นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม กรรมการบริหารด้านการขายและการตลาด บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า ซูซูกิร่วมมือกับทาง ศูนย์นวัตกรรม KMITL FIGHT FOR COVID-19 ศูนย์วิจัยและออกแบบงานสร้างสรรค์ (Research and Creative Design Center: RCDC) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ หมอแล็บแพนด้า “ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน” ในการนำ SUZUKI CARRY รถกระบะบรรทุกอเนกประสงค์มาตกแต่งดัดแปลงให้เป็นรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (Biosafety Mobile Unit) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ สำหรับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในเชิงรุกแบบเคลื่อนที่ ความร่วมมือในครั้งนี้มาจากแนวคิดของซูซูกิที่ต้องการช่วยเหลือสังคมผ่านโครงการ “SUZUKI Cause We Care” ที่ไม่ใช่เพียงแค่ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีในสินค้าและบริการของซูซูกิสู่ลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการอยู่คู่เคียงข้างชุมชนและสังคมไทยอย่างยั่งยืน
ล่าสุดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เริ่มกลับมามีความรุนแรงอีกครั้งในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดในเวลานี้ หมอแล็บแพนด้า “ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน” ได้ร่วมมือกับทางโรงพยาบาลศุขเวช และโรงพยาบาลวชิระ นำรถ SUZUKI CARRY Biosafety Mobile Unit (รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย) ซึ่งเป็นรถต้นแบบที่ได้ถูกนำไปจัดแสดงในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2021 ที่ผ่านมา นำออกไปให้บริการตรวจเชิงรุกแบบเคลื่อนที่แก่กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ในเขตพื้นที่อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
“การนำรถ SUZUKI CARRY Biosafety Mobile Unit ออกให้บริการประชาชนในช่วงเวลาดังกล่าวนับเป็นความตั้งใจจริงจากความร่วมมือที่เกิดขึ้นของทางซูซูกิกับ หมอแล็บแพนด้า ที่ต้องการช่วยเหลือสังคมด้วยการออกให้บริการแก่ประชาชนที่กำลังได้รับความเดือดร้อนในเวลานี้ได้อย่างทันท่วงที ส่วนหนึ่งช่วยลดความแออัดของประชาชนที่กำลังเข้าไปใช้บริการในโรงพยาบาลต่างๆ เป็นจำนวนมากในเวลานี้” นายวัลลภ กล่าว
โดยตู้ชีวนิรภัย (biosafety unit) ที่ติดตั้งอยู่บนกระบะรถ SUZUKI CARRY ถูกออกแบบโดยใช้หลักการ Human-Centered Design ที่คำนึงถึงพฤติกรรมการใช้งานของผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญ ทั้งในด้านดีไซน์และฟังก์ชันใช้สอยที่ตอบรับความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างตรงจุด มีระบบปรับและกรองอากาศด้วย HEPA Filter ที่มีขนาดหนากว่าปรกติด้วยวัสดุที่ทำจากเทคโนโลยีเส้นใยขั้นสูง มีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นที่สูงกว่าแบบปกติมากยิ่งขึ้น และระบบแรงดันบวก (positive pressure) เพื่อป้องกันแพทย์หรือนักเทคนิคการแพทย์ผู้เก็บตัวอย่างจากภายในรถได้รับอันตรายจากเชื้อโรค ทำให้ลดการติดเชื้อโรคของผู้ปฏิบัติงาน และลดการกระจายเชื้อโรคออกสู่ภายนอกสิ่งแวดล้อม และเพื่อลดค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย
ทั้งนี้ สำหรับหน่วยงานทางการแพทย์ใดที่กำลังต้องการตรวจเชิงรุกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 สามารถติดต่อเพื่อนำรถ SUZUKI CARRY Biosafety Mobile Unit ไปใช้งานได้ฟรี เพราะเป็นรถที่ถูกออกแบบมาเพื่อนำไปใช้ด้านสาธารณประโยชน์แก่ประชาชนโดยทั่วไป โดยสามารถติดต่อได้ผ่านช่องทางอีเมลล์ khunpark@gmail.com หรือหมอแล็บ แพนด้า หมายเลขโทรศัพท์ 08-7715-6166
อีซูซุส่งเครื่อ…