เป็นข่าวกันมานานในอเมริกา และภูมิภาคอื่นของโลก เมื่อถุงลมนิรภัย ทากาตะ Takata ประสบปัญหาอันเนื่องมาจากตัวเซ็นเซอร์ ทำให้ถุงลมเกิดพองตัวก่อนเวลาอันควร เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือการพองตัว เนื่องมาจากกรณีอื่นๆ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการชน หรือการกระแทกใดๆ ทำให้เป็นปัญหากับค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่มากมาย นับล้านคันทั่วโลก แม้ว่าค่ายรถยนต์เอง จะมีหุ้นส่วนอยู่ในผู้ผลิตถุงลมนิรภัยแห่งนี้ มากบ้าง น้อยบ้าง ก็ตามที
ล่าสุด ค่ายยักษ์ใหญ่สองเจ้า โตโยต้า และมาสด้า ก็ประกาศอย่างเป็นทางการ ที่จะเลิกใช้ถุงลมนิวภัยจากทากาตะ หากยังใช้ระบบการพองตัวของถุงลมที่ต้องเกี่ยวข้องพึ่งพาอาศัยกับ แอมโมเนียม ไนเตรท ammonium nitrate อยู่ ขณะเดียวกัน มีรายงานข่าวว่า ซูบารุ และ มิตซูบิชิ ก็กำลังพิจารณาในการเลิกใช้ถุงลมนิรภัยจาก ทากาตะ เช่นกัน
จากการสอบสวนในห้วงเวลาที่ผ่านมา นับแต่เกิดกรณีสถาบันเพื่อความปลอดภัยทางถนนของอเมริกา ออกมาระบุว่า ถุงลมนิรภัย ทากาตะ มีปัญหาในการพอตัว ทำห้ โตโยต้า ระบุว่า จะเลิกใช้ถุงลมนิรภัย ชนิดที่ใช้ระบบการพองตัวด้วย แอมโมเนียม ไนเตรท กับรถยนต์โตโยต้า ทุกรุ่น เพื่อรักษาความเชื่อมั่นของลูกค้าในเรื่องความปลอดภัย และสามารถขับขี่ได้ด้วยความมั่นใจ ซึ่งสอดรับกับ มาสด้า ที่ระบุชัดเจนว่า จะไม่ใช้ถุงลมนิรภัย ทากาตะ ที่บรรจุด้วย แอมโมเนียม ไนเตรท กับรถยนต์รุ่นใหม่แน่นอน
แน่นอนว่า การสูญเสียลูกค้า โออีเอ็ม สำหรับโรงงานประกอบในปัจจุบัน จะทำให้ชื่อเสียงของผู้ผลิตมีปัญหา และในกรณีของ ทากาตะ ที่มีปัญหาอยู่ระยะหนึ่งแล้ว ทำให้มูลค่าของหุ้นบริษัท ลดลงไป 39% ในเวลาเพียง 3 วัน ขณะที่เมื่อมีประกาศจาก 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ ยิ่งทำให้มูลค่าหุ้นตกลงไปถึง 6.2% ภายในเวลาเพียงวันเดียว
แต่ใช่ว่า ทากาตะ จะอยู่นิ่งเฉย ก็ออกประกาศมาว่า จะพิจารณาวิธีแก้ไขเพื่อรักษาลูกค้าเอาไว้ให้ได้ ที่ผู้สื่อข่าวต่างก็รายงานว่า คงจะเป็นการยาก ที่จะพลิกฟื้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้กลับมาได้ในเร็ววัน เมื่อเกิดเหตุการณ์เป็นข่าว ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องเรียกรถกลับเข้ามาเพื่อซ่อมแซมถุงลมนิรภัยกันเป็นจำนวนมาก
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…