709 คัน ลดลง 28.4% ส่วนแบ่งตลาด 8.5%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 335,886 คัน ลดลง 31.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 114,522 คัน ลดลง 34.8% ส่วนแบ่งตลาด 34.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 108,084 คัน ลดลง 27.7% ส่วนแบ่งตลาด 32.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 24,905 คัน ลดลง 38.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.4%
บริษัท โตโยต้า …