เหตุใดหลาย ๆ ประเทศจึงรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้จักรยาน
แม้แต่เยอรมันนีซึ่งส่งออกรถยนต์เป็นรายได้หลักแต่ก็ทำการลงทุนมหาศาลในการสร้างทางจักรยานในแต่ละเมืองของตน ที่น่าสนใจคือยอดขายเฉพาะจักรยานไฟฟ้าอย่างเดียว พุ่งไปถึงหนึ่งล้านคันในปี 2018
ภาพบน:ตัวเลขการขายจักรยานไฟฟ้าทั่วโลก ยกเว้นจีน เหตุที่ต้องไม่รวมจีนเพราะมีตัวเลขสูงมาก
ถ้าดูจากจำนวนประชากร 81,802,000 คน ชาวเยอรมันครอบครองจักรยานเป็นจำนวน 62,000,000 คันหรือ พูดได้ว่า 76% ของจำนวนประชากรเลยทีเดียว
ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวเลยดังกล่าวไม่สามารถเทียบได้เลยกับผู้ใช้จักรยานในประเทศเนเธอแลนด์ซึ่งมีประชากร 16,652,800 คนแต่เป็นเจ้าของจักรยานถึง 16,500,000 คัน เรียกได้ว่าถึง 99% ของจำนวนประชากร
ประเทศที่ดูล้าหลังตามไม่ทันโลกหนีไม่พ้นสหรัฐอเมริกา ที่มีผู้ครอบครองจักรยานเพียง 32% ซ้ำร้ายใช้จักรยานในการเดินทางเพียง 0.1% ของการเดินทางทั้งหมด
ถ้าถามว่าไมสหรัฐฯ ถึงตามหลัง ก็หนีไม่พ้นการจัดวางผังเมืองของสหรัฐฯ ที่กระจายที่อยู่อาศัยออกไปจากตัวเมือง ถ้าจะใช้จักรยานเดินทางก็เรียกว่านอกจากเสี่ยงแล้ว ยังมีระยะทางที่ปั่นแล้วท้อ
อย่างไรก็ดี เมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่นเช่น นิวยอร์ค จักรยานก็เป็นที่นิยมอยู่มากทีเดียว
สำหรับเมืองประเทศในเอเชียที่ติดอันดับคนใช้จักรยานมากเป็นหนึ่งในสิบของโลกก็คือญี่ปุ่นและจีน ซึ่งดูจากตัวเลขการครอบครองจักรยานคือ 57% และ 37% ตามลำดับ
สองภาพบน:ทางจักรยานในประเทศจีน
น่าสนใจตรงที่จีนก็แสดงความมุ่งมั่นจะพัฒนาทางจักรยานให้เทียบเท่าประเทศในตะวันตก อย่างที่ทราบกันดี ถ้าจีนบอกจากทำ ก็ต้องทำแบบการค้านกันแทบไม่เห็นในประเทศเสรีประชาธิปไตย ซึ่งบางสิ่งที่อยากจะทำก็ได้กันแค่ 10%-20% จากที่บอกก็น่าดีใจแล้ว ก็เป็นความสวยงามของการคัดค้านกันตามระบบ แต่ก็ตามมาด้วยความล่าช้า ซ้ายหัน ขวาไม่หัน แต่ทุกฝ่ายก็ได้รับความพอใจ น้อยบ้าง มากบ้าง ตามกันไป
หันมามองเมืองไทย การใช้จักรยานเป็นที่นิยมกันนานแล้ว ผมเองก็ขี่จักรยานไปโรงเรียนตั้งแต่เด็ก กลับมามองตัวเองว่ารอดมาได้ก็โชดดีมากเพราะต้องขี่บนไหล่ทางที่รถวิ่งด้วยความเร็วสูง ต้องข้ามถนนหกเลนที่รถไม่เคยจอดให้ วิ่งตัวเปล่าก็ลำบาก ไม่รวมว่าต้องเอาจักรยานไปด้วย
โตขึ้นมาหน่อย การขี่จักรยานในหมู่บ้านนั้นเป็นเรื่องสนุก ไปกับเพื่อนสนิทปรึกษาปัญหาตามประสาวัยรุ่น
สถาบันการศึกษาที่เน้นการขี่จักรยานในประเทศไทยก็เห็นจะหนีไม่พ้น สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียซึ่งคุณแม่ผมทำงานอยู่ที่นั่น ทุกตึกจะเชื่อมกันด้วยทางจักรยานซึ่งมีหลังคา หน้าตึกจะมีที่จอดและล๊อคจักรยาน นักศึกษาไม่มีใครขับรถ จักรยานสะดวกที่สุด
ภาพบน:จักรยานเป็นพหานะหลักในเอไอที
ถ้ารัฐบาลไทยทำการส่งเสริมอย่างจริงจัง วางผังให้เหมาะสมเป็นระบบ ก็เป็นไปได้อย่างมากที่การใช้จักรยานจะเป็นที่นิยมในการใช้งานของคนเมืองมากขึ้น
ภาพบน:สภาพทางหลวงในสหรัฐฯ ที่ทุกอย่างไปผูกกับวัฒนธรรมการใช้รถ
แล้วทำไมรถยนต์ถึงถูกลดความสำคัญลงไป คนเมืองในปัจจุบัน ใส่ใจในคุณภาพชีวิตมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพชีวิตของเมือง ไม่ใช่แต่คุณภาพชีวิตของตน การจัดวางผังเมืองโดยการนำวัฒนธรรมรถส่วนตัวไปผูกด้วยนั้นเป็นส่ิงที่มองแม่ฟุ่มเฟือย ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรที่จอดรถ การสร้างถนนหนทางที่กว้างขวางกินที่ การสร้างทางยกระดับที่บดบังทิวทัศน์และตัดแบ่งเมืองออกจากกัน ทุกอย่างที่กล่าวมา เพียงเพื่อให้รถยนต์เข้าไปติดในเมืองอยู่ดี
สองภาพบน:ประท้วงการใหญ่ต่อต้นวัฒนธรรมรถยนต์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ส่งผลให้รัฐบาลสร้างทางจักรยานที่ดีและครอบคลุมที่สุดในโลก
ประเทศเนเธอร์แลนด์เคยถมคลองสร้างทางด่วนเพื่อตามสหรัฐฯ ในช่วงหลังสงครามโลก หากว่าประชาชนออกมาประท้วงใหญ่เนื่องจากอุบัติเหตุทางท้องถนนคร่าชีวิตเด็กและเยาวชนไปมาก รัฐบาลจึงตัดสินใจกลับลำ รื้อถนนทิ้ง ขุดคลอง กลับไปเป็นเมืองในอดีต ที่สำคัญสร้างทางจักรยานทั่วทั้งประเทศ จนเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าประชาชนใช้จักรยานมากเป็นอันดับหนึ่ง ๆ ของโลก
ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ต่อประชากรหนึ่งแสนคน มีคนเสียชีวิต 3.8 จากอุบัติเหตุบนท้องถนนต่อปี ซึ่งนับว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ซึ่งมีจำนวนคนเสียชีวิต 12.4 คนต่อหนึ่งแสนคน สำหรับไทยนั้นสูงถึง 32.7 คนเป็นอันดับที่สองของโลกเลยทีเดียว
ภาพบน:ทางจักรยานในนครแวนคูเวอร์
หลายประเทศในตะวันตกหันมาทำตาม แนวทางการแก้ปัญหาการจราจรของเมืองในปัจจุบันคือการจัดการขนส่งมวลชน ลดการเดินทางด้วยรถส่วนตัว ที่สำคัญที่สุดคือการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อจักรยาน
ภาพบน:ทางจักรยานในประเทศแคนาดา
แม้รถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าดูเหมือนว่าจะเข้ามาทดแทนรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน แต่ก็ยังไม่สามารถตอบความต้องการของเมืองที่ต้องการยานพนะที่มีประสิทธิภาพในเชิงการผลิตและการถือครอง ในการผลิตก็คือทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายังดูเป็นสิ่งฟุ่มเฟืองและไม่ทำจำเป็นเมื่อเทียบกับจักรยานซึ่งใช้ต้นทุนการผลิดต่ำกว่ามาก ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการใช้พื้นที่ในการจอดอีกด้วย
เมืองในไทยการพัฒนายังไปได้อีกไกล ยังไม่อิ่มตัว ยังสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้อีกมากโดยไม่ใช้ทรัพยากรมากมายนัก ยังสามารถเลือกที่จะไป ว่าเราจะไปเป็นเมืองแบบใด เป็นเมืองรถยนต์ หรือเป็นเมืองเพื่อคนเดินไปมาได้ สัมผัสชีวิตคนได้
กนวิชญ์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…