เมเนเจอร์ แมกกาซีน จากเยอรมัน รายงานข่าวผลการศึกษาของ เออร์เนสต์ แอนด์ ยัง Ernst & Young ที่แสดงว่า ค่ายซูซูกิ สามารถทำกำไรจากการจำหน่ายรถยนต์ได้ต่อคัน 11.8% ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 แซงค่ายบีเอ็มดับเบิลยู อดีตแชมป์ยาวนาน ที่ทำได้เพียง 11.4% เท่านั้น
ขณะที่ เดมเลอร์ ทำได้ 6.5% อยู่ในอันดับที่ 6 ขณะที่ กลุ่มโฟล์คสวาเก้น ทำได้ 6.5% อันดับที่ 7 แต่หากรวมสองไตรมาสแล้ว ค่ายบีเอ็มดับเบิลยู ยังคงนำอยู่ ทำกำไรต่อหน่วยได้มากที่สุด
การสามารถทำผลกำไรได้มากกว่าค่ายรถยนต์ยุโรปแล้ว เป็นที่น่าประทับใจของค่ายรถญี่ปุ่น เพราะสำหรับลูกค้ายุโรปแล้ว เป็นที่ทราบกันดีว่า “ถ้าคุณถามราคารถ ก็แสดงว่าคุณไม่ใช่ลูกค้าเป้าหมาย” ขณะที่ราคารถของ ซูซูกิ แทบจะอยู่อันดับต่ำสุดของราคารถยนต์ในตลาด
สาเหตุที่ ซูซูกิ สามารถได้รับตำแหน่งในครั้งนี้ น่าจะเป็นเพราะสภาพตลาดของประเทศอินเดีย ที่กำลังเจริญเติบโต และรถยนต์ใหม่ที่ผู้บริโภคอินเดียชื่นชอบ จะเป็นรถยี่ห้อ มารูติ ซูซูกิ
แต่หากเปรียบเทียบกันในเรื่องของเม็ดเงินของผลกำไรแล้ว ค่ายโตโยต้า นำโด่งในด้านนี้
ผู้บริหาร เออร์เนสต์ แอนด์ ยัง ให้คำอธิบายว่า เป็นเพราะค่ายรถยนต์จากเยอรมัน กำลังอยู่ในช่วงที่ประสบภาวะขาดความนิยมจากผู้บริโภค อันเนื่องมาจากปัญหาของเครื่องยนต์ดีเซล, ปัญหาด้านการลงทุนเพิ่มเติมที่ต้องใช้เม็ดเงินมหาศาล, ปัญหาจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน และสงครามการค้าระหว่างประเทศจีน และสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐก็เหมารวมเอาผลิตภัณฑ์รถยนต์จากเยอรมัน ในการขึ้นอัตราภาษีนำเข้า และการขึ้นอัตราภาษีสำหรับเหล็กและอลูมิเนียม ที่สั่งนำเข้าจากสหภาพยุโรป เม็กซิโก และ แคนาดา โดยประเมินว่า อุปสรรคทางการ้าเหล่านี้ จะยังดำรงอยู่ไปจนตลอดครึ่งปีหลังของปีนี้