ปีนี้ มีค่ายรถยนต์ติดโผ 25 ค่าย โดยค่ายที่ติดอันดับชนะเลิศ เป็นค่ายค้าปลีกในอเมริกาที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ถ้าศัพท์ภาษาต่างประเทศจะเรียกว่า แคชแอนด์ แครี่ cash-and-carry วอลล์มาร์ต Walmart ด้วยผลประกอบการรายได้ทั้งสิ้นมูลค่า 485,873 ล้านเหรียญ
ค่ายรถยนต์อันดับหนึ่ง อยู่ในโผลำดับที่ 5 ได้แก่ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ญี่ปุ่น, ตามมาด้วยลำดับ 2 โฟล์คสวาเก้น, ลำดับที่ 17 เดมเลอร์, จีเอ็ม ลำดับ 18, ฟอร์ด ลำดับ 21, และ ฮอนด้า ลำดับ 29
ค่ายรถยนต์จากจีน เอสเอไอซี หรือ เอ็มจี บ้านเรา ซึ่งเพิ่งประกาศสร้างโรงงานใหม่ในอินเดีย อยู่ในลำดับ 41, ขณะที่ นิสสัน ลำดับ 44, กลุ่มบีเอ็มดับเบิลยู ลำดับ 52, ฮุนได เกาหลีใต้ ลำดับ 78, เรโนลต์ ลำดับ 157, เกีย มอเตอร์ ลำดับ 209, ทาทา มอเตอร์ อินเดีย ลำดับ 247, โดยที่โรงงานผู้ผลิตที่ไม่มีรถเป็นยี่ห้อของตัวเอง แมกน่า อินเตอร์เนชั่นแนล Magna แต่รับจ้างผู้ผลิตจากทั่วโลก มาในลำดับ 290, ตามมาด้วย ซูซูกิ มอเตอร์ อยู่ในลำดับ 373
นั่นคือค่ายรถยนต์ทั้งหมดที่ติดโผในปีนี้ อาจจะสังเกตได้ว่า มีค่ายรถบางยี่ห้อ ไม่ติดอันดับใดๆ ใน 500 เจ้านี้ ก็ต้องทำความเข้าใจว่า ระบบบัญชีของแต่ละค่าย แต่ละประเทศ ไม่เหมือนกัน มีวิธีการมากมายในการแยกสายการผลิต ออกจากการจำหน่าย สังเกตดูดีๆ ในบ้านเราก็มีอยู่หลายค่ายในลักษณะนี้ ทำให้งบบัญชีไม่รวมกัน
ลองมาดูด้านผู้ผลิตชิ้นส่วนบ้าง โรเบิร์ต บ็อช มาในอันดับ 76, ตามมาด้วย คอนติเนนทาล อันดับ 213, เด็นโซ่ ญี่ปุ่น อันดับ 236, แซ่ดเอฟ อันดับ 263, และ ไอซิน ไซกิ Aisin Seiki อันดับ 324
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…
บริษัท มิตซูบิช…