Brand: MITSUBISHI Model: Lancer
Year: 1976 Miles: 100001 – More
From: นเรศ โพธิรัตน์
มิตซูบิชิ : ไฟแอล
สวัสดีครับคุณอาธเนศร์
วันนี้ผมมีเรื่องรบกวนสอบถามคุณอาเกี่ยวกับการล้างเจ้าตัวแอร์โฟล์ว หรืออ๊อกซิเจนเซนเซอร์ครับว่าเขามีวิธีการล้างกันอย่างไร และโดยทั่วไปใช้น้ำยาอะไรล้าง เนื่องจากว่าเครื่องยนต์ CA18DE ที่อยู่ในรถคันนี้มันน่ากินนำมันเกินไป ประมาณ 5-6 กม/ลิตร (ในเมือง)โดยขับขี่แบบนุ่มนวลไม่เบิ้ลเครื่องเวลาออกตัว เปลี่ยนเกียร์ตามระดับความเร็ว ถึงเกียร์5 ความเร็ว ประมาณ 70-80กม/ชม และเวลาจอดไฟติดแดงเครื่องยนต์จะมีอาการครางเบาๆคล้ายๆกับว่าความเร็วรอบรอบเครื่องแกว่งขึ้น-ลง ช่างที่อู่บอกว่าแอร์โฟลว์จะเสีย ถ้าซื้อเปลี่ยนของเซียงกงประมาณ 3500 บาท แต่ช่างบอกว่าตอนนี้จะแก้ไขให้โดยการล้างแอร์โฟลว์เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ดีไม่กินน้ำมันแต่ไม่รับประกันว่าจะใช้ไปได้อีกนานเท่าไร ผมเองก็เลยยังไม่ตกลงให้ทำการล้างเพราะยังไม่เข้าใจในส่วนของการล้างแอร์โฟลว์ในเรื่องวิธีและน้ำยาที่ใช้ ถามช่างก็บอกว่ามีย้ำยาชนิดพิเศษสำหรับล้างโดยเฉพาะราคาแพง และผมกลัวว่าเกิดช่างล้างแล้วไม่ทำอะไรให้ดีขึ้น กลับต้องให้เปลี่ยนแอร์ไฟลว์เลยมันจะกลายเป็นว่าผมไม่มีทางเลือก
คำถามที่สองครับรถผมตอนนี้ไม่มีวัดรอบเครื่องยนต์ อยากใส่วัดรอบครับผมจะซื้อแบบทั่วๆไปที่มีขายอยู่มาใช้ได้ไหมครับ และการต่อสายเพื่อวัดรอบเครื่องยนต์ต่อที่ตรงไหนครับสำหรับเครื่องCA18DE
ขอบพระคุณล่วงหน้าครับสำหรับคำตอบที่ทำให้ผมได้รับความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์เพื่อการใช้เองซ่อมเองตามอัตภาพและตรงตามหลักวิชาทางช่างที่ถูกต้อง จากผู้รู้ที่ตอบตรงไปตรงมาตามวิสัยช่างที่ดี(ที่ไม่ค่อยพบเจอมากนัก) ด้วยความเคารพ
นเรศ โพธิรัตน์
รบกวนคุณอาถ้ามีวัดรอบแบบเก่าๆที่ไม่ใช้แล้วหรือเก็บไว้ไม่ใช้ ผมขอหรือขอซื้อได้ไหมครับ ขอบคุณครับ
น้ำยาล้างแอร์โฟลวนี่ ผมไม่ทราบนะครับ ว่ามีด้วยหรือไม่ เพราะปกติฝรั่งไม่ล้างอยู่แล้ว จึงไม่น่าจะมี
แต่ก็มีน้ำยาอยู่อย่างหนึ่ง ที่เคยเห็นทาง Carbon clean ล้างอยู่ โดยเป็นน้ำยาที่ใช้ล้างใบแอร์โฟลวแบบของเบนซ์พวก C190 ที่เป็นแผ่นอยู่เหนือท่อไอดี ไม่ใช่ล้างแอร์โฟลวที่อยู่ปากทางเข้าของไอดีแบบรถคุณ ราคาไม่แพงนัก กระป๋องละสามร้อยกว่าบาท ฉีดเข้าไปเฉยเฉย ผ่านเข้าในเครื่องยนต์ด้วย เพราะฉีดเวลาติดเครื่องยนต์
เขาอาจจะใช้น้ำยาลักษณะหรือตัวเดียวกันก็ได้
แต่ผมไม่คิดว่า น่าจะจำเป็นต้องใช้น้ำยานั้น ส่วนมาก ช่างทั่วไปก็จะล้างด้วยเบนซินเท่านั้น เพราะไม่มีอะไรสกปรกมากนอกจากคราบเขม่า
และแอร์โฟลวก็มีอยู่หลายรูปแบบ แน่นอนที่ว่า เรียกต่างกันออกไป อย่างเช่นระบบ Hotwire ที่ไม่ต้องล้าง เพราะไม่สกปรก หรือแบบปีกใบพัด ที่ฝรั่งก็ไม่ล้างเหมือนกัน มีแต่ช่างเราเรานี่แหละล้างกัน ก็ไม่รู้ว่า ล้างเพื่ออะไร เพราะความสกปรกก็ไม่น่ามาก นอกจากจะมีผงมีฝุ่นเข้าไปในส่วนสวิทช์ไฟฟ้าของแอร์โฟลว ก็แค่นั้นเอง
ช่างตามอู่รถยนต์ทั่วไป ไม่มีเครื่องมือตรวจสอบเป็นส่วนมาก ดังนั้น จึงต้องใช้การเดาสุ่มแทนการตรวจวิเคราะห์ปัญหาอย่างถูกต้อง ผมไม่เชื่อถือช่างเหล่านั้น เช่นเดียวกับไม่เชื่อตัวเองในการวิเคราะห์ปัญหาของคุณคุณที่ผมไม่ได้ใช้เครื่องมือตรวจสอบ เพียงแต่อย่างน้อย ผมก็รู้หลักการทำงานของระบบหัวฉีดคอมพิวเตอร์ดีกว่าช่างหลายคน
ปัญหาการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากของคุณ ผมยังไม่ทราบว่า อัตราสิ้นเปลืองที่คุณพบอยู่ อยู่ที่ระดับไหน ไม่ได้บอกไป จึงให้ความเห็นไม่ได้ว่า รถยนต์ของคุณกินน้ำมันมากหรือไม่มาก และควรจะทำอะไรหรือไม่
อาการเครื่องยนต์ที่เล่าไป ก็ไม่ได้บ่งบอกอะไรเกี่ยวกับแอร์โฟลว และไม่มีอาการหรือท่าทีว่า ออกซิเจนเซนเซอร์จะเสีย อย่างน้อยคุณก็ไม่ได้บอกอัตราสิ้นเปลืองไป ดังนั้น จึงวิเคราะห์อะไรไม่ได้
และบอกไม่ได้ว่า คุณจะให้ช่างทำได้หรือไม่ โดยส่วนตัวในตอนนี้ ผมว่า คุณหลีกห่างจากช่าง(เถอะ)ของคุณเสียโดยเร็วน่าจะดีที่สุด
ส่วนเรื่องการต่อสายไฟของวัดรอบ ปกติจะขึ้นอยู่กับวัดรอบยี่ห้อไหน และเครื่องยนต์อะไร รุ่นไหนอีกด้วย เดิมที่ หากเป็นเครื่องยนต์คาร์บิวเรเตอร์ เขาต่อสายกันที่ขั้วไฟของคอลย์จุดระเบิดกับแถวจานจ่าย แต่มาถึงยุคของหัวฉีดควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ทุกอย่างเปลี่ยนไป หลายคันต่อเอาเองไม่ได้ ต้องใช้วัดรอบทำเฉพาะบ้าง หรือต้องต่อสายแบบพิสดารแบบคาดไม่ถึงบ้าง
ผมแนะนำว่า ควรจะสอบถามไปยังผู้แทนของผู้ผลิตเครื่องยนต์แต่ละรุ่น มากกว่าครับ ผมบอกไป อาจจะผิด และทำงานไม่ได้
อ้าว แล้วกัน คุณเห็นผมเป็นแหล่งขายอะไหล่ใช้แล้วไปได้อย่างไร ผมไม่มีหรอกครับ อะไหล่รถยนต์นี่ อย่างมากก็มีเก็บไว้สำหรับรถยนต์ที่หายาก เช่นแคดดี้ หรืออะไรที่นึกสนุกไปซื้อมาเก็บไว้เท่านั้น แต่ตอนนี้ ก็เลิกสะสมรถยนต์แล้ว เพราะสะสมไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น สู้สนุกและชื่นชมกับรถคนอื่นที่เขาเก็บไว้ดีกว่า เราไม่ต้องเสียเงินเองด้วย ฮ่า ฮ่า
ลองสอบถามอาจารย์สุชาติ ที่อู่วัฒนาดูซีครับ ผมว่าท่านมีนะ อะไหล่พวกนี้น่ะ เพราะเป็นอู่จริง
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…