ตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคม

นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤษภาคม 2557 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 69,681 คัน ลดลง 37.7% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 29,330 คัน ลดลง 44.4% รถเพื่อการพาณิชย์ 40,351 คัน ลดลง 31.7% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 32,963 คัน ลดลง 33.6%

 ประเด็นสำคัญ
1.) ตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคม มีปริมาณการขาย 69,681 คัน ลดลง 37.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 44.4% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 31.7% เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ประกอบกับเหตุการณ์ทางการเมืองช่วงปลายเดือนที่ส่งผลทางด้านจิตวิทยาต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งมีผลถึงตลาดรถยนต์

2.) ตลาดรถยนต์สะสม 5 เดือน มีปริมาณการขาย 367,112 คัน ลดลง 42.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 50.1% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 34.9% เป็นผลจากการสิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรก และสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวซึ่งเป็นผลให้ทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือน ระมัดระวังเรื่องการลงทุนและใช้จ่าย

3.) ตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายนแนวโน้มทรงตัว แม้ว่าสถิติดัชนีการขายตามฤดูกาลชี้ว่าตลาดรถยนต์เดือนมิถุนายนจะมียอดขายสูงสุดของไตรมาสสอง ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ดูผ่อนคลายจะส่งผลเชิงบวกทางด้านจิตวิทยาต่อผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ดีสภาพเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศที่ชะลอตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี คงต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวทั้งจากมาตรกระตุ้นของภาครัฐ และความเชื่อมั่นจากภาคเอกชน

 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤษภาคม 2557

1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 69,681 คัน ลดลง 37.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 25,556 คัน ลดลง 32.8% ส่วนแบ่งตลาด 36.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,649 คัน ลดลง 26.8% ส่วนแบ่งตลาด 19.6%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 8,641 คัน ลดลง 60.2% ส่วนแบ่งตลาด 12.4%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 29,330 คัน ลดลง 44.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 11,686 คัน ลดลง 28.4% ส่วนแบ่งตลาด 39.8%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 7,933 คัน ลดลง 60.6% ส่วนแบ่งตลาด 27.0%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,385 คัน ลดลง 29.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 32,963 คัน ลดลง 33.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,118 คัน ลดลง 35.4% ส่วนแบ่งตลาด 39.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,637คัน ลดลง 22.8% ส่วนแบ่งตลาด 38.3%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,359 คัน ลดลง 48.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,122 คัน
อีซูซุ 1,786 คัน – โตโยต้า 1,718 คัน – มิตซูบิชิ 438 คัน – เชฟโรเลต 166 คัน – ฟอร์ด 14 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 28,841 คัน ลดลง 36.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 11, 400 คัน ลดลง 36.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,851 คัน ลดลง 33.1% ส่วนแบ่งตลาด 37.6%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,939 คัน ลดลง 8.4% ส่วนแบ่งตลาด 6.7%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 40,351 คัน ลดลง 31.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,870 คัน ลดลง 36.1% ส่วนแบ่งตลาด 34.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,649 คัน ลดลง 26.8% ส่วนแบ่งตลาด 33.8%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,742 คัน เพิ่มขึ้น 26.1% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%

 สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2557

1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 367,112 คัน ลดลง 42.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 136, 454 คัน ลดลง 31.5% ส่วนแบ่งตลาด 37.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 69,760 คัน ลดลง 32.1% ส่วนแบ่งตลาด 19.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 38,196 คัน ลดลง 66.5% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 150,780 คัน ลดลง 50.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 63,655 คัน ลดลง 22.8% ส่วนแบ่งตลาด 42.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 33,563 คัน ลดลง 66.8% ส่วนแบ่งตลาด 22.3%
อันดับที่ 3 นิสสัน 14,647 คัน ลดลง 63.3% ส่วนแบ่งตลาด 9.7%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 178,365 คัน ลดลง 36.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 68,795 คัน ลดลง 36.6% ส่วนแบ่งตลาด 38.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 64,860 คัน ลดลง 29.6% ส่วนแบ่งตลาด 36.4%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 15,399 คัน ลดลง 48.3% ส่วนแบ่งตลาด 8.6%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 22,264 คัน
อีซูซุ 9,483 คัน – โตโยต้า 8,674 คัน – มิตซูบิชิ 2,834 คัน – เชฟโรเลต 1,193 คัน – ฟอร์ด 80 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 156,101 คัน ลดลง 38.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 60,121 คัน ลดลง 36.4% ส่วนแบ่งตลาด 38.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 55,377 คัน ลดลง 39.1% ส่วนแบ่งตลาด 35.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 12,565 คัน ลดลง 41.0% ส่วนแบ่งตลาด 8.0%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 216,332 คัน ลดลง 34.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 72,799 คัน ลดลง 37.7% ส่วนแบ่งตลาด 33.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 69,760 คัน ลดลง 32.1% ส่วนแบ่งตลาด 32.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 15,399 คัน ลดลง 48.3% ส่วนแบ่งตลาด 7.1%

Facebook Comments
CarOnline Team

Recent Posts