ทดลองยาง MICHELIN Primacy LC


มิชลินแนะนำยางสมรรถนะสูง รุ่นใหม่ล่าสุด

ยาง MICHELIN Primacy LC ยางสำหรับรถยนต์นั่งขนาดใหญ่และขนาดกลาง ที่ให้ความนุ่มสบายอย่างเหนือระดับ ช่วยประหยัดน้ำมันและให้ความปลอดภัยสูงสุด

โดยยาง MICHELIN Primacy LC ผลิตจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง เพื่อให้ได้ยางที่มีความสมบูรณ์แบบในทุกๆด้าน ซึ่งถือเป็นมาตรฐานใหม่ของยางสมรรถนะสูง


เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมา ผมและคุณโอ สารฑูล สักการเวช ได้มีโอกาสไปรวมทดลองยางตัวใหม่ของ
มิชลิน ที่สนามกอล์ฟ สยามคันทรีคลับ แพลนเทชั่น พัทยา

โดยเมื่อไปถึงได้ลงทะเบียนกันตามธรรมเนียมก่อนเข้าไปนั่งฟัง บรรยายเกี่ยวกับยางตัวนี้ว่า มีความเป็นมาอย่างไร โดย มร.เกตง บาเชอเลต์ ผู้อำนวยการธุรกิจยางนั่งรถยนต์และรถปิคอัพมิชลิน


สรุปคร่าวๆให้ท่านผู้อ่านทราบถึงรายละเอียด

โ ดยจากการศึกษามิชลินพบว่า ความนุ่มสบายในการขับขี่เป็นความต้องการอันดับแรกๆของผู้ขับขี่ชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้รถยนต์นั่งขนาดใหญ่และขนาดกลาง ซึ่งมิชลินประเมินว่าตลาดนี้มีขนาดใหญ่ถึงหนึ่งล้านเส้นต่อปี

ดังนั้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคดังกล่าว
มิชลินจึงคิดค้นและพัฒนายาง MICHELIN Primacy LC ขึ้น ด้วยเทคโนโลยีแก้มยางที่สมบูรณ์แบบ (Optimized Bead Filler Technology) เพิ่มความยืดหยุ่น ดูดซับแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี พร้อมหน้ายางที่มีความยืดหยุ่นสูง (High Flexible Tread) ช่วยกรองแรงสั่นสะเทือนจากถนนไม่ให้เข้าสู่ห้องโดยสาร

จึงทำให้ยาง MICHELIN Primacy LC นุ่มสบายอย่างเหนือระดับในทุกการขับขี่

นอกจากนี้ ยาง MICHELIN Primacy LC ยังช่วยประหยัดน้ำมัน โดยได้เพิ่มประสิทธิภาพการหมุนถึงร้อยละ 13 จึงให้คุณสมบัติประหยัดน้ำมันมากกว่ายางรุ่นก่อน (เทียบกับยางมิชลิน เอนเนอจีย์ เอ็มเอ็กซ์วี 8) นอกจากนั้น ยังได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ความปลอดภัยสูงสุดด้วยลายดอกยางที่ถูกออกแบบใหม่ ให้มีหน้าสัมผัสกับพื้นถนนมากกว่ายางรุ่นก่อนถึงร้อยละ 21 จึงเพิ่มประสิทธิภาพการเกาะถนน และเบรกได้ดีขึ้นด้วยระยะเบรกที่สั้นกว่าถึง 1.7 เมตร แม้ขับขี่บนถนนเปียก

ยาง MICHELIN Primacy LC ได้รับเครื่องหมาย กรีน เอ็กซ์ จากมิชลิน (Green X Label) เพื่อรับประกันคุณภาพการประหยัดน้ำมัน ความปลอดภัยและอายุการใช้งานยาวนาน


หลังจากฟังบรรยายแล้ว ก็ได้มีการแบ่งกลุ่มกันเพื่อทดลองสมรรถนะของยาง โ ดยมีทั้งหมด 3 สถานีก่อนจะแยกย้ายกันไปตามสถานีต่างๆ ตามเคยครับถ่ายรูปกันก่อน


สถานีแรกออกมาก็เจอรถจอดเรียงรายกันอยู่ประมาณ10คัน โดยมีรถรุ่นต่างๆซึ่งเป็นระดับหรูหราทั้งนั้นโดยเป็นเครื่องดีเซลเกือบทั้งหมด

ผมและคุณโอกระโดดขึ้นไปนั่งบนรถ BMW 520d

ผมขับเป็นมือแรกปรับตำแหน่งที่นั่งให้เหมาะสม พร้อมคาดเข็มขัดเตรียมพร้อม รอรถนำขบวนออกไปยังเส้นทางที่ได้กำหนดไว้


เส้นทางที่ใช้นั้นเป็นการวิ่งผ่านไปยังสภาพถนนต่างๆโดยมีทั้งถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง ถนนที่ขรุขระ รวมไปถึงทางที่คดเคี้ยว

สิ่งที่เราจะทดสอบนั้นคือการยึดเกาะถนน
เสียงของยาง
ความนิ่มนวล
การสั่นสะเทือน

ตลอดระยะทางที่ผมได้ขับนั้น ได้จับอาการต่างๆรวมถึงสังเกตจากประสบการณ์และการสั่งสอนมาจากอาหมู ที่จำได้นั้นก็ได้นำมาใช้โดยจับการสั่นของขาบริเวณน่องว่าสั่นมากน้อยเพียงใด

การสั่นสะเทือนของเบาะที่นั่ง

แรงที่กระเทือนมาถึงพวงมาลัย

การถอนคันเร่งเพื่อปล่อยให้รถไหลเพื่อฟังเสียงที่เกิดขึ้นของยาง

และการเปรียบเทียบกับยางที่ผมใช้อยู่คือ Pilot Preceda II สิ่งที่สัมผัสและรับรู้จากการทดลองขับ

ที่เห็นอย่างเด่นชัดคือเรื่องของเสียงและนุ่มนวล

ยาง MICHELIN Primacy LC นั้นสามารถทำได้ดี การควบคุมบังคับเลี้ยวก็มีการตอบสนองให้ไว้ใจได้ การเลี้ยวกลับรถก็ไม่มีเสียงเอี้ยดอ๊าดมาให้รำคาญ

ขับไปมองวิวอันสวยงามตลอดสองข้างทาง ก็มาถึงจุดพักและเปลี่ยนคนขับบริเวณวิหารเซียน


เปลี่ยนรถเปลี่ยนคนขับออกเดินทางกลับสู่สนามกอล์ฟ สยามคันทรีคลับ แพลนเทชั่น พัทยา

ขึ้นรถเรียบร้อยคุณโอขับผมนั่ง

โอ้พระเจ้าทำไมมันดังจังซึ่งที่ผมและคุณโอได้ยิน

ไม่ใช่เสียงยางนะครับแต่เป็นเสียงของเครื่องที่ดังเข้ามาภายในห้องโดยสารของ Volvo S60D ซึ่งเป็นรถระดับเดียวกันกับ Bmw คันที่เพิ่งลงมาทำไมถึงเป็นแบบนี้

อ้าวลืมไปเรามาทดลองยางไม่ใช่ทดลองรถนิเฮ้อลืมตัวจนได้ ไม่เอาๆกลับมาเรื่องยางดีกว่า

คราวนี้เมื่อเปลี่ยนรถเปลี่ยนต่ำแหน่งมานั่งแล้วก็มีทีมงานของมิชลินมาด้วย โดยบอกว่าให้ลองจับอาการบริเวณก้นละช่วงหลัง ว่ามีการสั่นหรือกระเทือนเป็นอย่างไหร่บ้าง

เราก็ลองดู ซึ่งเมื่อไม่ได้ขับแล้วทำให้ผมมีสมาธิมากขึ้นทั้งการฟังเสียงเพื่อที่จะแยกว่าเป็นเสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อมหรือเสียงที่ดังจากยาง และการจับความนุ่มนวลของยาง

ผลจากการจับอาการนั้นยังเป็นเช่นเดิมคือมีระดับเสียงที่ถือว่าเงียบและให้ความนุ่มนวลที่ดี

กลับมายังคลับเฮ้าท์พักรับประทานอาหารก่อนที่จะเปลี่ยนสถานที่ทดลองเรื่องของเสียงและการกลิ้งหรือไหลของยาง

มาต่อกันเลยดีกว่า

สถานีนี้เป็นการทดสอบเรื่องเสียงของยางที่แตกต่างกัน โดยมีวิศวกรชาวญี่ปุ่น มร.ชิเกโนบุ ฟุโรญา มาอธิบายในเรื่องนี้ เสียงแบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ

อันดับแรกคือ Interior Noise คือเสียงที่เราได้ยินภายในรถ

หรือ Exterior Noise คือเสียงที่เราได้ยินภายนอกตัวรถ

แต่ไม่ใช่ว่าเราเปิดกระจกแล้วได้ยื่นหูออกไปฟัง

ยกตัวอย่างเช่น การที่เรายืนอยู่แล้วเราได้ยินเสียงรถขับผ่าน


ในเรื่องของInterior noise จริงๆแล้วมีเสียงที่เกิดขึ้นภายในตัวรถมากมาย แต่เสียงที่กระทบต่อผู้ขับขี่มีอยู่ 2 อย่างใหญ่ๆคือ Road Noise

เสียงถนนคือเสียงที่เกิดจากความขรุขระของถนน ซึ่งเสียงที่เกิดขึ้นจะถูกส่งผ่านไปตามยาง และชิ้นส่วนต่างๆของรถยนต์ เช่น ล้อแมกซ์ โช้คอัพ สปริง รวมถึงตัวถังรถ ผ่านเข้ามายังห้องโดยสาร จึงทำให้เราได้ยินเสียง Road Noise เกิดขึ้น

และ Pattern Noise เป็นเสียงที่เกิดจากลายดอกยาง การออกแบบลายดอกยางต่างๆ จะทำให้เกิดเสียง Pattern Noise ที่แตกต่างกันออกไป

ความแตกต่างของ 2 เสียงนี้ คือ Road Noise เวลาเกิดขึ้นเสียงจะเดินทางผ่านชิ้นส่วนของรถยนต์

Pattern Noise เวลามันเกิดขึ้นเสียงจะเดินทางผ่านอากาศภายนอกตัวรถ แล้วจะย้อนกลับเข้ามาในตัวรถ ทำให้เราได้ยิน

เนื่องจากว่าลายดอกยางเป็นตัวที่ทำให้เกิดเสียง Pattern Noise

ในทางกลับกัน ถ้าสมมุติใช้ยางสลิก (ยางที่ไม่มีดอกยาง) ก็แปลว่าไม่มีเสียง Pattern Noise เกิดขึ้น โดยปกติแล้วยางที่เราใช้กันจะมีดอกยางเพื่อที่จะให้ได้สมรรถนะในการรีดน้ำของถนนเปียก ลายดอกยางจะแบ่งหลักๆเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ ลายตามยาวและ ลายตามขวาง


ซึ่งลายดอกยางทั้ง 2 ประเภทนี้มีผลต่อเสียง Pattern Noise ทั้งคู่

เวลาเราขับรถเสียง Road Noise กับ Pattern Noise จะเกิดขึ้นพร้อมกัน โดยเราสามารถแบ่งแยกเสียงทั้ง 2 ได้

โดย Road Noise จะเกิดขึ้นที่ความถี่ 80-100 Hz หรือความถี่ต่ำ

ส่วน Pattern Noise จะเป็นเสียงที่สูงจะอยู่ในช่วง 600-4000 Hz

เวลาเราขับรถเสียงทั้ง 2 จะเกิดขึ้น แต่เราจะสามารถแยกกันได้ว่า เสียงต่ำคือ Road Noise และเสียงสูงคือ Pattern Noise

ความสามารถในการได้ยินของเรามีข้อจำกัดอยู่ คือว่าถ้าเสียงที่มีความถี่ต่ำหรือสูงเกินไปเราจะไม่สามารถได้ยิน แต่หูเราจะมีความไวต่อเสียงในช่วงความถี่ 500-1500 Hz

ซึ่งในแง่ของผู้ผลิตยางก็คือเสียงที่สามารถเข้ามารบกวนการขับขี่นั่นเอง ซึ่งทางผู้ผลิตจึงหาทางพัฒนายางขึ้นมาเพื่อลดเสียงในช่วงความถี่ดังกล่าว

ซึ่งก็คือเสียง Pattern Noise


การวัดเสียงในเรื่องของ Interior Noise สามารถใช้อุปกรณ์คือ หุ่นจำลอง ซึ่งจะเลียนแบบสรีระของคน เพื่อให้การสะท้อนของเสียงสมจริงที่สุดโดยเฉพาะในส่วนของหูจะฝังไมโครโฟนไว้ทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ทำหน้าที่เหมือนแก้วหูของเราโดยเป็นตัวรับฟังเสียง และจะประมวลผลของเสียงที่รับได้ออกมาเป็นกราฟ

โดยจะมียางอ้างอิงและยางที่นำมาเปรียบเทียบ การประมวลผลคือกราฟเส้นที่อยู่ต่ำกว่าแสดงว่าเงียบกว่า


การวัด Exterior Noise ค่อนข้างที่จะมีกฎในการควบคุมมากกว่า Interior Noise.

Exterior Noise จะเรียกอีกอย่างว่า Pass By Noise (เสียงวิ่งผ่าน) จึงต้องมีกฎในการควบคุมมากกว่าเพราะจะก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียงได้ โดยใช้กฎ ISO เข้ามาควบคุม

นอกจากจะควบคุมเสียงแล้ว ยังต้องควบคุมพื้นถนนที่ใช้ทดสอบโดยใช้กฎเดียวกัน

วิธีวัด Exterior Noise โดยใช้ไมโครโฟน 2 ตัว วางห่างกัน 15 เมตร แล้วให้รถวิ่งผ่านตรงกลาง โดยระหว่างนั้นจะดับเครื่องเพื่อตัดเสียงการทำงานของเครื่องยนต์และท่อไอเสียเพื่อทำให้ได้เสียงของยางเพียงอย่างเดียว

การทดสอบนั้นจะใช้ความเร็วหลายๆระดับหาค่าต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงความเร็วนั่นสิ่งที่ทางทีมงานได้อธิบายให้เราได้ฟังกันโดยในการทดสอบครั้งนี้นั้น

ทางทีมงานได้เตรียมรถรุ่นเดียวกันไว้3คันโ ดยใส่ยางที่ทำขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อให้เราได้ฟังเสียงกันโ ดยเฉพาะโดยคันแรกล้อหน้าใส่ยางที่มีลายตามยาวล้อหลังใส่ยางสลิกไว้ให้เราได้ฟังเสียงกัน

ส่วนคันที่สองล้อหน้าใส่ยางที่มีลายดอกยางตัดกันตามยาวและขวางจะให้ได้จากรูปที่ลงให้ดูทั้งสองภาพด้านบนนะครับ ล้อหลังใส่ยางสลิกเช่นเดียวกัน

ส่วนคันที่สามใส่ยาง MICHELIN Primacy LC ทั้งสี่เส้นโดยให้เราขึ้นไปนั่งแล้วฟังเสียงดูว่าแตกต่างกันอย่างไร

โดยยางแรกนั้นผมว่ามันดังน้อยที่สุดแต่ไม่ช่วยในเรื่องการรีดน้ำเมื่อเจอพื้นถนนเปียก ส่วน MICHELIN Primacy LC นั้นเสียงเงียบใช้ได้


เราไปยังสถานีสุดท้ายโดยมีทีมงานของมิชลินอธิบายการทดสอบการหมุนและการนุ่มของยาง


การทดสอบประสิทธิภาพในการหมุนครั้งนี้ใช้รถ 2 คัน รุ่นเดียวกันโดยใส่ยาง MICHELIN Primacy LC คันหนึ่ง และยางทั่วไป

จากนั้นจะนำรถไปยังจุดที่กำหนดซึ่งเป็นเนินลาดเท เข้าเกียร์ว่างไว้แล้วปล่อยรถให้ไหลลงมาเพื่อวัดระยะทางที่ได้

โดยเครื่อง V Boxที่ติดตั้งอยู่บนรถเพื่อวัดระยะทางที่ทำได้โดยไม่มีการเร่งเครื่องหรือการเบรคเพียงบังคับพวงมาลัยให้อยู่ในทางเท่านั้น

โดยจะทำการทดลอง 2 รอบ คือหลังจากเสร็จรอบแรกแล้วจะมีการสลับยางไปใส่ในรถอีกคันหนึ่งแล้ววัดระยะทางที่ได้เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน


ผลออกมาปรากฎว่า MICHELIN Primacy LC ทำระยะทางได้ไกลกว่า

ซึ่งแสดงว่าเมื่อใช้แรงเท่ากันรถที่ใช้ยาง MICHELIN Primacy LC นั้นจะวิ่งได้ระยะทางมากกว่าทำให้ประหยัดกว่า

ส่วนการทดสอบในเรื่องความนุ่มสบายนั้นมิชลินได้มีเทคโนยีที่นำมาใช้คืออะไรนั้นตามผมมาดูภาพทั้งสองต่อไปครับ

เทคโนโลยีอันแรก


และอันที2


ในการทดสอบนั้นจะให้เปรียบเทียบยางสองรุ่นคือ MICHELIN Primacy LCกับยางทั่วไป วิ่งด้วยความเร็วประมาณ40กิโลเมตร/ชั่งโมง ผ่านเชือกที่วางขวางไว้ เพื่อให้เกิดการสะเทือนขณะรถผ่านแล้วให้เราจับอาการสั่นสะเทือนที่ส่งมายังตัวรถ

ซึ่ง MICHELIN Primacy LC ก็ไม่ได้ทำให้เราผิดหวังแต่อย่างใด


ส่วนเรื่องของระยะเบรคแม้เราไม่ได้ทดสอบแต่ก็มีข้อมูลมาให้ดู

เป็นอันจบการทดลองยางตัวใหม่ของมิชลินไว้ตรงนี้ดีกว่า

อย่าสงสัยผมเลยนะครับว่าทำไมไม่เรียกว่าทดสอบยาง
ถ้าจะต้องทดสอบจริงๆนี่ต้องใช้เวลามากกว่านี้ครับ

นี่เพียงแค่ทำตามแบบที่เขากำหนดไว้ครับ ถ้ามีโอกาสนำมาทดสอบจริงๆจะมาเล่าใหม่ว่าใช้แล้วเป็นอย่างไร ระยะยาวมีเสียงดังหรือไม่

ผมคงบอกไม่ได้

ก็คงมีแต่ท่านผู้อ่านละครับที่ได้ใช้แล้วมาเล่าให้ผมฟัง จริงหรือเปล่าครับ

เรื่อง เปรมศักดิ์ เพียรพานิชย์
ภาพ สารฑูล สักการเวช

Facebook Comments