ตลาดรถยนต์เดือนมีนาคม ขาย 74,117 คัน ลดลง 11.7% สะสม 3 เดือนขาย 197,787 คัน ลดลง 11.8%

นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมีนาคม 2558 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 74,117 คัน ลดลง 11.7% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 30,140 คัน ลดลง 13.4% รถเพื่อการพาณิชย์ 43,977 คัน ลดลง 10.6% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 33,409 คัน ลดลง 18.1%

 

 ประเด็นสำคัญ
1.) ตลาดรถยนต์เดือนมีนาคม มีปริมาณการขาย 74,117 คัน ลดลง 11.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 13.4% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 10.6% เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่ยังทรงตัวในระดับต่ำ และภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้กำลังซื้อของภาคครัวเรือนยังคงจำกัด

2.) ตลาดรถยนต์สะสม 3 เดือน มีปริมาณการขาย 198,787 คัน ลดลง 11.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 12.5% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 11.3% สืบเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน โดยเฉพาะการส่งออกที่ยังไม่ขยายตัว รวมทั้งความเข้มงวดของสถาบันทางการเงิน ทำให้ทั้งภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน ต่างระมัดระวังทั้งในเรื่องการลงทุน และการใช้จ่าย

3.) ตลาดรถยนต์ในเดือนเมษายน แนวโน้มทรงตัว ถึงแม้ว่าภาครัฐเร่งรัดการใช้จ่ายและการดำเนินโครงการที่สำคัญ ประกอบกับการผ่อนคลายนโยบายการเงิน เพื่อเพิ่มแรงสนับสนุนให้แก่สภาวะเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามความกังวลต่อความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของการส่งออก รวมทั้งกำลังซื้อโดยรวมในประเทศที่ยังไม่ขยายตัวเต็มที่ ส่งผลให้แนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือนเมษายนยังอยู่ในสภาวะทรงตัว

 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมีนาคม 2558
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 74,117 คัน ลดลง 11.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 27,432 คัน ลดลง 10.6% ส่วนแบ่งตลาด 37.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,945 คัน ลดลง 20.8% ส่วนแบ่งตลาด 17.5%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 10,505 คัน เพิ่มขึ้น 15.3% ส่วนแบ่งตลาด 14.2%
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 30,140 คัน ลดลง 13.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,387 คัน ลดลง 8.3% ส่วนแบ่งตลาด 44.4%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 7,302 คัน ลดลง 12.6% ส่วนแบ่งตลาด 24.2%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,126 คัน ลดลง 43.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.1%
3. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 33,409 คัน ลดลง 18.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,959 คัน ลดลง 14.9% ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,815 คัน ลดลง 22.3% ส่วนแบ่งตลาด 35.4%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,983 คัน ลดลง 22.0% ส่วนแบ่งตลาด 8.9%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 3,013 คัน
อีซูซุ 1,187 คัน – โตโยต้า 1,110 คัน – มิตซูบิชิ 604 คัน – เชฟโรเลต 108 คัน – ฟอร์ด 4 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 30,396 คัน ลดลง 15.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 11,849 คัน ลดลง 11.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,628 คัน ลดลง 18.4% ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,379 คัน ลดลง 25.0% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 43,977 คัน ลดลง 10.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,045 คัน ลดลง 12.6% ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,945 คัน ลดลง 20.8% ส่วนแบ่งตลาด 29.4%
อันดับที่ 3 นิสสัน 3,885 คัน เพิ่มขึ้น 50.8% ส่วนแบ่งตลาด 8.8%

 สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มีนาคม 2558
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 197,787 คัน ลดลง 11.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 70,042 คัน ลดลง 16.8% ส่วนแบ่งตลาด 35.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 35,905 คัน ลดลง 15.8% ส่วนแบ่งตลาด 18.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 29,397 คัน เพิ่มขึ้น 31.5% ส่วนแบ่งตลาด 14.9%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 78,970 คัน ลดลง 12.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 31,398 คัน ลดลง 20.2% ส่วนแบ่งตลาด 39.8%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 21,611 คัน เพิ่มขึ้น 12.8% ส่วนแบ่งตลาด 27.4%
อันดับที่ 3 นิสสัน 5,138 คัน ลดลง 44.8% ส่วนแบ่งตลาด 6.5%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 92,866 คัน ลดลง 16.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 35,761 คัน ลดลง 15.7% ส่วนแบ่งตลาด 38.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 33,027 คัน ลดลง 16.8% ส่วนแบ่งตลาด 35.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 8,154 คัน ลดลง 20.2% ส่วนแบ่งตลาด 8.8%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 8,036 คัน
อีซูซุ 3,221 คัน – โตโยต้า 2,916 คัน – มิตซูบิชิ 1,604 คัน – เชฟโรเลต 287 คัน – ฟอร์ด 8 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 84,830 คัน ลดลง 12.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 32,845 คัน ลดลง 11.3% ส่วนแบ่งตลาด 38.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 29,806 คัน ลดลง 11.4% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 6,550 คัน ลดลง 22.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.7%


5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 118,817 คัน ลดลง 11.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 38,644 คัน ลดลง 13.8% ส่วนแบ่งตลาด 32.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 35,905 คัน ลดลง 15.8% ส่วนแบ่งตลาด 30.2%
อันดับที่ 3 นิสสัน 9,724 คัน เพิ่มขึ้น 19.1% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%

Facebook Comments
Thunyaluk Seniwongs

Recent Posts