ผู้ผลิตยานยนต์ต่างพากันพัฒนาเครื่องยนต์ของตนเอง เพื่อให้มีพละกำลังมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และกำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาระบบอัดอากาศ หรือ เทอร์โบชาร์จ
“การลดขนาดเครื่องยนต์ เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตสามารถลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงลงได้” ผู้ผลิตชิ้นส่วน วาลีโอ Valeo นำเสนอ “แต่การที่จะคงไว้ซึ่งพละกำลัง ด้วยเครื่องยนต์ขนาดเล็กลง ผู้ผลิตนิยมใช้ระบบอัดอากาศจากไอเสีย เทอร์โบชาร์จ ที่มักมาพร้อมกับอาการเชื่องช้าของการบู๊สท์ ที่รู้จักกันในชื่อ เทอร์โบแล็ก”
อาการเทอร์โบแล็ก อยู่ในวงการยานยนต์มานานนับปี และเป็นที่กล่าวขวัญถึงมาโดยตลอด แม้จะมีการปรับเป็นระบบเทอร์โบคู่ หรือเทอร์โบขนาดเล็กลง ก็ไม่ช่วยให้หายขาดไปได้ เพราะการทำให้เครื่องยนต์เทอร์โบทำงานอย่างราบเรียบสม่ำเสมอ นับว่ายากเอาการทีเดียว ทำให้วิศวกรเริ่มหันมาทดลองใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นตัวช่วย และขณะที่ทำการทดลองอยู่นั้น กลับพบว่าเมื่อนำมาใช้กับมอเตอร์ไฟฟ้า จะได้รับกระแสตอบรับที่น่าสนใจ แม้ว่าทั้งมอเตอร์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่ จะสิ้นเปลืองพื้นที่อีกพอสมควร และใช้ในชีวิตประจำวันไม่ได้จริง เพราะระยะทางที่จำกัด วิศวกรเลยเลือกใช้มอเตอร์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ขนาดเล็กลง เพื่อเป็นการเพิ่มแรงดันให้หม้อลมที่จะเพิ่มพละกำลังเครื่องยนต์ โดยไม่ต้องพึ่งพาไอเสีย
ผู้ผลิตชิ้นส่วน วาลีโอ บอกว่า มอเตอร์ไฟฟ้า จะตอบสนองได้ทันทีทันควัน ภายใน 250 มิลลิเซ็คกัน หน่วยในหนึ่งพันของวินาที และสามารถลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงลงได้ราว 10% โดยไม่ต้องใช้กำลังอัดจากไอเสีย แต่ในทางปฏิบัติเป็นเพียง ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ เท่านั้น แต่เพื่อความง่าย จึงเรียกว่า เทอร์โบชาร์จไฟฟ้า
โดยหลักการทำงานนี้ ค่ายโฟล์คสวาเก้น และในเครือ ได้ลงทุนในการพัฒนาเทอร์โบไฟฟ้า เพื่อนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ในเครือทั่วโลก เพราะความเร็วในการทำงานตอบสนอง เมื่อเปรียบเทียบกับระบบเทอร์โบแบบเดิม ที่ต้องการการทำงานของเครื่องยนต์อย่างน้อย 1,500 รอบ เพื่อให้ได้ไอเสียมาป้อนให้เทอร์โบทำงาน
ค่ายออดี้ พัฒนาการทำงานของเทอร์โบไฟฟ้านี้ และติดตั้งในรถต้นแบบรุ่น คลับสปอร์ต ทีที เทอร์โบ Clubsport TT Turbo รถขับเคลื่อนสี่ล้อตลอดเวลา กับเครื่องยนต์ 5 สูบ 2.5 ลิตร ติดตั้งเทอร์โบคู่ เป็นเทอร์โบใช้ไอเสียหนึ่งตัว และเทอร์โบใช้ไฟฟ้าอีกหนึ่งตัว ได้กำลังออกมา 600 แรงม้า แรงบิด 479 ฟุตปอนด์ โดย ออดี้ คุยว่า เทคโนโลยีใหม่นี้ พัฒนาจนใกล้จะเจ้าสู่สายการผลิตได้แล้ว ด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 48 โวลต์ ที่พร้อมส่งกำลังไปยังหม้อลมไฟฟ้า ให้บู๊สท์เครื่องยนต์ได้ทันที ตามที่ร้องขอ หรือตามที่เหยียบคันเร่ง โดยไม่ต้องคอยรอบ เพื่อให้ได้ไอเสียมาบู๊สท์ ทำให้สามารถเร่งความเร็วจาก 0-100 กม./ชม. ได้ภายใน 3.6 วินาที
ออดี้ เรียกระบบเทอร์โบคู่นี้ว่า อี-เทอร์โบ e-turbo แต่ก็ยังเก็บความลับเงียบ โดยไม่ระบุว่าจะใช้กับรถรุ่นใด และเมื่อใดจึงจะสามารถออกสู่ท้องตลาดได้
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…