เริ่มต้นดำเนินการใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงาน ด้านการเดินทาง และด้านการใช้ข้อมูล เพื่อสร้างความสุขให้กับคนไทยทุกคน
บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (โตโยต้า) และ Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อร่วมมือกันในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย
เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซีพี โตโยต้า และ CJPT มีความมุ่งหวังที่จะมีส่วนในการสร้างความสุขให้กับคนไทย 67 ล้านคน โดยมีการหารือระหว่างนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ มร.อากิโอะ โตโยดะ ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะกรรมการบริหารของโตโยต้า (ในขณะนั้น) ซึ่งนำมาสู่ความไว้วางใจต่อกัน จึงได้มีข้อตกลงที่จะร่วมมือกันเพื่อหาทางออกสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “เริ่มจากสิ่งที่เราทำได้ตอนนี้ ร่วมกับพันธมิตรที่มีเป้าหมายเดียวกัน” โดยได้มีการบรรลุข้อตกลงเพื่อหาทางออกในสามด้าน ได้แก่ ทางออกด้านพลังงาน ทางออกผ่านการใช้ข้อมูล และทางออกด้านการเดินทาง โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของประเทศ และมุ่งหวังจะสร้างผลลัพธ์จากการดำเนินการโครงการภายในสิ้นปีนี้ ในการนี้ ได้มีเริ่มต้นการทดลองด้วยการผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซชีวภาพที่นำมาจากฟาร์มสัตว์ปีก และการจัดกิจกรรมงานแสดงนวัตกรรมยานยนต์เพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน ในระยะเวลาที่ผ่านมา
1. ทางออกด้านพลังงาน การจัดการด้านพลังงานและใช้พลังงานหมุนเวียน รวมถึงไฮโดรเจน ค้นหาทางออกด้านพลังงานที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทย อาทิ การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานไฮโดรเจน จากทรัพยากรที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ชีวมวลและอาหารเหลือทิ้ง รวมถึงพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ ซึ่งประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมาก 2. ทางออกผ่านการใช้ข้อมูล การใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งรวมถึงการบรรทุกและการจัดเส้นทางที่เหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในประเทศไทย และ Big Data ของ ซีพี และ CJPT 3. ทางออกด้านการเดินทาง การจัดหาทางเลือกที่หลากหลาย ให้สอดคล้องกับความต้องการที่แตกต่างในประเทศไทย นำเสนอยานยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย ได้แก่ HEVs, BEVs และ FCEV รวมถึงยานยนต์ที่ประหยัดน้ำมัน ซึ่งสอดคล้องกับความพร้อมด้านพลังงาน และสภาวะเศรษฐกิจ ความพร้อมของลูกค้า และรูปแบบที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ระยะการขับขี่และน้ำหนักบรรทุก เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ตอบสนองความต้องการที่แตกต่าง |
และเพื่อเริ่มต้นดำเนินการทั้งสามด้านในทันที เราจะดำเนินการโครงการเพื่อสังคมที่ครอบคลุมทั้งวงจร การผลิต การขนส่ง และการใช้พลังงาน ในเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย รวมถึงการตรวจสอบประเมินผล และการนำเสนอผลดังกล่าวผ่านหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อนำไปใช้กับภูมิภาคอื่นต่อไป ทั้งนี้ ทั้งสามบริษัทฯ จะใช้โอกาสนี้เพื่อประเมินปริมาณการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
จากซ้ายไปขวา: มร.ซาโตชิ โอกิโซ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ฮีโน่ มอเตอร์ จำกัด, มร.มาซาโนริ คาตายามะ ประธานบริษัท อีซูซุ มอเตอร์ จำกัด,
มร.ฮิโรกิ นากาจิมะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ CJPT, มร.โคจิ ซาโต้ กรรมการผู้จัดการใหญ่ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น,
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์, นายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์,
นายขจร เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทรู ลีสซิ่ง จํากัด และกรรมการบริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์,
นายณรงค์ เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์, และ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์
นายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า “จากการพิจารณาที่จะร่วมมือกันเพื่อตอบแทนประเทศไทย ผมมีความยินดีเป็นอย่างมากที่ได้ทราบว่า การดำเนินการของเราเป็นไปอย่างราบรื่น ผมมีความตั้งใจที่จะเดินหน้าอย่างต่อเนื่องและเปิดรับที่จะดำเนินโครงการกับพันธมิตรที่มีความมุ่งมั่นเดียวกัน”
มร.โคจิ ซาโต้ กรรมการผู้จัดการใหญ่ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวเพิ่มเติมว่า “นับตั้งแต่ที่มีการทำข้อตกลงระหว่างผู้บริหารระดับสูงของ ซีพี และ โตโยต้า ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เราได้พิจารณาถึงความร่วมมือที่จะ “”เริ่มจากสิ่งที่เราทำได้ตอนนี้” ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เราสามารถยกระดับความร่วมมือต่อไปได้ภายในเวลาไม่ถึง 4 เดือนหลังจากการประกาศครั้งก่อน โดยเราจะทำงานร่วมกับพันธมิตรทุกคนโดยการพิจารณาทางเลือกทั้งหมด และแนวทางที่หลากหลายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในประเทศ เพื่อนำความสุขมาสู่คนไทยทุกคน”
มร.ฮิโรกิ นากาจิม่า กรรมการผู้จัดการใหญ่ Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) กล่าวอีกด้วยว่า “ในความร่วมมือนี้ ทาง CJPT จะร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ เพื่อเสริมสร้างและเปลี่ยนแปลงภาคการขนส่ง และโลจิสติกส์ในประเทศไทย และเริ่มจากสิ่งที่เราทำได้ตอนนี้ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมไทยต่อไป”.
โดยความร่วมมือในครั้งนี้ ทรู ลิสซิ่ง ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ซีพี ที่ให้บริการด้านการขนส่ง จะมีส่วนร่วมกับ CJPT ซึ่งประกอบด้วย อีซูซุ มอเตอร์ จำกัด ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ไดฮัทสุ มอเตอร์ และ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ที่จะเร่งส่งเสริมประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์และการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยอยู่ระหว่างการเตรียมการในการก่อตั้งบริษัทใหม่ “CJPT-Asia” (ชื่ออย่างไม่เป็นทางการ) ในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมกิจกรรมด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนในเอเชีย รวมถึงความร่วมมือในครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ ความพยายามของ CJPT ในเอเชีย จะรวมถึงการมีส่วนร่วมของ ฮีโน่ มอเตอร์ จำกัด เนื่องจากความเป็นกลางทางคาร์บอนควรได้รับความร่วมมือของทุกอุตสาหกรรม และทุกคน ทั้งสามบริษัทจึงต้องการทำงานร่วมกัน โดยเริ่มจากสิ่งที่เราทำได้ตอนนี้ ร่วมกับพันธมิตรที่มีเป้าหมายเดียวกัน
งานแสดงนวัตกรรมยานยนต์เพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral Mobility Event) ในประเทศไทย