งาน “สัมมนาวิชาการและนิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพ”
1. ความเป็นมา
1.1 เป็นที่ทราบดีว่า ในประเทศไทยซึ่งอยู่ในป่าเขตร้อนของโลก (tropical forests) แม้จะปกคลุมผิวโลกเพียง 7% ก็ตาม แต่สรรพสิ่งมีชีวิตของโลกที่อาศัยอยู่มีมากกว่าครึ่งหนึ่ง ขณะเดียวกันประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกก็อยู่ในป่าเขตร้อนและอยู่ในเอเชียหลายประเทศซึ่งก็หมายความว่า การอนุรักษ์กับการแก้ปัญหาความยากจนเป็นเรื่องที่เชื่อมโยง (entwine) ผูกพันกัน การอนุรักษ์ป่าเขตร้อน ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็สามารถส่งคุณค่าไปสู่ที่ห่างไกลได้ (off-site value)
1.2 การทำลายป่าและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ จากเดิมที่เคยมีมากถึงร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว จนในขณะนี้เหลือพื้นที่ป่าเพียงประมาณร้อยละ 26 ของพื้นที่ประเทศเท่านั้น ซึ่งมิอาจประเมินคุณค่าของทรัพยากรชีวภาพที่สูญเสียไปอย่างมากมาย
1.3 ที่ผ่านมา ปตท. จึงมุ่งในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของ ปตท. และเครือข่าย ผ่านผลการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนในมิติต่าง ๆ เช่น
– โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่
– สถาบันลูกโลกสีเขียว
– โครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
– โครงการรักษ์ป่า สร้างคน ๘๔ ตำบล วิถีพอเพียง
– โครงการวิจัยร่วมกับโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (Biodiversity Research and Training Program : BRT)
– ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี
– สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
2 วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเป็นการสัมมนาเชิงวิชาการ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพในมิติต่าง ๆ จากทั้งนักวิชาการ และนักปฏิบัติ
2.2 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจัดพิธีมอบรางวัลลูกโลกสีเขียว และรางวัลการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประจำปี 2553
2.3 เพื่อร่วมส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ที่ประกาศให้ปี 2553 เป็นปีแห่งความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย รวมถึงมติขององค์การสหประชาชาติที่ให้ปี 2010 เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ในการจัดกิจกรรมเพื่อช่วยกระตุ้นให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ และให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
2.4 รวมทั้งควรใช้โอกาสนี้จัดกิจกรรมเพื่อแสดงผลการดำเนินงานการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศซึ่งแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ
3. ภาพรวมการจัดงาน
3.1 การจัดพิธีมอบรางวัลสำคัญ 2 งาน คือ รางวัลลูกโลกสีเขียว และ รางวัลการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประจำปี 2553
3.2 การประชุม สัมมนา แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม และด้านพัฒนาสังคม ปราชญ์ชุมชน และผู้แทนชุมชนผู้ลงมือปฏิบัติจริง
3.3 การแสดงนิทรรศการ และการจำหน่ายสินค้าชุมชน ได้แก่
– โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่
– รางวัลลูกโลกสีเขียว
– โครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
– โครงการรักษ์ป่า สร้างคน ๘๔ ตำบล วิถีพอเพียง
– โครงการวิจัยร่วมกับโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (Biodiversity Research and Training Program : BRT)
– ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี
– สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
4. กิจกรรม Highlight การประชุม สัมมนา
วันที่ Concept Highlight
22 พ.ย. 53 คืนความหลากหลายให้ผืนป่า
ฝ่าวิกฤตโลกร้อน
(โครงการปลูกป่าฯ) – ปาฐกถาพิเศษ “ความหลากหลายทางชีวภาพคือชีวิต”
– เสวนา “16 ปี โครงการปลูกป่าฯ ให้อะไรแก่สังคมไทย”
23 พ.ย. 53 พิธีมอบรางวัลลูกโลกสีเขียว
(ลูกโลกสีเขียว) – เสวนา “สิทธิชุมชน / วิถีชุมชนท้องถิ่น และกฎหมายไทย /
ความหลากหลายฯ กับการจัดการทรัพยากรโดยชุมชน”
24 พ.ย. 53 รักษ์ป่า โมเดล สู่…วิถีพอเพียง
(โครงการ 84 ตำบล) – เสวนา “นิเวศน์ ชุมชน อยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนได้อย่างไร”
– เสวนาเวทีชาวบ้าน เรื่อง “84 ชุมชนนักปฏิบัติ หลากหลาย
พอเพียง ยั่งยืน…”
25 พ.ย. 53 พิธีมอบรางวัลการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(โครงการหญ้าแฝกฯ) – การสัมมนา “หญ้าแฝก กับความหลากหลายทางชีวภาพ”
– การสัมมนา “การใช้หญ้าแฝกในการแก้ปัญหาดิน
เสื่อมโทรม”
26 พ.ย. 53 ขุมทรัพย์ในท้องถิ่นไทย
(ความร่วมมือ ปตท. กับ BRT) – การแสดงวิสัยทัศน์ในด้านความร่วมมือด้านการศึกษาความ
หลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น
– การนำเสนอผลงานด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายฯ :
งานวิจัยชุดทองผาภูมิตะวันตก / งานวิจัยชุดหาดขนอม
เขานัน (โดยนักวิจัย BRT)
– การบรรยายเชิงวิชาการ “ฐานทรัพยากรชีวภาพ รากฐาน
ชุมชนเข้มแข็ง รากฐานแห่งชีวิต”
thunyaluk@caronline.net